Category Archives: การงาน ม. 5 รหัส ง 32104

แบบทดสอบหน่วยที่ 4 เรื่องการถนอมอาหาร ง 32104 ม.5

ำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือความหมายของการถนอมอาหาร.
ก.  วิธีการต่าง ๆที่ทำให้อาหารประเภทพืชและสัตว์เก็บได้นานกว่าปกติโดยไม่บูดเสียคงสภาพใกล้เคียงกับของสดมากที่สุด
ข.  กรรมวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้อาหารอยู่ในสภาาพใกล้เคียงกับของสดมากที่สุด
ค.  กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของอาหารเพื่อให้อาหารนั้นมีรุปร่างรสชาติแปลกใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกิดเป็นชนิดใหม่
ง.  ถูกกทั้งข้อ  ก  และ  ข
2.  ข้อใดคือความหมายของการแปรรูปอาหาร. (ใช้ตัวเลือกข้อ 1)เฉลยข้อ ค
3.  การถนอมอาหารมีความสำคัญในข้อใด.
ก.  ช่วยยืดอายุกการเก็บรักษาอาหารให้นานขึ้น
ข.  ช่วยบรรเทาความาดแคลนอาหารในช่วงสถานการคับขัน  ช่วยให้เกิดการกระจายของอาหารไปยังท้องถิ่นอื่น ๆ  ช่วยให้มมีอาหารบริโภคนอกฤดูกาล
ค.  ช่วยป้องกันผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด  ช่วยเพิ่มความหลากหลายในด้านรสชาติและลักษณะของอาหหาร
ง.  ถูกทุกข้อ.
4.  ข้อใดคือสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร.
ก.  เกิดจากสิ่งมีชีวิตจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรา  แบคทีเรีย  และยีสต์
ข.  เกิดจากวัตถุและปฏิกิริยาทางเคมี
ค.  เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่นการบรรจุภัณฑ์ในการขนย้ายไม่ดีทำให้ภาชนะแตก
ทำให้เชื้อราแบคนีเรียเข้าไปปนเปื้อนในอาหารภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารไม่สะอาด
ง.  ถูกทุกข้อ
5.  ข้อใดคือหลักการในการถนอมอาหาร.
ก.  การระเหยน้ำออกจากเนื้ออาหาร   ข.  การใช้ความร้อนทำลายเชื้อจุลินทรีย์
ค.  การยั้บยั้งการดูดซึมสารอาหารของจุลินทรีย์   การเก็บรักษาอาหารในอุณหภุมิต่ำ
การใช้รังสีถนอมอาหาร    ง.  ถูกทุกข้อ
6.  การเชื่อม  การดอง  การแช่อิ่ม  อาศัยหลักการในข้อใด.
ก.  การยับยั้งการดูดซึมสารอาหารของจุลินทรีย์  ข.  การระเหยน้ำออกจากเนื้ออาหาร
ค.  การใช้รังสีถนอมอาหาร   ง.  การเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิต่ำ
เฉลยข้อ  ก 
7.  การใช้รังสีถนอมอาหารเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระบวนการแบบเย็นนิยมในอาหาร
ข้อใด.
ก.  กล้วย  มะม่วง  มะละกอ  ฝรั่ง   ผลไม้ต่าง ๆที่ไม่มีรสเปรี้ยว
ข.  ข้าว  ผลไม้สด  ผลไม้แห้ง  เครื่องเทศ  เครื่องปรุงรส
ค.  หัวหอมกระเทียม  หอมใหญ่  ขิง   มันฝรั่ง  แครอท  มะเขือเทศ  เนื้อวัว  เนื้อหมู
 แหนม   แฮม   เบคอน  อาหารที่เน่าเสียได้  เนื้อสัตว์ปีก
ง.   ถูกททุกข้อ
8.  การถนอมอาหารโดยการกำจัดน้ำในอาหารให้มากที่สุดเพื่อให้จุลินทรีย์
เจริญเติบโตได้ช้าลงและป้องกัันการเหม็นหืนของไขมันในอาหารหมายถึง
วิธีการถนอมอาหารแบบใด.
