Category Archives: การงาน ม. 3

ใบความรู้ที่ 5.5 เรื่องวิธีการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ ราวตากผ้า โต๊ะคอมพิวเตอร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  5.5  เรื่องการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์  ราวตากผ้า  โต๊ะคอมพิวเตอร์  รหัสวิชา ง 23105
(ในหนังสือแบบเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า  122-127)

ใบความรู้ที่ 5.4 เรื่องความปลอดภัยในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 5.4 เรื่องความปลอดภัยในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์  รหัสวิชา ง 23105 ม.3
ในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์อุบัติเหตุอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
ซึ่งเป็นผบมาจากความประมาทในการใช้เครื่องมือ  การใช้วัสดุ  อุปกรณ์การไม่มีสมาธิในการปฏิบัติงาน
การแต่งกายไม่เหมาะสม  การหยอกล้อกันระหว่างการทำงาน  อัคคีภัย  และสภาพแวดล้อมที่ไม่
เหมาะสมในขณะปฏิบัติงานดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินควรติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
1.  สวมเสื้อผ้าให้รัดกุม  ก่อนการปฏิบัติงานและขณะปฏิบัติงานเช่นรวบผมให้เรียบร้อย  สวมผ้ากันเปื้อน
หรือชุดปฏิบัติงานใช้ผ้าปิดปาก  สวมแว่นตานิรภัยและสวมรองเท้ากันกระแทกทุกครั้งไม่ควรสวม
เครื่องประดับ เช่น  สร้อยข้อมือ  นาฬิกา แหวนเพื่อความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
2.  ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือการประกอบผลิตภัณฑ์  คู่มือการใช้เครื่องมือและรายละเอียดของชนิด
ขนาดวัสดุ อุปกรณ์ที่แนบมาอย่างเคร่งครัด
3.  ตรวจสอบสภาพความพร้อมในการใช้งานของเครื่องมือ  วัสดุ อุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติงาน
ถ้าชำรุดต้องรีบซ่อทแซมก่อนใช้งาน
4.  มีสมาธิในขณะปฏิบัติงานและไม่หยอกล้อกันขณะถือเครื่องมือหรือใช้วัสดุ อุปกรณ์  และเครื่องมือ
ติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
5.  จัดวางเครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่วางปนกับเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์อื่น
รวมถึงในขณะใช้งานไม่ควรให้คมของเครื่องมือกระทบกันตลอดจนหันคมของเครื่องมือออกจาก
ผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่ใกล้เคียงเสมอ
6.  ใช้งานเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะงานการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
7.  หากเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานควรตั้งสติให้ดีแล้วรีบแจ้งครู ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง

ใบความรู้ที่ 5.3 เรื่ององค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 5.3 เรื่ององค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ รายวิชาการงาน 5 ม.3
การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผลงานที่มีคุณภาพ
มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ อุปกรณ์และเครื่องมือช่างที่ใช้ในการติดตั้ง
และประกอบผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น การติดตั้งและประกอบ
ชั้นวางของจากเหล็กฉากชนิดน็อกดาวน์ ต้องเลือกไม้ที่มีความหนาและรับน้ำหนักสิ่งของได้ เลือกใช้
ประแจที่มีขนาดเหมาะสมกับนอตในการขันนอตเพื่อติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
2.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีทักษะและความชำนาญในการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับติตั้งและประกอบ
ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและปลอดภัย เช่น การประกอบชั้นวางของ
น็อกดาวจากเหล็กฉาก ต้องมีทักษะในการใช้ประแจขันน็อตประกอบโครงชั้นวางของเหล็กให้แน่น
อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ หลุดขณะขันน็อตและแข็งแรงพอที่จะวางไม้อัดไม่ให้ตกหล่น
3.  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในการอ่านแบบจากคู่มือหรือภาพที่แนบมากับผลิตภัณฑ์
เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆเข้าด้วยกันให้ถูกต้องและใช้งานได้จริง
4.  ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการวางแผนการทำงาน เช่น กำหนดเป้าหมายในการทำงาน
กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือให้ตรงกับลักษณะงาน  กำหนดวิธีทำงาน  ดำเนินตามแผนงานที่วางไว้
และประเมินผลเพื่อหาข้อบกพร่องในการทำงานหรือผลงานที่ทำแล้วปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งการประเมินผลงานทำได้โดยการทดลองใช้และการประเมินผลดำเนินงานเพื่อหา
แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องอุปสรรค์หรือปัญหาที่พบในระหว่างการปฏิบัติงาน
การอ่านแบบต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
1.  ประเภทของเส้นในการอ่านแบบ
2.  การมองภาพสามมิติและการหมุนชิ้นงาน
3.  การอ่านภาพฉายจากแบบ   4.  ค่าพิกัดความเผื่อและสัญลักษณ์
5.  เส้นให้ขนาดและคำสั่งต่าง ๆในแบบ  6.  การกำหนดจุดวัดและข้อควรระวัง

