Category Archives: การงาน ม.3 ปี58 ง 23105

ใบความรู้ที่ 5.5 เรื่องวิธีการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ ราวตากผ้า โต๊ะคอมพิวเตอร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  5.5  เรื่องการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์  ราวตากผ้า  โต๊ะคอมพิวเตอร์  รหัสวิชา ง 23105
(ในหนังสือแบบเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า  122-127)

ใบความรู้ที่ 5.4 เรื่องความปลอดภัยในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 5.4 เรื่องความปลอดภัยในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์  รหัสวิชา ง 23105 ม.3
ในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์อุบัติเหตุอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
ซึ่งเป็นผบมาจากความประมาทในการใช้เครื่องมือ  การใช้วัสดุ  อุปกรณ์การไม่มีสมาธิในการปฏิบัติงาน
การแต่งกายไม่เหมาะสม  การหยอกล้อกันระหว่างการทำงาน  อัคคีภัย  และสภาพแวดล้อมที่ไม่
เหมาะสมในขณะปฏิบัติงานดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินควรติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
1.  สวมเสื้อผ้าให้รัดกุม  ก่อนการปฏิบัติงานและขณะปฏิบัติงานเช่นรวบผมให้เรียบร้อย  สวมผ้ากันเปื้อน
หรือชุดปฏิบัติงานใช้ผ้าปิดปาก  สวมแว่นตานิรภัยและสวมรองเท้ากันกระแทกทุกครั้งไม่ควรสวม
เครื่องประดับ เช่น  สร้อยข้อมือ  นาฬิกา แหวนเพื่อความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
2.  ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือการประกอบผลิตภัณฑ์  คู่มือการใช้เครื่องมือและรายละเอียดของชนิด
ขนาดวัสดุ อุปกรณ์ที่แนบมาอย่างเคร่งครัด
3.  ตรวจสอบสภาพความพร้อมในการใช้งานของเครื่องมือ  วัสดุ อุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติงาน
ถ้าชำรุดต้องรีบซ่อทแซมก่อนใช้งาน
4.  มีสมาธิในขณะปฏิบัติงานและไม่หยอกล้อกันขณะถือเครื่องมือหรือใช้วัสดุ อุปกรณ์  และเครื่องมือ
ติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
5.  จัดวางเครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่วางปนกับเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์อื่น
รวมถึงในขณะใช้งานไม่ควรให้คมของเครื่องมือกระทบกันตลอดจนหันคมของเครื่องมือออกจาก
ผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่ใกล้เคียงเสมอ
6.  ใช้งานเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะงานการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
7.  หากเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานควรตั้งสติให้ดีแล้วรีบแจ้งครู ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง

ใบความรู้ที่ 5.3 เรื่ององค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 5.3 เรื่ององค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ รายวิชาการงาน 5 ม.3
การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผลงานที่มีคุณภาพ
มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ อุปกรณ์และเครื่องมือช่างที่ใช้ในการติดตั้ง
และประกอบผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น การติดตั้งและประกอบ
ชั้นวางของจากเหล็กฉากชนิดน็อกดาวน์ ต้องเลือกไม้ที่มีความหนาและรับน้ำหนักสิ่งของได้ เลือกใช้
ประแจที่มีขนาดเหมาะสมกับนอตในการขันนอตเพื่อติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
2.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีทักษะและความชำนาญในการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับติตั้งและประกอบ
ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและปลอดภัย เช่น การประกอบชั้นวางของ
น็อกดาวจากเหล็กฉาก ต้องมีทักษะในการใช้ประแจขันน็อตประกอบโครงชั้นวางของเหล็กให้แน่น
อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ หลุดขณะขันน็อตและแข็งแรงพอที่จะวางไม้อัดไม่ให้ตกหล่น
3.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในการอ่านแบบจากคู่มือหรือภาพที่แนบมากับผลิตภัณฑ์
เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆเข้าด้วยกันให้ถูกต้องและใช้งานได้จริง
4.  ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการวางแผนการทำงาน เช่น กำหนดเป้าหมายในการทำงาน
กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือให้ตรงกับลักษณะงาน  กำหนดวิธีทำงาน  ดำเนินตามแผนงานที่วางไว้
และประเมินผลเพื่อหาข้อบกพร่องในการทำงานหรือผลงานที่ทำแล้วปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งการประเมินผลงานทำได้โดยการทดลองใช้และการประเมินผลดำเนินงานเพื่อหา
แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องอุปสรรค์หรือปัญหาที่พบในระหว่างการปฏิบัติงาน
การอ่านแบบต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
1.  ประเภทของเส้นในการอ่านแบบ
2.  การมองภาพสามมิติและการหมุนชิ้นงาน
3.  การอ่านภาพฉายจากแบบ   4.  ค่าพิกัดความเผื่อและสัญลักษณ์
5.  เส้นให้ขนาดและคำสั่งต่าง ๆในแบบ  6.  การกำหนดจุดวัดและข้อควรระวัง