ก.  การทำอาาหารให้แห้ง    ข.  การรมควัน    ค.  การใช้ความร้อน
ง.  การฉายรังสี     เฉลยข้อ  ก  การทำอาหารให้แห้ง
9.  การทำให้อาหารแห้งเพื่อถนอมอาหารมี  2  วิธีคือข้อใด.
ก.  การทำให้อาหารแห้งโดยธรรมชาติ
ข.  การทำให้อาหารแห้งโดยอาศัยวิธีกลเข้าช่วย
ค.  การทำอาหารให้แห้งโดยการรมควัน
ง.  ถูกทั้งข้อ  ก  และ  ข
10.การถนอมอาหารโดยวิธีใดมีต้นทุนต่ำ. (ใช้ตััวเลือกข้อ  9)      เฉลยข้อ  ก
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถนอมอาหาร
1.ข้อใดไม่ใช่ผักและผลไม้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ก.  ใบย่านาง           ข.   ใบบัวบก      ค.  ฝรั่ง    ง.  ลองกอง
เฉลยข้อ   ง
2.ข้อใดคือคุณสมบัติของการถนอมอาหาร.
ก.  ช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร
ข.  ช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น
ค.  มีวิธีการหุงต้มหลายวิธี
ง.  เป็นการแปรรูปอาหารทำให้อยู่ได้นาน
3.ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการถนอมอาหารด้วยวิธีการตากแห้ง.
ก.  ทำให้ครอบครัวมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น
ข.  ทำให้อาหารมีน้ำหนักเบาสะดวกในการขนส่ง
ค.  มีความแตกต่างจากอาหารสดเพราะมีสีสวย
ง.  ช่วยเพิ่มรสชาติรสชาติของอาหารให้แปลกได้
4.ข้อใดเป็นกระบวนการถนอมอาหาร.
ก.  นำกล้วยสุกมาทำกล้วยบวชชี
ข.  นำกล้วยสุกมากวน
ค.  นำกล้วยสุกมาปิ้ง
ง.  นำกล้วยสุกมาทำข้าวต้มมัด
5.ข้อใดเป็นความหมายของการแปรรูปอาหาร.
ก.  ไชโยทำมะม่วงกวน
ข.  เอกชัยทำน้ำสับปะรด
ค.  ลลิตาทำกล้วยตาก
ง.  น้ำทำมะม่วงดอง
6.คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในข้อใด.
ก.  ค้าขาย             ข.  รับจ้าง            ค.  เกษตกรรม       ง.  รับราชการ
7.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการถนอมอาหาร.
ก.  มีตลาดรองรับ      ข.  ป้องกันอาหารล้นตลาด
ค.  มีอาหารบริโภคนอกฤดู       ง.  ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน
8.พืชชนิดใดที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมการเกษตร
ก.  มะม่วง      ข.  สับปะรด       ค.  มะขาม    ง.  มะยม
ประวัติความเป็นมาของการถนอมอาหาร
1.จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า
ชาวอินเดียแดงได้รู้จักการถนอมอาหารวิธีแรกในข้อใด.
ก.  การตากแห้ง            ข.  การเชื่อม
ค.  การรมควัน               ง.  การดอง
2.ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ชื่อว่าอะไร.
ก.  ไมเคิลจอน             ข.  นิโคลาส์  แชร์แวส
ค.  เซอร์จอนเบาริ่ง       ง.  นิโคบาส
3.บุคคลในข้อ 3 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารคือเรื่องใด.
ก.  ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
ข.  ประเทศสยามมีอาหารการกินเป็นจำนวนมาก
ค.  คนไทยไม่นิยมกินปลาสด
ง.  คนไทยนิยมการถนอมอาหารที่เหลือจากการรับประทาน
4.กะปิและปลาร้าเป็นการถนอมอาหารด้วยวิ๊ธีการใด.
