Category Archives: แผนการเรียนรู้ที่ 2 วิชา ง 33106 ม.6

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องความคิดสร้างสรรค์(เอกลักษณ์ไทย)และทักษะการทำงานร่วมกัน รายวิชา ง 33106 ม.6

แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2    เรื่องความคิดสร้างสรรค์(เอกลักษณ์ไทย)
และทักษะการทำงานร่วมกัน
รหัสวิชา  ง  33106  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
หน่วยการเรียนรู้ที่  2  เวลา   3  คาบ

1.  สาระสำคัญ
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการคิดของสมองที่คิดอย่างสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆที่แตกต่างไปจากเดิมและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมสมองมนุษย์มีความสามารถในการคิด
ที่หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิมจนนำไปสู่การสร้างสิ่งของที่แปลกใหม่และการแก้ปัญหา
        ทักษะการทำงานร่วมกัน  เป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่สามารถอยู่ได้ตามลำพังจึงรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อการทำงานหรือแก้ปัญหา
2.  ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
     2.1  ตัวชี้วัด
นักเรียนสามารถอธิบายความคิดสร้างสรรค์และรวมกลุ่มประดิษฐ์ของใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
     2.2  จุดประสงค์การเรียนรู้
             1.  บอกความหมายและประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ได้
             2.  จำแนกลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ได้
             3.  ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีความสุข
             4.  ประดิษฐ์ของใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยได้
             5.  บอกหน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัวโรงเรียน และชุมชนได้
3.  สาระการเรียนรุ้
            3.1  ความหมายและประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
            3.2 จำแนกลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
            3.3  ทักษะการทำงานร่วมกัน
            3.4  ประดิษฐ์ของใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
                    3.4.1  มาลัยซีก
                    3.4.2  มาลัยกลม
                    3.4.3  มาลัยตุ้ม
           3.5  บอกหน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว  โรงเรียนและชุมชน
4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
           4.1  ความสามารถในการสื่อสาร
           4.2  ความสามารถในการคิด
           4.3  ความสามารถในการแก้ปัญหา
           4.4  ความสามารถในการใช้ทักษะในการใช้ชีวิต
           4.5  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
      1.  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์
      2.  ซื่อสัตย์สุจริต
      3.  มีวินัย
      4.  ใฝ่เรียนรู้
      5.  อยู่อย่างพอเพียง
      6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
      7.  รักความเป็นไทย
      8.  มีจิตสาธารณะ
6.  ค่านิยมไทย  12  ประการ
      1.  มีความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
      2.  ซื่อสัตยื  เสียสละ  อดทน
      3.  กตัญญูพ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครุบาอาจารย์
      4.ใฝ่หาความรู้  หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
      5.  รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
      6.  มีศิลธรรมรักษาความสัตย์
      7.  เข้าใจการเรียนรู้เป็นประชาธิปไตย
      8.  มีระเบียบ  วินัย  เคารพกฎกหมาย  ปผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่
      9.  มีสติ  รุ้คิด  รู้ทำ
      10.รู้จักดำรงตนอยุ่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      11.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ  ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
      12.คำนึงถึงผลประโยชนืของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
7.  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ความมีเหตุผล
     ความมีเหตุผลหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไป
อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
8.  กิจกรรมการเรียนนการสอน (คาบ 1-2)
1.  ให้นักเรียนดูรูปภาพเด็กชายหม่อง  ทองศรี  แชมป์เครื่องบินกระะดาษพับ
จากประเทศญึ่ปุ่น  จากหนังสือแบบเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ง 33106
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หน้า  26 และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรรายในประเด็นต่อไปนี้
          1.1  อะไรทำให้เด็กชายหหม่อง  ทองศรี   ได้เข้าร่วมแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ
          1.2  เพราะเหตุใดเด็กชายหม่อง  ทองศรี  จึงได้รับรางวัลแชมป์เครื่องบินกระดาษพับ
          1.3  มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เด็กชายหม่อง  ทองศรี  ได้รับรางวัลแชมป์เครื่องบิน
กระดาษพับ
          1.4.  แชมป์เครื่องบินกระดาษพับได้รับการสนับสนุนจากใครบ้าง
          1.5  นักเรียนคิดว่าเด็กชาหม่อง  คำศรี  มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างก่อนที่จะได้รับ
รางวัลแชมป์เครื่องบินกระดาษพับ
    2.  ครูแจ้งตัวชึ้วัดให้นักเรียนได้ทราบว่า  ต่อไปนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเกี่ยวกับความคิด
สร้างสรรค์และรวมกลุ่มประดิษฐ์ของใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่  2  เรื่องความคิดสร้างสรรค์(เอกลักษณ์ไทย)และทักษะการทำงานร่วมกัน
    3.  แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ  4-6  คน  โดยคละกันตามความสามารถ
    4.  ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาสาระจากหนังสือเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี  หน้า
23-33ในหัวข้อ  ความหมายและประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์  การจำแนกลักษณะของ
ความคิดสร้างสรรค์  การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
     5.  ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มรับใบงานที่  1.1  เรื่องความคิดสร้างสรรค์  การจำแนกลักษณะของ
ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัเป็นกลุ่ม  และร่วมกันทำกิจกรรม  โดยครุคอย
ให้คำแนะนำเพิ่มเติมและสังเกตพฤติกรรม
    6.  ให้แต่ละกลุ่มส่่งตัวแทนรายงานหน้าชั้นเรียนโดยให้สรุปใจความสำคัญลงในแผ่นใส
ตามที่ครูกำหนดให้ดังนี้
          กลุ่มที่  1  รายงานเรื่องความหมายของความคิดสร้างสรรค์
          กลุ่มที่  2  การจำแนกลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
          กลุ่มที่  3  องค์ประกอบของความคิดสร้าางสรรค์และขั้นตอนในการคิด
          กลุ่มที่  4  ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
          กลุ่มที่  5   อุปสรรค์ของการฝึกความคิดสร้างสรรค์
          กลุ่มที่  6  ทักษะการทำงานร่วมกัน
          กลุ่มที่  7  กระบวนการกลุ่ม
    7.  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายตามใบงานที่  1.1  ดังนี้
         7.1  ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงอะไร
แนวคำตอบ  กระบวนการคิดของสมองที่คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆที่แตกต่างไปจากเดิมและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมเพราะสมองของมนุษย์เรามีความสามารถในการคิด
ได้หลากหลายและแปลกใหม่และคิดรูปแบบใหม่ขึ้นมาเลือกว่า  คิดนอกกรอบ
       7.2  ความคิดสร้างสรรค์จำแนกได้กี่ลักษณะ
แนวคำตอบ  การคิดสร้างสรรค์มี  4  ลักษณะคือความคิดริเริ่ม(Originality)ลักษณะความคิด
แปลกใหม่แตกต่างจากความคิดเดิม เช่นการเลี้ยงกบในกล่องโฟม  ความคล่องในการคิด
(Fluenncy)คือความสามารถในการคิดหาคำตอบ ความยืดหยุ่นในการคิด(Flexibility)คือความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท  เช่น นำขวดน้ำพลาสติกหรือกล่องนมไปดัดแลงให้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันความคิดละเอียดละออ(Elaboration)คือความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลัก
7.3  องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ได้แก่อะไรบ้างและมีขั้นตอนในการคิดอย่างไร
แนวคำตอบ  ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบ  3  อย่างคือความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่  เป็นความคิดไม่เหมือนใคร  นำไปใช้ได้หรือมีประโยชน์  มีความเหมาะสมกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่กำลังคิดกำลังแก้ปัญหา