ใบความรู้ที่ 5.2เรื่องประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  5. 2  เรื่องประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง  ง 23105 ม. 3
การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองมีประโยชน์ดังนี้
1.  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
2.  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานช่างและได้ผลิตภัณฑ์
ไว้ใช้สอยไปพร้อมกัน
3.  สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ทำ
4.  เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะได้ใช้ความรู้และทักษะงานช่างที่มี มาติดตั้งและประกอบ
ผลิตภัณฑ์ได้สำเร็จ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
5.  ฝึกความละเอียด  รอบครอบ  และอดทนในการทำงานให้สำเร็จ
6.  นำความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ไปใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้

ใบความรู้ที่ 5.1เรื่องความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หมายถึงการนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ
การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือช่าง  การอ่านแบบ  กลไกและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์มาใช้
ในการติดตั้งและประกอบ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ได้แก่ผลิตภัณฑ์
ชนิดถอดประกอบได้  เช่นราวตากผ้า  ตู้เสื้อผ้า  ชั้นวางของ  โต๊ะคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
เช่น  หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  เครื่องปั่นน้ำผลไม้  เครื่องดูดฝุ่น
วิธีใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ
1.  หม้อหุงข้าว  วิธีใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงานและปลอดภัยทำได้โดย
1.1  ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
1.2  เมื่อเลิกใช้งานควรถอดปลั๊กออกจากเต้ารับ
2.  เครื่องปั่นน้ำผลไม้ให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัยทำได้โดย
2.1  ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด   2.2  ไม่ควรใช้เกินกำลังและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
3.  เครื่องดูดฝุ่น  วิธีใช้เครื่องดุดฝุ่นให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัยทำได้โดย
3.1  ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3.2  เมื่อใช้แล้วควรเอาฝุ่นผงในถุงทิ้งทุกครั้งเพื่อจะได้มีแรงดูดดีและไม่กินไฟ

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนหน่วยที่ 5 เรื่องการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ (งานช่าง) ง 23105 ม.3