ก.  การหมัก                ข.  การดอง
ค.  การรมควัน             ง.  การตากแห้ง
5.กะปิทำมาจากสัตว์ในข้อใด.
ก.  ปรากระดี่    ปลาดุก
ข.  ปลาช่อน                ค.  กุ้งเคย       ง.  ปลาหมอ
6.ซีมองเดอะราชทูตชาวฝรั่งเศสได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยและบันทึกเกี่ยวกับเรื่องใด.
ก.  ชาวไทยสมัยอยุธยานิยมทำปลาร้าจากปลากระดี๋  และ ปลาดุก
ข.  ชาวอยุธยาไม่นิยมกินปลาสดนิยมกินปลาที่แปรรูปแล้ว
ค.  ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
ง.  ในท้องทะเลประเทศไทยมีกุ้งตัวเล็กจำนวนมาก
7.คนไทยเรียกปลาร้าแต่ฝรั่งเรียกในข้อใด
ก.  ปลาเหม็น               ข.  ปลาเน่า
ค.  ปลาแห้ง                 ง.  ปลารมควัน
8.อาหารเน่าเสียเกิดจากสายเหตุในข้อใด.
ก.  การยั้บยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรี
ข.  การลดจำนวนน้ำ
ค.  การเจริญเติบโตของจุลินทรี
ง.  ถูกทุกข้อ
เรื่องการถนอมอาหาร
(การเชื่อม  การกวน การทำแยมและเจลลี่)
คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
44.การถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนทำให้อาหารสุกและน้ำตาลซึมผ่านเข้าไปในเนื้ออาหารอาหารจะไม่เหี่ยวย่นเก็บไว้ได้นานหมายถึงข้อใด.
ก.  การแช่อิ่ม       ข.  การดอง      ค.  การเชื่อม      ง.  การกวน
เฉลยข้อ  ค
45.การเชื่อมมี  2  วิธีคือข้อใด.
ก.  การเชื่อมช้า  การเชื่อมเร็ว    ข.  การเชื่อมเร็ว  การเชื่อมแห้ง
ค.  การเชื่อมแบบอ่อน  การเชื่อมเร็ว  ง.  การเชื่อมเข้มข้น  การเชื่อมน้ำ        เฉลยข้อ  ข
46.การเชื่อมเร็วมี  2  ลักษณะคือข้อใด.
ก.  ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม  5-10  เปอร์เซนต์
ข.  ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม  10- 15  เปอร์เซนต์
ค.  ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม  10- 20  เปอร์เซนต์
ง.  ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม   20- 30  เปอร์เซนต์
เฉลยข้อ  ค
47.ลอยแก้ว เป็นการเชื่อมที่มีลักษณะในข้อใด.
ก.  ใช้นำตาลทราย  1  ถ้วยตวงน้ำ  4  ถ้วยตวงเคี่ยวเป็นน้ำเชื่อมอย่างอ่อน
ข.  ใส่ผลไม้ที่จะเชื่อมลงไปใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงใช้ไฟอ่อน
ค.  ถ้าใช้เวลาเคี่ยวน้อยเกินไปจะทำให้มีกลิ่นน้ำตาลทรายอาหารเสียง่ายและรสชาติอาหารไม่อร่อยไม่ทิ้งค้างคืนถ้าจะเก็บต้องแช่ในตู้เย็น
ง.  ถูกทุกข้อ       เฉลยข้อ  ง
48.ผลไม้ในข้อใดนิยมเชื่อมในลักษณะลอยแก้ว.
ก.  สับประรด เงาะ  ลิ้นจี่
ข.  แห้ว  ลำไย  กระท้อน
ค.  มะม่วง  ส้มโอ  ส้มเขียวหวาน
ง.   ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
49.ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม 30-40 เปอร์เซนต์โดยใช้นัตาลทราย
2  ถ้วยตวงน้ำ 4 ถ้วยตวงเคี่ยวเป็นน้ำเชื่อมเมื่อทิ้งให้เย็นน้ำตาลจะไม่
ตกผลึกคำว่าตกผลึกหมายถึงข้อใด.