ขั้นตอนในการคิดมี  4  ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการคือการรวบรวมข้อมูล  ขั้นครุ่นคิด
แต่ยังคิดไม่ออก  ขั้นของการเกิดความคิด  ขั้นพิสูจน์  เป็นระยะของการตรวจสอบประเมินผล
7.4  ข้อใดคือประโยชน์ของการคิดสร้างสรรค์
แนวคำตอบ  1.  ทำให้เกิดแนวทางใหม่ ๆในการดำเนินชีวิต  2.  ช่วยพัฒนาสมองของคนให้มีความแลาด  เฉียบคม การคิดเรื่องแปลกใหม่อยู่ประจำทำให้สมองเฉียบแหลมในการแก้ปัญหา
3.  สร้างความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตนเอง  4.   ช่วยยกระดับความสามมารถและความ
อดทน  5.  ความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม
7.5 ข้อใดคือ อุปสรรคของการฝึกความคิดสร้าางสรรค์
แนวคำตอบ  แบ่งออกเป็น  2  ประเภทท  คืออุปสรรคภายนอก  ข้อจำกัดอันเกิดจาก               ขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรมและกฏเกณฑ์ของสังคม
อุปสรรคคภายใน  คือ  อุปนิสัย  ท่าที  และเจตคติของตัวเองได้แก่่ความกลัวที่จะถูกกตำหนิและหาว่าแปลกหรือชินกับความคิดเดิมหรือมีมุมมองแคบมองทุกอย่างเพียงมิติเดียว
7.6  ทักษะการทำงานร่วมกันหมายถึงอะไร
แนวคำตอบ  ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่สามารถอยู่ตามลำพังต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่
7.7  กระบวนการกลุ่มหมายถึงกระบวนการทำงานร่วมกันขของบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไป
โดยมีวัตถุประสงค์และการดำเนินงานร่วมกันโดยผู้นำกลุุ่มและสมาชิกทำหน้าที่ของตนเอง
8.  ครูและนักเเรียนร่วมกันสรุปความคิดสร้างสรรค์(เอกลักษณ์ไทย)และทักษะการทำงานร่วมกันและครูสอดแทรกเรื่องค่านิยมม  12  ประการ  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องความีเหตุผลในการคิดแบบต่างๆ
9.  ให้ตัวแทนกลุ่มรับใบงานที่  2.2 เรื่องกาารประดิษฐ์ของใช้ที่เป้็นเอกลักษณ์ไทยและ
ใบงานที่  2.3  เรื่องหน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว  โรงเรียนชุมชน
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปใบงานที่  2.2 และใบงานที่  2.3
10.ตัวแทนกลุ่มรับใบความรู้ที่่  2.1  ไปศึกษาเพิ่มเติม  พร้อมทั้งให้ไปศึกษาล่วงหน้าในหัวข้อ
การร้อยมาลัยซีก  มาลัยกลมแและมาลัยตุ้ม ในหนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยีหน้า
37-42 และใบความรุ้ที่  2.2 เรื่องหน้าที่แลละบทบาทของตนเองที่มีต่อครอบครัวโรงเรียนชุมชน
กิจกรรมการเรียนการสอน (คาบที่ 3)
1.  ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนบทเรียนเดิมเรื่องการประดิษฐ์ของใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
2.  ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าต่อไปนี้นักเรียนจะได้ปฏิบัติการร้อยมาลัยซีก  มาลัยกลมและมาลัยตุ้ม  และเรื่องหน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัวโรงเรียน ชุมชน
3.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ  3-4คน  คละตามมระดับความสามารถโดยให้มีนักเรียนเก่ง  1  คน
นักเรียนปานกลาง  2  คน  และนักเรียนอ่อน  1  คน  เลือกประธาน  และเลขากลุ่ม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มบ้าน
4.  ประธานแต่ละกลุ่มรับใบงาน  4  ชุดและแจกให้สมาชิกในกลุ่มดังนี้
คนที่  1  รับใบความรู้และรับใบงานที่  2.2  เรื่องวัสดุ-อุปกรณ์  ขั้นตอนวิธีการร้อยมาลัยซีก
คนที่  2   รับใบความรู้และรับใบงานที่  2.3  เรื่องวัสดุ-อุปกรณ์  ขั้นตอนการร้อยมาลัยกลม
คนที่  3  รับใบความรู้และรับใบงานที่  2.3  เรื่องวัสดุ-อุปกรณื  ขั้นตอนการร้อยมาลัยตุ้ม
คนที่  4  รับใบความรู้รับใบงานที่  2.5  เรื่องหน้าที่และบทบาทตนเองที่มีต่อครอบครัว  โรงเรียนและชุมชน
5.  จัดกลุ่มเชียวชาญโดยให้นักเรียนจากกลุ่มบ้านที่ได้รับใบงงานเดียวกันไปรวมกลุ่มกันใหม่
ศึกษาทำความเข้าใจและทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมจดบันทึกคำตอบลงในใบงานให้้ครบ
ขณะนักเรียนทำกิจกรรมครูคอยสังเกตพฤติกรรมนักเรียนพร้อมชี้แนะในข้อที่สงสัย
6.  ให้สมาาชิกในกลุ่มเชี่ยวชาญกลับเข้ากลุ่มเดิมแล้วดำเนินการดังนี้
6.1  ผล้ดกันอธิบายให้สมาาชิกในกลุ่มฟังโดยเริ่มจากใบงานที่  2.2  2.3  2.4และ2.5
ตามลำดับจนครบทุกคน.