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หมายถึงการนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุ
ต่างๆ การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือช่าง การอ่านแบบ กลไกและการควบคุมไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิคส์มาใช้ในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน
2.ข้อใดคือประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์.
ก.  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างติดตั้งและประกอบผลิตภันฑ์
ข.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  สร้างความเพลิดเพลินแก่ผุ้ทำ   ความภาคภูมิใจต่อตนเอง
ค.  มีความละเอียดรอบคอบและอดทนในการทำงาน และนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ
ง.  ถูกทุกข้อ
3.ผลิตภัณฑ์ทีใช้สอยในชีวิตประจำวันที่ติดตั้งและประกอบได้แก่ข้อใด.
ก.  ตู้เสื้อผ้า  ชั้นวางของ   ข.  หม้อหุงข้าวไฟฟ้า   ค.  เครื่องปั่นน้ำผลไม้   ง.  ถูกทุกข้อ
4.นักเรียนมีวิธีประหยัดพลังงานและปลอดภัยในการใช้เครื่องดูดฝุ่นออย่างไร.
ก.  ไม่ควรใช้เกินกำลัง    ข.  ไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ค.   ดูวิธีใช้จากคู่มือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด     ง.  ถูกทุกข้อ
5.นักเรียนมีวิธีการใช้เครื่องปั่นผลไม้ให้ประหยัดหลังงานและปลอดภัยได้อย่างไร.
(ใช้ตัวเลือกข้อ  4)  เฉลยข้อ  ง
6.การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลงานที่มีคุณภาพ
ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญในข้อใด.
ก.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของวัสดุต่างๆอุปกรณ์และเครื่องมือช่าง
เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
ข.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีทักษะและความชำนาญในการใช้อุปกรณ์และเครรื่องมือติดตั้ง
และประกอบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล้ว รวดเร็วและปลอดภัย
ค.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในการอ่านแบบจากคู่มือหรือภาพที่แนบมา
และผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานอย่างเป็นระบบโดยมีการวางแผนการทำงานกำหนดเป้าหมาย
ในการทำงาน กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือให้ตรงกับลักษณะงาน  ง.  ถูกทุกข้อ
7.ถ้านักเรียนจะอ่านแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องใด.
ก.  ประเภทของเส้นในการอ่านแบบ  การมองภาพสามมิติและการหมุนชิ้นงาน
ข.  การอ่านภาพฉายจากแบบ  ค่าพิกัดความเผื่อและสัญลักษณ์
ค.  เส้นให้ขนาดและคำสั่งต่างๆ ในแบบ  การกำหนดจุดวัดและข้อควรระวัง
ง.  ถูกทุกข้อ
8.ผู้ปฏิบัติงานการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน  3 ขั้นตอน
แบบความคิดขั้นบันไดได้แก่ข้อใด.
ก.  ขั้นวางแผนการทำงาน  กำหนดเป้าหมาย กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมืให้ตรง
กับลักษณะงาน กำหนดวิธีการทำงาน  ข.  ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้หรือปฏิบัติงาน
ค.  ขั้นประเมินชิ้นงานเพื่อหาข้อบกพร่องในการทำงานหรือผลงาน  ง.  ถูกทุกข้อ
9.ข้อใดคือแนวทางในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ให้มีความปลอดภัย
ผลงานมีคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่เสียหาย.
ก.   สวมเสื้อผ้าให้รัดกุมก่อนการปฏิบัติงานและขณะปฏิบัติงานรวบผมให้เรียบร้อย
สวมผ้ากันเปื้อนใส่ชุดปฏิบัติงานใช้ผ้าปิดปากสวมรองเท้ากันกระแทกไม่ควรสวม
สร้อย  นาฬิกา  แหวน
ข.  ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือการประกอบผลิตภัณฑ์คู่มือการใช้เครื่องมือ
และรายละเอียดของชนิดวัสดุ อุปกรณ์ที่แนบมาอย่างเคร่งครัดและตรวจสอบ
สภาพการใช้งานของเครื่องมือ  มีสมาธิในการปฏิบัติงานและไม่หยอกล้อกัน