ก.  น้ำตาลจะไม่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น
ข.  น้ำตาลจะมีความหวานคงเดิม
ค.  น้ำตาลจะซึมเข้าไปในเนื้อผักผลไม้
ง.  น้ำตาลกลายเป็นสิ่งที่มีลักษณะขาวใสดั่งแก้ว
เฉลยข้อ  ง
50.ในการเชื่อมใช้ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม 30-40 เปอร์เซนต์มี
ข้อดีใดบ้าง.
ก.  เนื้ออาหารจะมีความมันเงา    ข.  ไม่เหี่ยวน่ารับประทาน
ค.  น้ำตาลไม่ตกผลึก  เก้บได้นาน  1  สัปดาห์        ง.  ถูกทุกข้อ
ฉลยข้อ  ง
51.การเชื่อมเร็วนิยมเชื่อมผลไม้ชนิดใดบ้าง.
ก.ฟักทอง    ข.  เผือก  มันเทศ     ค.  กล้วย  มันสำปะหลัง   จาวตาล
ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
52.การเชื่อมแห้งใช้กับผักผลไม้ที่มีเนื้อแน่นมีเส้นใยมากใช้เวลาเคี่ยวนานได้แก่พืชผักผลไม้ประเภทใด.
ก.  ฟักเขียว ข.  มะตูม  สับประรด  ค.รากบัว เปลือกมะนาว ง.ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
53.ใช้ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม  60-70 เปอร์เซนต์
โดยใช้น้ำตาล 4-6 ถัวยต่อน้ำ 4  ถ้วยใช้น้ำตาล 1 ถ้วยน้ำ 4 ถ้วย
ตั้งไฟพอเดือดใส่ผักผลไม้ลงไปเคี่ยวพอสุกใส่น้ำตาลทรายครั้งละครึ่งถ้วยตวงจนหมดเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมเป็นยางมะตูมจึงตักอาหารขึ้นถ้าจะเก็บไว้รับประทานนานๆ 1 เดือน ให้เคี่ยวต่อ  10  นาทีหมายถึงการเชื่อมในข้อใด.
ก.  การเชื่อมเร็ว ข.  การเชื่อมช้า  ค.  การเชื่อมแห้ง  ง การเชื่อมเหลว
เฉลยข้อ  ค
54.การถนอมอาหารโดยการนำผักและผลไม้มาผสมกับน้ำตาลใช้ความร้อนเคี่ยวจนปริมาณณน้ำลดลงผสมเป็นเนื้อเดียวกันหมายยถึงข้อใด.
ก.  การเชื่อม    ข.  การกวน     ค.  การแช่อิ่ม    ง.  การดอง
เฉลยข้อ   ข
55.การกวนมี  3  ประเภทได้แก่ข้อใด.
ก.  การกวนโดยใช้น้ำตาลกับน้ำ    ข. โดยใช้น้ำตาลกับกะทิ
ค.  โดยใช้น้ำตาลอย่างเดียว          ง.  ถูกทุกข้อ
56.ผักผลไม้ในข้อใดนิยมกวนโดยใช้กะทิ.
ก. มะขาม พุทรา ข.  ฟักทอง  เผือก ค.  มะม่วงสุก  สับประรด             ง.  กระท้อน     เฉลยข้อ  ข
ใช้ตอบคำถามข้อ  57
1.ผักและผลไม้ที่นำมากวนต้องสุกถ้ามีส่วนเน่าให้ตัดออก
2.ใช้ไฟอ่อนและให้คนด้วยพายไม้ตลอดเวลาอย่าให้ก้นไหม้
3.อาหารที่กวนควรแห้งและเหนียว
4.วิธีกวนควรใช้อาหารล้วนๆก่อนจนน้ำออกมาจากผักผลไม้งวดจึงเติมน้ำ
57.ให้นักเรียนเรียงลำดับขั้นตอนการถนอมอาหารโดยการกวนจากก่อนไปหลัง
ก.  1  2  3  4       ข.  1  3  2  4
ค.  1   2   4   3     ง.   2  1   3  4
เฉลยข้อ  ก
58.ในการถนอมอาหารโดยวิธีการกวนใช้ภาชนะในข้อใด.
