Category Archives: ใบความรู้หน่วยที่ 4 ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 4.3 เรื่องทักษะการแก้ป้ญหางานช่าง ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 4.3 เรื่องงานช่าง(ซ่อมไว้ใช้นาน)
ความรู้เกี่ยวกับกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า  เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประโยชน์ในการต้มน้ำร้อนเพื่อใช้ดื่มหรือชงกาแฟในปัจจุบันมี  3  ชนิด  ได้แก่  กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าธรรมดา  กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ  และกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าระบบดิจิทัลในปัจจุบันนี้กระติกน้ำร้อนจะมีลูกเล่นตามความต้องการของผู้ใช้แต่หมายถึงราคาที่เพิ่มขึ้นควรเลือกซื้อ00ชนิดที่ตรงกับความต้องการ  ประหยัดพลังงานและปลอดภัยนอกจากนี้ควรเลือกกระติกที่มี  มอก.และมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5มีระยะรับประกันนานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อม
ส่วนประกอบกระติกน้ำร้อนอัตโนมัติ(ให้ศึกษารูปภาพในหนังสือการงาน ม.6 พว. หน้า 69)
หลักการทำงานของกระติกน้ำไฟฟ้าอัตโนมัติ
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อนจะเกิดความร้อน ความร้อนจะถ่ายเทไปยังน้ำในกระติกซึ่งจะทำให้มีอุณหภูมิสูงจนถึงจุดเดือดอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตักกระแสไฟฟ้าในวงจรหลักออกไปแต่งยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดโดยไหลผ่านหลอดสัญญาณอุ่นๆ ในช่วงนี้จะเป็นการอุ่นน้ำเมื้่ออุณหภูมิลดจนถึงจุดหนึ่ง ๆอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะทำงานโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดน้ำจะเดือดอีกครั้ง
ถ้าต้องการใช้น้ำให้กดที่ฝากดอากาศที่อยู่ด้านบนอากาศถูกอัดเข้าไปภายในดังนั้นภายในกระติกจึงมีแรงกดดันที่มากพอที่จะให้น้ำที่อยู่ภายในวิ่งไปตามท่อและออกทางช่องรินน้ำ

ใบความรู้ที่ 4.2 เรื่องเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรด้วยการแปรรูปและการถนอมอาหาร ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 4.2 เรื่องการถนอมอาหารและการแปรรูปอาหาร  ง 33106 ม.6
การแปรรูปอาหาร(Food  Processing)เป็นขั้นตอนและวิธีการในการเปลี่ยนแปลงผลผลิตทางการเกษตร
เช่น เนื้อสัตว์  ผัก ผลไม้ ธัญพืช  ด้วยการบดหรือสับละเอียดแล้วทำให้เปื่อยยุ่ยจากนั้นนำมาปรุงให้สุกด้วยวิธีการต่าง ๆเติมเครื่องปรุงหรือส่วนผสมเพิ่มรสชาติเพื่อเป็นอาหารและถ้าต้องการทำเป็นเครื่องดื่มสำหรับบริโภคเมื่อบดละเอียดแล้วให้คั้นเอาแต่น้ำ
ความสำคัญของการแปรรูปอาหาร
การแปรรูปอาหารมีความสำคัญดังต่อไปนี้
1. ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสมบัติด้านต่างๆ
2. เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ  โดยสร้างผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
3. ลดปัญหาการขาดแคลนอาหารนอกฤดูกาลได้ตลอดปี
4. เปลี่ยนผลผลิตทางกาเกษตรให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมแก่การบริโภค
5. สร้างงานสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ผลิตอาหารแปรรูปทั้งในระดับครัวเรือน ระดับอุตสาหกรรม
หลักการแปรรูปอาหาร
การแปรรูปอาหารมีหลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  ดังนี้