ค.  จัดวางเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย  ใช้งานวัสดุอุปกรณ์
ให้เหมาะสมกับงาน หากเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานควรตั้งสติ   ง.   ถูกทุกข้อ
10.ราวตากผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในการใช้ตากผ้ามีจำหน่ายตามตลาด
ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุชนิดใด.
ก.  เหล็กชุบโครเมียม   ข.  เหล็กพ่นสี    ค.  อะลูมิเนียม    ง.  ถูกทุกข้อ
11.ใช้เคลือบผิวของเหล็กหรือโลหะชนิดอื่นโดยการชุบด้วยไฟฟ้าทำให้ได้ผิวโลหะ
ที่เป็นมันวาวสีเทาเงินไม่ผุกร่อนใช้เป็นส่วนประกอบของเหล้กกล้าสำรับทำตู้
นิรภัย เครื่องยนต์ เกราะกันกระสุนเครื่องบินไอพ่นและจรวด หมายถึงข้อใด.
ก.  โครเมียม    ข.  สังกะสี    ค.  เหล็กพ่่นสี      ง.  อะลูมิเนียม
12.การพ่นสีเหล็กเพื่อป้องกันสนิมต้องเช็ดคราบน้ำมันของเหล็กด้วยทินเนอร์
ให้ผิวเหล็กแห้งและปลอดฝุ่นแล้วใช้แปรงลวดขัดรอยต่อรอยเชื่อมแล้วพ่นสี
กันสนิม  1  รอบ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วพ่นทับอีก 1 รอบ หมายถึงข้อใด.
(ตัวเลือกข้อ  11)   เฉลยข้อ  ค  เหล็กพ่นสี
13.การติดตั้งและประกอบราวตากผ้าที่ทำจากท่อพีวีซีมีข้อดีอย่างไร.
ก.  สวยงาม   ข.  ประหยัดค่าใช้จ่าย    ค.  คุณภาพดี    ง.  หาวัสดุได้ง่าย
14.ข้อใดคือข้อดีของอลูมิเนียม.
ก.  แข็งแรงทนทานต่อฝนและแสงแดด   ข.  ไม่ทำให้เกิดสนิม
ค.  ระบายความร้อนได้ดี  ทนความร้อนได้ดีคงรูปไม่บิดงอ  ง.  ถูกทุกข้อ
ใช้ตอบข้อ  15
1.วางแผนติดตั้งและประกอบราวตากผ้า  1.1  กำหนดเป้าหมายในการทำงาน
ต้องการติดตั้งและประกอบราวตากผ้าไว้ใช้งานที่ทำจากท่อพีวีซี
1.2.กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน ท่อพีวีซี  ข้อต่อสามทาง  ยางลบ
ฉาก  90  องศา ข้อต่องอสามทาง เลื่อยตัดเหล็ก  ปากกาเคมี  กระดาษเอ 4 ดินสอ
1.3.1.กำหนดวิธีการทำงาน ดดยการอ่านแบบที่แนบมากับผลิตภัณฑ์หรือเเขียนแบบ
ภาพร่าสามมิติ
1.3.2.ติดดั้งประกอบราวตากผ้าตามแบบที่อ่าน
2.ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้    3.ประเมินผลการทำงาน  ตรวจสอบดุว่าราวตากผ้า
แข็งแรงดีหรือไม่หรือโคลงเคลงไปมาถ้าพบข้อบกพร่องก็ควรถอดออกมาประกอบใหม่
15.ให้นักเรียนเรียงลำดับขั้นตอนการติดตั้งและประกอบราวตากผ้าจากท่อพีวีซี.
ก.  1  2  3         ข.  1   3  2           ค.   2  1   3         ง.   3   2   1
16.โต๊ะคอมพิวเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาดนิยมทำมาจากไม้ชนิดใด.
ก.  ไม้อัด    ข.   ไม้พยุง       ค.  ไม้แดง     ง.  ไม้ไผ่
17.ไม้ที่สร้างมาจากเศาชิ้นไม้หรือขี้เรื่อยนำมาประสานกันโดยใช้สานเคมีและนำมาบด
ด้วยความดันสูงและมีราคาถูกกว่าไม้จริงแต่แข็งงแรงน้อยกว่าหมายถึงข้อใด.
ก.  ไม้เนื้ออ่อน    ข.  ไม้ปาติเคิล     ค.  ไม้สัก      ง.  ไม้ยูคา
18.สกรู  ว  เรียกอีกชื่อหนึึ่งคือข้อใด.
ก.  ตะปูควง    ข.  ตะปูเกลียว      ค.  ตะปูเข็ม    ง.  ถูกทั้งข้อ  ก  และ  ข
19.ประเทศแรกที่ใช้ไม้ปาติเคิลคือประเทศใด.
ก.  เยอรมันนี      ข.  สหรัฐอเมริกา       ค.   แคนนาดา     ง.  บราซิล
ใช้ตอบคำถามข้อ  20
1.การวางแผนติดตั้งและประกอบโต๊ะคอมพิวเตอร์
1.1กำหนดเป้าหมายในการทำงาน    1.2กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน
1.3กำหนดวิธีการทำงาน  อ่านแบบ  ติดตั้งและประกอบโต๊ะคอมพิวเตอร์
2.ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
3.ประเมินผลการทำงานตรวจสอบดูว่าชิ้นส่วนทุกชิ้นประกอบกันสนิทหรือไม่เมื่ออกแรง
เขย่าโยกยกโคลงเคลงหรือไม่แล้วทดลองวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ดู
20.การติดตั้งและประกอบโต๊ะคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร
ก.  3   2   1      ข.    2  3   1      ค.    1   2   3    ง.   2  1   3