ก.  กระทะทองแดง     ข.  กระทะทองเหลือง
ค.  กระทะอลูมิเนียม   ง.  กระทะสังกะสี
เฉลยข้อ  ข
59.ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อผลไม้ผสมสารให้ความหวานสารทำให้คงรุปเติมน้ำผลไม้จะมีลักษณะเหนียวกว่าการกวนหมายถึงข้อใด.
ก.  การกวน   ข.  การทำแยม      ค.  การทำเจลลี่   ง.  เพคติน  เจลาติน
เฉลยข้อ  ข
60.สารทำให้ผลิตภัณฑ์ในข้อ  59  คงรุปหมายถึงข้อใด.
(ใช้ตัวเลือกข้อ  59) เฉลยข้อ  ง
61.ผสมเนื้อผลไม้ น้ำตาลทรายเจลลาตินหรือเพคตินรวมกันในหม้อ
โดยใช้สัดส่วนเนื้อผลไม้/น้ำตาล/เพคติน/กรดอินทรีย์ในข้อใด.
ก.  35/45/0.5/0.1        ข.   45/55/1/0.3
ค.  45/55/1/0.5             ง.  45/55/1/0.7
เฉลยข้อ  ง
62.ในการทำแยมเคี่ยวตอนแรกใช้ไฟอ่อนๆเมื่อละลายหมดให้ใช้ไฟแรงเพื่อเหตุผลในข้อใด.
ก.  แยมจะเหนียว                  ข.  แยมจะสีใสเป็นประกาย
ค.  แยมจะมีรสชาติอร่อย     ง.  เวลาทาขนมปังจะติดดีน่ารับประทาน
63.ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ผสมน้ำตาลและเจลลาติน เพคตินหรือ
หรือคาราจีแนนมีลักษณะใสคล้ายวุ้นแต่ไม่เหนียวหนืดไม่เหลว
และคงรูปเมื่อถอดออกจากพิมพ์หมมายถึงข้อใด.
(ตัวเลือก้อ  59 ) เฉลยข้อ  ค
ใช้ตอบข้อ  64
1.เคี่ยวน้ำผลไม้บางส่วนกับเจลลาติน เพคตินหรือคาราจีแนนพอเดือดยกลง
2.เติมน้ำผลไม้ที่เหลือจนหมดคนให้เข้ากันทิ้งไว้จนอุ่น
3.เทใส่พิมพ์นำไปแช่ในตุ้เย็นจนแข็งตัวจึงแกะออกจากพิมพ์
64.ให้นักเรียนเรียงลำดับขั้นตอนการทำเจลลี่จากก่อนไปหลัง.
ก.  1  2  3       ข.  2  3  1      ค.  1  3  2       ง.  1  3    2
เฉลยข้อ  ก
65.เจลาติน  เพคติน  คาราจีแนน คืออะไร.
ก.  น้ำผลไม้รวม  ข.  สารประกอบจำพวกน้ำตาลหลายดมเลกุลทำให้แยมเจลลี่คงรูป
ค.  น้ำผลไม้ผสมกับน้ำตาลกลูโคส    ง. น้ำผลไม้ผสมกับน้ำตาล          ฟรุทโทส     เฉลยข้อ  ข
66.ข้อใดสัมพันกัน.
ก.  เจลาตินสกัดจากกระดุกและหนังสัตว์
ข.  เพคตินสกัดได้จากพืช
ค.  คาราจีแนนสกัดได้จากสาหร่าย
ง.  ถุกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
67.น้ำผลไม้มีวิตามินในข้อใดมากที่สุด.
ก.  วิตามินเอ       ข.  วิตามินซึ
ค  วิตามินบี           ง.  วิตามินอี    เฉลยข้อ  ข
68.สารแคโรทีนเป็นสารกำเนิดวิตามินในข้อใด.