6.2  สมาชิกในกลุ่มซักถามและทำความเข้าใจร่วมกัน
7.  ครูสาธิตการร้อยมาาลัยซีก  มาลัยกลม  มาลัยตุ้ม  ให้นักเรียนดูและให้นักเรียนปฏิบัติตามแบบตัวอย่างที่ครูสาธิตและฝึกร้อยมาลัย  2-3ครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
8.  ให้นักเรียนร้อยมาลัยตามแบบ
9.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงวิธีการร้อยมาลัยและหน้าทที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว  โรงเรียนและชุมชน
10. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบหลังเรียนในเว็บไซตืkrupaga)
สื่อการเรียนการสอน
1. ใบงานที่  2.1  เรื่องความคิดสร้างสรรค์เอกลัการ์ไทยและทักษะการทำงานร่วมกัน
2.  แผ่นใส
3.  ปากกาเขียนแผ่นใส
4.  เครื่องแายข้ามศรีาะ
5.  ใบงานที่  2.2  เรื่องวัสดุ-อุปกรณ์ขั้นตอนวิธีการร้อยมาลัยซีก
6.  ใบงานที่  2.3  เรื่องวัสดุ-อุปกรณ์ขั้นตอนวิธีการร้อยมาลัยกลม
7.  ใบงานที่  2.4  เรื่องวัสดุ-อุปกรณ์ขั้นตอนวิธีการร้อยมาลัยตุ้ม
8.  ใบงานที่  2.5  เรื่องหน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน
การวัดผลประเมินผล
1.  สิ่งที่จะวัด
1.1  ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
1.2  พฤติกรรมการปฏิบัติ
1.3  การทำกิจกรรม
2.  วิธีการวัด
2.1  ทำแบบทดสอบ
2.2  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติ
2.3  ตรวจผลการทำกิจกรรม(ผลงาน)
3.  เครื่องมือวัด
3.1  แบบทดสอบ
3.2  แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
3.3  แบบบันทึกการทำกิจกรรม(แบบบันทึกการตรวจผลงาน)
4.  เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
4.1  เกณฑ์การวัด
4.1.1  ให้คะแนนแบบทดสอบ  ข้อถูกให้  1  คะแนน  ข้อผิดให้  0  คะแนน
4.1.2  ให้คะแนนพฤติกรรมดังนี้
ดีมาก       ให้    9-10  คะแนน
ดี               ให้    7-8    คะแนน
พอใช้        ให้    5-6    คะแนน
ควรปรับปรุงให้  1-4    คะแนน
4.1.3  ให้คะแนนการทำกิจกรรมหรือคะแนนปฏิบัติผลงาน  ดังนี้  ข้อถูกให้  1  คะแนน
ข้อผิดให้  0  คะแนน  สำหรับผลงาน  ผลงานเสร็จสมบูรณ์เรียนบร้อยทันเวลที่กำหนด
ให้   5  คะแนน  ทำผลงานเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ทันเวลาแต่ยังไม่ประณีตความสวยงามระดับปานกลาง-ดี ให้คะแนน  4   คะแนน  ทำเสร็จสมบูรณ์ทันเวลาแต่ไม่สวยงามให้  3  คะแนน
4.2  เกรณฑ์การประเมินผล
4.2.1  นักเรียนได้คะแนนนทดสอบไม่น้อยกว่่าร้อยละ  50
4.2.2  นักเรียนได้คะแนนพฤติกรรมรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ  70
4.2.3  นักเรียนได้คะแนนกิจกรรมหรือผลงานรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ  70
ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษา
…………………………….
ลงชื่อ                                   ผู้บริหาร
(นายไตรสรณ์  สุวพงงษ์)                                                                                                      ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

บันทึกผลหลังสสอน
1.  ผลการสอน
2.  ปัญหาและอุปสรรค
3.  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ลงชื่อ……………………………ครูผู้สอน
(นางผกาวดี  ศรีวะสุทธิ์)