 

ใบความรู้ที่ 4.4 หน่วยที่ 4 ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่องคุณลักษณะสำคัญของผู้ประกอบธุรกิจ จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่   4.4  เรื่องคุณลักษณะสำคัญของผู้ประกอบธุรกิจ และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
ในการประกอบธุรกิจประเภทต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ  (ู้ประกอบธุรกิจต้องมีคุุณลักษณะสำคัญต่อไปนี้
1.  มีความรู้ความสามารถในธุรกิจของตน
2.  มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
3.  มีความสามารถใการติดต่อสื่อสาร
4.  มีความคิดสร้างสรรค์
5.  มีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล
6.  มีความกล้าและเป็นผู้นำ
7.  มีความพยายามอดทน
8.  มีไหวพริบ
9.  รู้จักตนเอง
จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
จรรยาบรรณหมายถึง หลักจริยธรรมที่ผู้หนึ่งพึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพซึ่งนักธุรกิจควรมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจดังนี้
1.  สร้างสรรค์สินค้า  ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
2.  เคารพและปฏิบัติตามกฏหมาย  เช่นกฎหมายคุ้มครองผู้บริดภค  กฏหมายประกอบธุรกิจ  เสียภาษี
3.  ไม่เอาเปรียบลูกจ้างและผู้บริโภค  เช่น  ให้ค่าแรงที่เหมาะสมกับปริมาณงานหรือความยากง่ายของงาน  มีสวัสดิการให้กับลูกจ้างไม่ค้ากำไรกับผู้บริโภคเกินควร
4.  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  เช่น  มีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง  ใช้วัสดุย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
5.  สนับสนุนชุมชนช่วยเหลืองสังคม  เช่นให้กู้ยืมเงินเปิดโอกาศให้นักศึกษาได้มาฝึกงาน  ให้ทุนการศึกษา  ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ

 

 

 

ใบความรู้ที่ 4.3 หน่วยที่ 4 ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่ององค์ประกอบของธุรกิจ หน้าที่ และประโยชน์ของธุรกิจ ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  4.3  เรื่ององค์ประกอบ  หน้าที่และประโยชน์ของธุรกิจ  ง 23105
องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจทุกประเภท  มีดังนี้
1.  คน(Man) เป็นองค์ประกอบที่ทำหน้าที่หลักในการดำเนินงาน  ก่อให้เกิดสินค้า และบริการต่าง ๆ ควบคุมและัดการองค์ประกอบอื่น ๆ ให้ธุรกิจดำเนินงานไปในทิศทางซึ่งนำไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้
2.  เงิน (Money)เป็นองค์ประกอบที่จะนำไปบริหารจัดการต่าง ๆ เช่นซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายใช้ในการขนสง  ตลอดจนจ้างแรงงานต่าง ๆ จึงต้องมีการนำเงินทุนส่วนตัวหรือเงินทุนที่กู้ยืมมาจากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆมาจัดสรรให้คุ้มค่าและมีเงินสำรองไว้เพื่ใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็น
3.  วัสดุหรือวัตถุดิบ(Material) เป็นองค์ประกอบที่จะนำไปผลิตสินค้า  ซึ่งต้องเลือกใช้เฉพาะที่มีคุณภาพราคาเหมาะสมปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและไม่ก่อความเสียหายให้แก่ธุรกิจ
4.  เทคโนโลยี(Techmology) เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้การผลิตสินค้าทำได้อย่างรวดเร็วได้ปริมาณมาก  มีมาตรฐานเดียวกัน  ตลอดจนมีระบบฐานข้อมูลที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลสินค้าและลูกค้าสะดวก  ปลอดภัย  และง่ายต่อการค้นหา
5.  การจัดการ(Management)เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพโดยครอบคลุมการจัดการสินค้า  ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆรวมถึงเงินและแรงงาน
6.  การตลาด(Marketing) เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้การกระจายสินค้าไปถึงและตรกลุ่มเป้าหมาย  โดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการตลอดจนมีการส่งเสริมการขายให้สามารถต่อสู้กับธุรกิจอื่นเช่นลดแลกแจกแถม
หน้าที่ของธุรกิจ
หน้าทีจะแตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจซึ่งสามารถกล่าวโดยรวมได้ดังนี้
1.  การผลิตสินค้า  เป็นหน้าที่การผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านคุณณภาพและราคา
2.  การให้บริการ  เป็นหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกสบายในด้านต่างๆดูแลเอาใจใส่ผู้บริโภค
3.  การแจกจ่ายและการจัดจำหน่ายสินค้า  เป้นหน้าที่ในการกระจายสินค้าให้ไปถึงผู้บริโภคในพื้นที่ต่าง ๆ  อย่างทั่วถึง สรรหา  จัดช่องทางการขนส่งต่างๆที่ง่ายต่อการจัดจำหน่าย
4.  การจัดซื้อ  เป็นหน้าที่ในการจัดซื้อวัตถุดิบ  เครื่องมื  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต  การจัดจำหน่ายและการให้บริการซึ่งสิ่งที่จัดซื้อมานั้นต้องมีคุณภาพ  ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
5.  การเก็บรักษาสินค้า  เป็นหน้าที่ในการเก็บรักษาสินค้าให้มิดชิดและปลอดภัยเพื่อรอการนำออกไปจำหน่าย
6.  การจัดทำโฆษณา  เป้นหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการให้ผู้บริโภครู้จักและเข้าใจเพื่อประกอบการตัดสินใจ
7.  การจัดการทางการเงินและบัญชี  เป็นหน้าที่ในการจัดหาและบริการเงินทุนให้ได้กำไรสูงสุดรวมถึงจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมการเงินและการเสียภาษี
8.การจัดหาทรัพยากรมนุษย์  เป็นหน้าที่ในการสรรหากำลังคนที่มีความสามารถและมีคุณภาพ
ประโยชน์ของธุรกิจทางตรง
1.  ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
2.  สินค้าและบริการมีการกระจายออกไปสู่พื้นที่ต่าง ๆได้อย่างทั่วถึง
ประโยชน์ของธุรกิจทางอ้อม
1.  สร้างทางเลือกใให้กับผุ้บริโภค
2.  ลดปัญหาอาชญากรรม