(ใช้ตัวเลือกข้อ  67)  เฉลยข้อ  ก
69.น้ำผักผลไม้อยู่ในอาหารหลักหมู่ใด.
ก.  หมู่ที่  1       ข.  หมู่ที่  3     ค.  หมู่ที่  4      ง.  หมู่ที่  3  และ  หมู่ที่ 4
เฉลยข้อ  ง
70.น้ำผลไม้มีสารอาหารประเภทใด.
ก.  โปรตีน      ข.  คาร์โบไฮเดรต      ค.  เกลือแร่  วิตามิน    ง.  ไขมัน
เฉลยข้อ  ค
71.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบหน่วยที่ 3 เรื่องแปลงโฉมเสื้อผ้า ง 32104 ม.5

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือหลักการในการดัดแปลงเสิ้อผ้า.
ก.  เลือกใช้วิธีการให้เหมาะสม    ข.  ออกแบบให้เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้สวมใส่
ค.  เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งให้เหมาะกับเนื้อผ้า  คำนึงถึงความคุ้มค่า
ง.  เตรียมอุปกรณ์ตกแต่งและเครื่องมือให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติดัดแปลงเสื้อผ้า
เฉลยข้อ  ง
2.  การดัดแปลงเสื้อผ้าโดยออกแบบติดลูกไม้  จีบ  ระบาย  แขนพองทำโบติดที่คอเสื้อหรือ
ทำโบผูกที่เอวหมายถึงการออกแบบเสื้อในวัยใด.
ก.  วัยทารก    ข.  วัยเด็ก    ค.  วัยรุ่น    ง.  วัยผู้ใหญ่   จ.  วัยผู้สูงอายุ    เฉลยข้อ  ข
3.  ในการดัดแปลงเสื้อผ้าต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในเรื่องใดบ้าง.
ก.  คุ้มค่ากับเวลา    ข.  คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย    ค.  แรงงานที่ต้องเสียไป   ง.  ถูกทุกข้อ
4.  การดัดแปลงเสื้อผ้ามีประโยชน์ในข้อใดบ้าง.
ก.  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าใหม่แทนตัวเก่าที่คับ  สีซีดจางชำรุด
ข.  ช่วยยืดระยะเวลายาวนานของเสื้อผ้าซึ่งเป็นแบบเดิมที่ล้าสมัยให้ทันสมัย
ค.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์นอกจากจะฝึกทักษะออกแบบยังได้เสื้อผ้าแปลกใหม่ใช้งาน
และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานเมื่อดัดแปลงเสื้อผ้าได้สวยงามจะรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง     ง.  ถูกทุกข้อ      เฉลยข้อ  ง
5.  ข้อใดคือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดัดแปลงเสื้อผ้า.
ก.  สายวัด  ไม้บรรทัด    ข.  ไม้โค้งเอนกประสงค์  ชอล์เขียนผ้า  กรรไกร  เข็มหมุด  เข็มมือ
ค.  ด้าย  เตารีด  ที่รองรีด  น้ำยารีด    ง.  ถูกทุกข้อ    เฉลยข้อ  ง
6.  ข้อใดคือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้า.
ก.  โบ   ข.  ผ้าลูกไม้  เศษผ้า     ค.   ผ้ากุ๊น      ง.  ถุกทุกข้อ    เฉลยข้อ   ง
7.  ใช้ตกแค่งริมผ้าหมายถึงข้อใด. (ใช้ตัวเลือกข้อ  6) เฉลยข้อ  ค.  ผ้าากุ๊น
8.  ใช้ตกแต่งปกเสื้อ  ชายเสื้อ  ชายแขนเสื้อ  ชายกระโปรง  หมายถึงข้อใด. เฉลย  ผ้าลูกไม้
9.  นอกจากอุปกรณ์ตกแต่งที่ใช้ในข้อ  6 นักเรียนคิดว่ายังมีอุปกรณ์ตกแต่งเสื้อผ้าในข้อใด.