ใบความรู้ที่ 5.2เรื่องประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  5. 2  เรื่องประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง  ง 23105 ม. 3
การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองมีประโยชน์ดังนี้
1.  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
2.  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานช่างและได้ผลิตภัณฑ์
ไว้ใช้สอยไปพร้อมกัน
3.  สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ทำ
4.  เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะได้ใช้ความรู้และทักษะงานช่างที่มี มาติดตั้งและประกอบ
ผลิตภัณฑ์ได้สำเร็จ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
5.  ฝึกความละเอียด  รอบครอบ  และอดทนในการทำงานให้สำเร็จ
6.  นำความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ไปใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้

ใบความรู้ที่ 5.1เรื่องความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ หมายถึงการนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ
การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือช่าง  การอ่านแบบ  กลไกและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์มาใช้
ในการติดตั้งและประกอบ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ได้แก่ผลิตภัณฑ์
ชนิดถอดประกอบได้  เช่นราวตากผ้า  ตู้เสื้อผ้า  ชั้นวางของ  โต๊ะคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
เช่น  หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  เครื่องปั่นน้ำผลไม้  เครื่องดูดฝุ่น
วิธีใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ
1.  หม้อหุงข้าว  วิธีใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงานและปลอดภัยทำได้โดย
1.1  ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
1.2  เมื่อเลิกใช้งานควรถอดปลั๊กออกจากเต้ารับ
2.  เครื่องปั่นน้ำผลไม้ให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัยทำได้โดย
2.1  ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด   2.2  ไม่ควรใช้เกินกำลังและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
3.  เครื่องดูดฝุ่น  วิธีใช้เครื่องดุดฝุ่นให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัยทำได้โดย
3.1  ศึกษาวิธีใช้จากคู่มือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3.2  เมื่อใช้แล้วควรเอาฝุ่นผงในถุงทิ้งทุกครั้งเพื่อจะได้มีแรงดูดดีและไม่กินไฟ

ภาระงานและกิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยที่ 4 เรื่องธุรกิจเพื่อชีวิต ง23105 ม.3

ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ทุุกคนทุกห้องเรียนทำกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง  ธุรกิจเพื่อชีวิตดังนี้
         1.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนทุกคนโดยแบบทดสอบอยู่ในเว็บไซต์
หน่วยการเรียนรู้ที่  4  เรื่องธุรกิจเพื่อชีวิต ให้ทำทุกข้อ (โดยจดบันทึกโจทย์แต่ละข้อ
ลงในสมุดพร้อมคำตอบที่ถูกต้อง หรือคัดลอกจากเว็บไซต์ใส่กระดาษเอ 4 ทุกข้อ
พร้อมเฉลย)
       2.ให้นักเรียนทุกคนทุกห้องเรียนศึกษาใบความรู้ที่  4 เรื่องธุรกิจเพื่อชีวิต
       3.ให้นักเรียนแต่ละห้องเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ  4 คนโดยให้มีนักเรียนที่เก่ง  1คน
นักเรียนที่เเรียนปานกลาง  2  คนและนักเรียนที่เรียนอ่อน  1  คน (โดยใช้คะแนน
สอบกลางภาคคือนักเรียนที่ทำข้อสอบได้ตั้งแต่  45 – 60 ข้อ ได้คะแนนตั้งแต่ 12 -15
อยู่ในกลุ่มนักเรียนเก่ง สำหรับนักเรียนที่ทำข้อสอบได้ตั้งแต่ 35 – 44 ข้อ ได้คะแนน
ตั้งแต่  9 – 11  คะแนนจัดอยู่ในกลุ่มปานกลาง  สำหรับนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่า  35
คะแนนจัดอยู่ในกลุ่มอ่อน )ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเองโดยใช้ข้อมูลข้างต้น
       4.ในคาบเรียนให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
       5. หลังจากนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนทุกกลุ่มให้ทุกคนสรุปองค์ความรู้เรื่อง
ธุรกิจเพื่อชีวิต
       6.ให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบหลังเเรียน
ประเมินผล 
        แบบทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่  4  เรื่องธุรกิจเพื่อชีวิต
        คะแนนการนำเนอผลงานหน้าชั้นเรียน
        คะแนนจากการสรุปองค์ความรู้เเรื่องธุรกิจเพื่อชีวิต
        คะแนนพฤติกรรมได้จากแบบสังเกตุพฤติกรรรมขณะที่นักเรียนปฏิบัติงาน
รวมคะแนนประจำหน่วยการเรียนรู้ที่  4  ทุกคนโดยบันทึกคะแนนลงในสมุ

     krupaga

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1  เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน
ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกันและทักษะ
การแสวงหาความรู้มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้
พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด
1.  อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
2.  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม
3.อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อประหยัดพลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน  ง  2.1  เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้าง
สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วม
ในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด

1.  อธิบายระดับของเทคโนโลยี
2.  สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยออกแบบ
โดยถ่ายทอดความคิด ภาพฉายเพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบและแบบจำลอง
ของสิ่งของเครื่องใช้หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและ
การรายงานผล
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน  ง 3.1  เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหาการทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธผล และมีคุณธรรม
ตัวชี้วัด
สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน  ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์เห็นแนวทางในงานอาชีพ
ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด
1.  อภิปรายการหางานด้วยวิธีที่หลากหลาย
2.  วิเคราะแนวทางเข้าสู่อาชีพ
3.  ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ความถนัดและความสนใจของตนเอง

หน่วยการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 5 รหัสวิชา  ง 23105 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 งานบ้าน
1.1  เรื่อง การดูแลเสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน  เวลา  4  คาบ
ตัวชี้วัด
1.  อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง 1.1 ม. 3/1)

2.  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม(ง 1.1 ม.3/2)
3.  อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม(ง 1.1 ม.3/3)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.  นักเรียนสามารถอธิบายการดูแลเสื้อผ้าในชีวิตประจำวันได้
1.2  เรื่องอาหารประเภทสำรับ  เวลา  6  คาบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.  นักเรียนสามารถจัดอาหารประเภทสำรับได้
ภาระงาน
1.  ให้นักเรียนนำเสนอผลงานการดูแลเสื้อผ้าประเภทต่างๆ หน้าชั้นเรียน (3 คะแนน)
2.  สรุปองค์ความรู้เรื่องประเภทของเสื้อผ้า ( 2 คะแนน)
3.  ให้นักเรียนรายงานหน้าชั้นเรียนเรื่องการเตรียม  ประกอบ  จัด  ตกแต่งอาหารสำรับภาคต่างๆ(5 คะแนน)
4.  สรุปองค์ความรู้เรื่อง อาหารสำรับภาคต่างๆ (5 คะแนน)
5.  ให้นักเรียนปฏิบัติงานและจัดอาหารสำรับประเภทต่างกลุ่มละ  6-8 คนและนำเสนอผลงาน
พร้อมประเมินผลงาน (10 คะแนน)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  งานเกษตร(การขยายพันธุ์พืช) เวลา  4  คาบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. นักเรียนสามารถบอกวิธีการและขยายพันธุ์พืชแบบต่างๆได้
ภาระงาน
1.ให้นักเรียนทำรายเรื่องการขยายพันธ์ุพืชซึ่งมีสาระการเรียนรู้ดังนี้ (5 คะแนน)
1.1  ประวัติความเป็นมาของการขยายพันธุ์พืช
1.2  ความหมายของการขยายพันธุ์พืช
1.3  ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
1.4  ประเภทของการขยายพันธุ์พืช
1.5  หลักการขยายพันธุ์พืช
1.7  วัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
1.8  วิธีการขยายพันธุ์พืช
2.  ให้นักเรียนขยายพันธุ์พืชแบบต่าง ๆ คนละ  1  วิธี
กำหนดส่ง  สิ้นเดือนสิงหาคม  (5  คะแนน)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  งานประดิษฐ์
เรืื่อง  การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุตามธรรมชาติ
ภาระงาน
1.  ให้นักเรียนออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติและลงมือปฏิบัติชิ้นงาน
กลุ่มละ  5-6  คน  (10  คะแนน)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ธุรกิจเพื่อชีวิต
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  งานช่าง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  ก้าวทันเทคโนโลยี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  สู่โลกอาชีพ
การวัดและประเมินผล
ใช้อัตราส่วนคะแนน  ระหว่างภาค/ปลายภาด  70/30
คะแนนเสอบระหว่างภาค  70  คะแนน
คะแนนสอบปลายภาค  30  คะแนน
1.  คะแนนสอบระหว่างภาคมีรายละเอียดดังนี้
1.1 คะแนนสอบก่อนกลางภาค  25  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  และหน่วยการเรียนรู้ที่  2(ตามรายละเอียดด้านบน)
1.2 คะแนนสอบกลางภาค  15  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่  1 – หน่วยการเรียนรู้ที่  3 (เป็นข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบ  45  ข้อ
และแบบอัตนัย  3  ข้อ หน่วยการเรียนรู้ละ  1  ข้อ)
1.3 คะแนนสอบหลังกลางภาค  30  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่  3  งานปฏิบัติ –  หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
1.4 คะแนนสอบปลายภาค  30  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่  1 – 7 เป็นข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบตามตัวชี้วัด
จำนวน   60  ข้อ
หมายเหตุ
1. สำหรับการทดสอบรายหน่วยการเรียนรู้สอบในคาบเรียนหลังจากที่ทำแบบทดสอบหลังเรียน
จะเก็บคะแนนจากแบบทดสอบประจำหน่วย
2. สำหรับการส่งงานตามปฎิทินที่กำหนดส่ง
3. สำหรับแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนไม่ใช้ชุดเดียวกัน
กับแบบทดสอบประจำหน่วย
เวลาเรียน  นักเรียนต้องมีเวลาเรียนครบร้อยละ  80 หมายความว่านักเรียนขาดได้  7.5 คาบ