 

 

 

 

ใบความรุ้ที่ 4.2 หน่วยที่ 4 ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่องวัตถุประสงค์และประเภทของธุรกิจ ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 4.2  เรื่องวัตถุประสงค์ของธุรกิจและประเภทของธุรกิจ ง 23105 ม.3
การประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน  ดังนี้
1.  กำไร  เป็นเป้าหมายหลักของการประกอบธุรกิจผู้ประกอบธุรกกิจนั้นย่อมหวังผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมากกว่าจำนวนที่ได้ลงทุนไปเพื่อเป็นรายได้นำไปใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ
2.  ให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคในราคาที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันกับองค์กรธุรกิจอื่น ๆได้ถีงแม้ว่าเป้าหมายคือกำไรแต่ผู้ประกอบการไม่ควรเอากำไรเกินควรในยุคที่การแข่งขันธุรกิจมีมากมายหากมีการค้ากำไรเกินควรจะส่งผลให้ธุรกิจขาดทุนผู้บริโภคหันไปใหห้ความสนใจในสินค้าหรือธุรกิจอื่นที่ไม่ค้ากำไรเกินควรดังนั้นการขายสินค้าหรือบริการที่ดีและมีคุณภาพสูงแก้่ผู้บริโภคในราคาที่เหมาะสมจึงจะสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้
3.  ความมั่นคงทางธุรกิจ  เมื่อธุรกิจได้รับความนิยมและการยอมรับจากผู้บริโภคและคู่ค้าแล้วจะก่อให้เกิดรายได้และความมน่าเชื่่อถือตามมาซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของธุรกิจนั้น
4.  ความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตของธุรกิจ  เมื่อธุรกิจมีความมั่นคงทั้งด้านการเงินและความน่าเชื่อถือ  ก็จะสามารถพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า  ผลิตสินค้าและบริการใหม่ ๆ  ออกมาสู่ตลาด  ขยายกิจการให้ใหญ่
วัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ  คือ ความต้องการผลกำไรมากที่สุด  ซึ่งแตกต่างจากองค์กรภาครัฐต่าง  ๆที่เน้นการให้บริการกับประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทนในขระเดียวกันธุรกิจต้องการกำไรแต่ไม่ได้หมายความว่าจะกอบโกยผลกำไรเพียงอย่างเดียวโดยละเลยคุณภาพ  ความรับผิดชอบตลอดจนผลกระทบต่อสังคมอื่นๆเช่นผู้ประกอบการนั้นต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมโดยขั้นตอนการผลิตตลอดจนผลิตภัณฑ์นั้นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ประเภทของธุรกิจ  มีดังนี้
1. ธุรกิจแบ่งตามกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ เป็น  3  กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.1  การผลิตสินค้า  ธุรกิจที่ดำเนินงานเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือผู้ผลิต  ได้แก่  ธุรกิจการเกษตร  ธุรกิจเหมืองแร่  ธุรกิจอุตสาหกรรม  และธุรกิจก่อสร้าง