1.  ยับยั้งหรือชะลอการเสื่อมเสีย  ของผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของวัตถุดิบและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากจุลินทรีย์ด้วยวิธีการต่อไปนี้
1.1 ลดปริมาณน้ำในอาหาร  เพื่อลดกิจกรรมของเอนไซม์และจุลินทรีย์
1.2 ปรับสภาวะความเป็นกรดด่างโดยใช้วัตถุเจือปนในอาหารที่เป็นกรด
1.3 รมควันอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทำให้เก็บไว้นานเพราะควันทำให้ผิวหน้าของเนื้อแห้งสารที่ได้จากควันจะช่วยยั้บยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทร์ทรีย์ทำอาหารมีกลิ่นหิมและรสชาติดี
1.4 ใช้สารเคมีเติมลงในอาหารเพื่อรักษาคุณภาพอาหารเช่น การเติมดินประสิว การใช้สารกันหืนในน้ำมัน
1.5 ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันการเข้าถึงอาหารของจุลินทรีย์ในระหว่างจัดเก็บ
2. ส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์และเอนไซม์
3. ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพกระบวนการแปรรูปอาหารทุกขั้นตอน
4. พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารตลอดเวลา
กระบวนการแปรรูปอาหาร
1. วางแผนการแปรรูปอาหาร    2.  คัดเลือกวัตถุดิบ   3. ทำความสะอาดและตัดแต่งวัตถุดิบ
4. แปรรูปอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ
4.1 การทำแห้ง   4.2  การหมัก    4.3 การกวน   4.4 การทำแยมและเจลลี  4.5 การทำน้ำผลไม้
(ศึกษาเรื่องการแปรรูปอาหารในหนังสือการงานสำนักพิมพ์ พว หน้า 44-63)

ใบความรู้ที่ 4.1 เรื่องการตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้า ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 4.1 เรื่องการตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้า  ง 33106 ม.6
ความสำคัญของการตัดเย็บเสื้อผ้า
เสื้อผ้าที่เราซื้อมาสวมใส่ในชีวิตประจำวัน  มีทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามขนาดตัวมาตรฐานเช่น
เอส(S)  รอบอกประมาณ  32  นิ้ว  ความยาวประมาณ  24  นิ้ว
เอ็ม(M)  รอบอกประมาณ  36  นิ้ว  ความยาวประมาณ  26  นิ้ว
แอล (L)  รอบอกประมาณ  40  นิ้ว  ความยาวประมาณ  28  นิ้ว
เอกซ์แอล (XL)  รอบอกประมาณ  42  นิ้ว  ความยาวประมาณ  29  นิ้ว
นอกจากนี้ยังมีเสื้อผ้าตัดเย็บที่ต้องวัดขนาดตัวของผู้สวมใส่ตัดเย็บพอดีตัวประณีตซึ่งเสื้อผ้าเหล่านี้หากใช้ผ้าเนื้อดีรูปแบบสวยงามทันสมัยใช้วิธีการตัดเย็บเสื้อผ้าซับซ้อนจะมีราคาแพงมากถ้านักเรียนสามารถตัดเย็บได้เองนอกจากจะได้เสื้อผ้ารูปแบบที่ถูกใจแล้วและพอดีตัวแล้วยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
อุปกรณ์  เครื่องมือและเครื่องใช้ในการวัดตัวและสร้างแบบ
1. สายวัด มีความยาว  60  นิ้วหรือ  150 ซ.ม.ใช้วัดตัวที่เป็นแบบตัดเสื้อผ้า
2. กระดาษสร้างแบบ สีขาวหรือสีเนื้อ  ขนาด  30X40  นิ้วใช้สร้างแบบตัดเสื้อผ้า
3. ดินสอ  เบอร์  HB  หรือ  2 B ใช้ขีดเส้นสร้างแบบ
4. ยางลบใช้ลบรอยดินสอเครื่องหมายบนกระดาษสร้างแบบ
5. ไม้โค้งสะโพก   6. ไม้บรรทัดและไม้ฉาก  7. การดาษกดรอย  8. ลูกกลิ้ง  9. ชอล์กสีเขียนผ้า 10.กรรไกร
อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ในการตัดเย็บ
1. กรรไกรตัดผ้า   2. เข็มจักร  3.เข็มมือ  4.  เข็มหมุด  5.  ที่สนเข็ม   6. ด้าย เบอร์ 40-80  ใช้กับจักรเย็บผ้า ด้ายเบอร์  20-40 ใช้เย็บกระดุม  ด้ายที่ทำจากเส้นไหมเบอร์  50  ใช้เย็บผ้าไหมและผ้าขนสัตว์  ด้ายที่ทำจากใยสังเคราะห์ เช่นโพลีเอสเทอร์เบอร์  30 ใช้กับผ้าเนื้อหนา เบอร์  60ใช้เย็บผ้าทั่วไป เบอร์ 90 ใช้เย็บผ้าเนื้อบาง