1.1.1  ธุรกิจการเกษตร  ได้แก่การทำนา  ทำสวน  ทำไร่  ทำการประมง  การเลี้ยงสัตว์และการทำป่าไม้
1.1.2  ธุรกิจเหมืองแร่  เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะนำทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ มาใช้เช่  ถ่านหิน  ดีบุก  น้ำมัน เป็นต้น
1.1.3  ธุรกิจอุตสาหกรรม  เป็นธุรกิจการผลตดานอื่น ๆ  ทั้งอุตสาหกรรมในครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดย่อม  เช่นงานประดิษฐ์จากวัสดุธรรมาติ  การแปรรูปอาหารในท้องถิ่นซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งใช้แรงงาน  เครื่องจักรและเงินจำนวนมาก
   1.1.4  ธุรกิจก่อสร้าง  เป็นธุรกิจที่นำผลผลิตของอุตสาหกรรม  เช่น  ดิน  หิน  ปุนซีเมนต์มาก่อสร้างสิ่งอื่น ๆ เช่น  อาคารที่อยู่อาศัย  ถนน  สะพาน
  1.2  การพาณิชย์  ธุรกิจประเภทนี้เปรียบได้เหมือนพ่อค้าคนกลางที่นำสินค้าจากผู้ผลิตมาจำหน่ายต่อให้ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ ได้แก่  ธุรกิจการค้าส่งเช่นห้างสรรพสินค้า  ธุรกิจค้าปลีกเช่น  ร้านค้าสะดวกซื้อ  ร้านขายของซำ  แฟรสไซส์
1.3 การให้บริการ ธุรกิจประเภทนี้เน้นการอำนวยความสะดวกให้กับผุ้บริโภคมากกว่าการจำหน่ายสินค้า  ซึ่งแบ่งออกได้  2  ประเภทดังนี้
  1.3.1  ธุรกิจที่ให้บริการด้านการเงิน  เช่น  สถาบันทางการเงิน  และธนาคารต่าง ๆ เป็นต้น
1.3.2  ธุรกิจที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน  เช่น  บริการขนส่งมวลชน  การสื่อสาร  ร้านเสริมสวย  ร้านซัรีด  สถานเสริมความงาม  สถานบันเทิง
2.  ธุรกิจแบ่งตามรูปแบบของการปรกอบการตามกฎหมาย  แบ่งได้  5  ปะเภท  ดังนี้
2.1  กิจการเจ้าของคนเดียว  เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ดำเนินารและบริหารงานเพียงคนเดียวมีลูกจ้างไม่กี่คนข้อดีคือ  ใช้เงินทุนน้อย  หาทำเลที่ตั้งได้ง่าย  ไม่ยุ่งยากเมื่อเลิกกิจการ  กำไรที่ได้เป็นของเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวแต่มีข้อเสียคือเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบในหนี้สินเพียงผู้เดียว  การขยายกิจการทำได้ยากเพราะมีเงินทุนจำกัดและธุรกิจไม่มั่นคง
2.2  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เป็นธุรกิจซึ่งต้องมีบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไป  ร่วมกันลงทุนและเป็นเจ้าของโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกันและมีการตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรการก่ตั้งทำไ้ง่ายมีความมั่นคงทางการเงิน  มีประสิทธิภาพและมีการเสี่ยงในการขาดทุนน้อยลงกว่ากิจการเจ้าของคนดียวแต่มีข้อเสียคือการดำเนินกิจการต่าง ๆเป็นไอย่างล่าช้า  อาจเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  ได้แก่  ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข้อสอบ O-net )

ข้อแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีข้อแตกต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้
3. ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้
4. จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
5. เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
6. เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
3. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
4. ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
5. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
6. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ
 2.3  บริษัทจำกัดเป็นธุรกิจที่มีผู้จัดตั้งตั้งแต่  7  คนขึ้นไปเข้าชื่อกันจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิด้วยความสมัครใจมีการแบ่งเงินทุนออกเป็นหุุ้น  ซึ่งมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆกันวึ่งผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่ข้อดีของธุรกิจนี้มีความมั่นคงทางการเงินสูงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ  ธุรกิจก็สามารดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง  กรณีผู้ถือหุ้นตาย  ล้มละลาย  หรือศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ  ธุรกิจไม่ต้องเลิกล้มกิจการ ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้  แต่มีข้อเสียคือขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยากมีข้อจำกัดในด้านกฏหมายมาก  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน  รักษาความลับของธุรกิจได้ยากและขาดความภักดีของผู้บริหารงานซึ่งมักว่าจ้างมาจากภายนอก
2.4  สหกรณ์  เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยบุคคลตั้งแต่  10  คนขึ้นไปร่วมเข้าชื่อกันด้วยความสมัครใจ  ดำเนินการโดยยึดหลักประชาธิปไตยเพื่อดำเนินธุรกิจหรือบริการและช่วยเหลือสมาชิกหรือแก้ปัญหาคนกลาง
2.5  รัฐวิสาหกิจ  เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยทุนรัฐบาลทั้งหมดหรือรัฐบาลมีหุ้นมากกว่าร้อยละ  50 มีข้อดีคือช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นเพราะเป็นแหล่งรายได้ของรัฐและยังควบคุมสินค้าที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแต่มีข้อเสียคือภาคเอกชนหมดโอกาสที่จะลงทุนเพียงผู้เดียวและเงินหมุนเวียนจะลดลงเนื่องจากถูกนำไปลงทุน

 

 

 

 

 

ใบความรู้ที่ 4.1 หน่วยที่ 4 ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่องความหมายและความสำคัญของธุรกิจ ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 4.1  หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่องความหมายความสำคัญและวัตถุประสงค์ของธุรกิจ  ง  23105  ม. 3  เวลา  5  นาที
ตัวชี้วัด
1.  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม(ง 1.1 ม.3/2)
2.  อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม(ง 1.1  ม.3/3)
สาระการเรียนรุ้
ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
ความรุ้ทั่วไป  ในปัจจุบัน  งานธุรกิจเกิดขึ้นมากมายหลายประเภท  ทั้งธุรกิจที่ส่งเสริมการซื้อ  การขาย  และแลกเปลี่ยนสินค้า ตลอดจนธุรกิจที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่นร้านสรรพสินค้า  ร้านเสริมสวย  ร้านล้างอัดรูป  บริษัทประกันภัย  ธนาคารเป็นต้น
ธุรกิจ(Business) หมายถึงกระบวนการหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่บุคคลหรือกลุ่มคณะร่วมกันดำเนินการวึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิต  การซื้อ  การขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยมุ่งหวังกำไรหรือผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คุ้มค่าจากกระบวนการหรือกิจกรรมนั้นๆ
ความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจมีความสำคัญญต่อชีวิต  สังคม  และประเทศ  ดังนี้
1.  สร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชน
      ในชุมชนใด ๆ หากมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้น  อัตราการจ้างงานจะเพิ่มตามขึ้นตลอดจนสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบอาชีพ
2.  เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
      เทคโนโลยี(Technology)คือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งก่อให้เกิดวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรกลตลอดจนระบบหรือกระบวนการต่าง ๆที่ช่วยทำให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้า  การประกอบธุรกิจจะช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยีให้มีความเจริญก้าวหน้าเนื่องจากะุรกิจทุกประเภทจำเป้นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเช่นธุรกิจรับเหมาก่อสร้างลงทุนซื้อและนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ ๆเช่นระบบฐานข้อมูลของลูกค้า เครื่อมือช่วยทุ่นแรงในการก่อสร้าง  ก่อสร้างรถไฟฟ้า  สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินต้องนำเข้าเทคโนโลยีเป็นจุดเริ่มต้นของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนที่ธุรกิจนำมาสุ่ประชาชน
3.  กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและสร้างเสริมรายได้ให้ภาครัฐ
      ธุรกิจก่อให้เกิดการซื้อขาย  การหมุนเวียนของสินค้าและบริการต่าง ๆรัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีและนำมาใช้พัฒนาประเทศ