7. ปลอกนิ้ว ใช้สวมไว้ที่นิ้วกลางเย็บผ้าเนื้อหนาเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มแทงมือ
8. ทีเลาะด้าย  9. หมอนปักเข็ม   10. จักรเย็บผ้า
อุปกรณ์  เครื่องมือ และเครื่องใช้ในการรีดผ้า
1. เตารีด  2. หมอนรองรีด   3. ที่รองรีด   4. กระบอกฉีดน้ำ
ขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้า
1. การวัดตัว การวัดตัวที่ถูกต้องแม่นยำทำให้ลดความผิดพลาดในการสร้างแบบและตัดเสื้อผ้าได้
2. การเตรียมผ้า ผู้หัดตัดควรเลือกผ้าฝ้ายหรือผ้าฝ้ายผสมใยสังเคราะห์ไม่มีลวดลาย
3. การสร้างแบบตัด  เป็นการนำสัดส่วนที่ได้จากการวัดตัวมาใช้ในการกำหนดระยะความกว้างความยาว
4. การเผื่อตะเข็บเย็บ เป็นการกำหนดเส้นรอบแบบตัดเพื่อเป็นแนวในการเย็บผ้า
5. การวางแบบตัด เป็นการวางแบบตัดที่สร้างและตัดเสร็จแล้วเป็นชิ้น ๆ
6.การตัดผ้า คนที่ถนัดมือขวาต้องใช้มือซ้ายวางทับผ้าให้แนบกับโต๊ะไม่ให้ผ้าเลื่อน
7. การกดรอยแนวเย็บ  ควรเลือกกระดาษกดรอยที่มีสีใกล้เคียงกับผ้าใช้เข็มหมุดกลัด
8. การเย็บผ้า

ใบความรู้ที่ 4 ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน ง 33106 ม.6

จุดประสงค์การเรียนรู้ประจำหน่วย
1. อธิบายขั้นตอนกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงานได้(ง 1.1 ม.4-6/4)
2. แก้ปัญหาในการตัดเย็บเสื้อผ้าและดัดแปลงเสื้อผ้าได้(ง 1.1 ม.4-6/8)
3. แก้ปัญหาในการเก็บถนอมและแปรรูปอาหารได้ (ง 1.1 ม. 4–6/8)
4. แก้ปัญหาในการติดตั้ง ประกอบ ซ่อมแซมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและโรงเรียน(ง 1.1 ม.4-6/8)
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
การทำงานทุกอย่างทั้งงานในชีวิตประจำวันและงานอาชีพมักประสบปัญหาและอุปสรรคซึ่งทักษะกระบวนการแก้ปัญหามีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การสังเกต  เป็นการพิจารณาปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างใส่ใจ
2. การวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยทักษะการคิดผสมผสานกับข้อมูล
3. การสร้างทางเลือก เป็นการกำหนดทางเลือกของการแก้ปัญหาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น
4. การประเมินทางเลือก เป็นการนำเอาทางเลือกต่างๆที่กำหนดมาเปรียบเทียบข้อดีข้อจำกัดแล้วตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด
การตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้า
การตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นการทำงานที่เกี่ยวกับผ้าอย่างมีขั้นตดอนเพื่อเกิดผลงานตามความคาดหวังหรือเป้าหมายที่วางไว้ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการตัดเย็บเสื้อผ้า มีดังนี้
1. การสังเกต ก่อนลงมือตัดเย็บเสื้อผ้าต้องพิจารณารูปแบบของเสื้อผ้าที่น่าสนใจเหมาะสมกับลักษณะเนื้อผ้าทั้งสัสันลวดลายและเหมาะสมกับรูปร่างของผู้สวมใส่
2. การวิเคราะห์  ด้วยการนำรูปแบบของเสื้อผ้าที่พบเห็นหรือสังเกตทั้งหมดมาวิเคราะห์หารายละเอียดในการตัดเย็บ  ค่าใช้จ่าย  เครืองมือ  อุปกรณ์ และเวลาในการใช้ในการตัดเย็บ
3. การสร้างทางเลือก โดยกำหนดรูปแบบของเสื้อผ้าที่ต้องการภายใต้ข้อจำกัดต่างๆทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายและเวลา
4. การประเมินทางเลือก โดยนำแบบที่กำหนดไว้มาเปรียบเทียบว่าแบบใดเหมาะสมกับการสวมใส่มากที่สุด