ก.  กระดุม  กระดุมแปีบ   ข.  ตะขอเกี่ยว  ซิป   ค.   ยางยืด  ยางรัดและสีย้อมผ้า  ง.  ถูกทุกข้อ
10. ใช้เย้บติดเสื้อผ้าที่ต้องการดัดแปลงเป็นกระเป๋าถือหรือกระเป่๋าสะพายหมาายถึง
วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งในข้อใใด. (เฉลย  ซิป)
11. ใช้เป้นเครื่องเกาะเกี่่ยวผ้า  2  ชิ้นให้ติดกันหมายถึงข้อใด.  (เฉลยตะขอเกี่่ยว  กระดุมแป๊บ)
12. ใช้สำหรับทำผ้ามัดย้อมโดยเมื้อมัดยางของผ้าบริเวณที่จะย้อมแน่นๆ สีย้อมจะไม่วึมผ่าน
ทำให้เกิดลวดลายได้หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งในข้อใด.
ก.  เศษผ้า   ข.  ผ้ากุ๊น     ค.  ยางยืด   ง.  ยางรัดและสีย้อมผ้า   เฉลยข้อ  ง
13. การดัดแปลงเสื้อผ้าให้ขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงจากลักษณะเดิมหมายถึงวิธีการดัดแปลง
เสื้อผ้าในข้อใด.
ก.  การดัดแปลงขนาดของเสื้อผ้า    ข.  การดัดแปลงรูปทรงหรือรูปแบบของเสื้อผ้า
ค.  การดัดแปลงสีและลวลายของเสื้อผ้า   ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
14. เป็นการดัดแปลงเสื้อผ้าเก่าสีพื้นสีอ่อนสีขาวที่ดูหมองให้มีสีสันสดขึ้นด้วยการย้อมสีผ้า
อาจย้อมทั้งตัวหรือมัดผ้าย้อมเพื่อให้เกิดลวดลายหรือใช้การทำผ้าบาติกหมายถึงข้อใดง
(ใช้ตัวเลือกข้อ  13) เฉลยข้อ  ค.  การดัดแปลงสีและลวดลายของเสื้อผ้า
15. เป็นการดัดแปลงเสื้อผ้าให้มีรูปทรงและรูปแบบใหม่ที่ไม่ซ่ำกับแบบเดิมดัดแปงผ้าที่ดูล้าสมัยผู้สวมใส่รู้สึกเบื่อยหมายถึงข้อใด. (ใช้ตัวเลือกข้อ  13)  เฉลยข้อ    การดัดแปลงรูปทรง
16. ผ้าบติกที่หนุ่มสาวในเกาะชวา  ประเทศอินโดนีเซียใช้กันมี  3  ชนิดคือข้อใด.
ก.  โสร่ง  คือผ้านุ่งที่ใช้พันรอบตัว     ข.  สลินดังแแเป็นผ้าที่ใช้นุ่งทับกางเกง
ค.  อุเดด็จ  เป็นผ้าคลุมศรีษะ      ง.  ถูกทุกข้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบความรู้ที่ 2 เรื่องโรงเรียนของเรา ง 32104 ม.5

ตัวชี้วัด
1.  อธิบายวิธีทำงานเพื่อการดำรงชีวิต (ง 1.1  ม. 4-6/1)
2.   สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะการทำงานร่วมกัน (ง 1.1 ม. 4-6/2)
3.  มีทักษะการจัดการในการทำงาน (ง 1.1  ม. 4-6/3)
4.  มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง  1.1   ม. 4-6/4)
5.  มีทักษะในการแสวงงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต (ง 1.1   ม.  4-6/5)
6.  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน (ง  1.1  ม. 4-6/6)
7.  ใช้พลังงาน ทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง   1.1   ม.   4-6/7)
                                                ใบความรู้ที่  2
                                       เรื่อง   โรงเรียนของเรา

การดูแลรักษาและทำความสะอาดโรงเรียน
        ในบริเวณโรงเรียนส่วนใหญ่จะเป็นอาคารเรียน  มีห้องเรียน   ห้องงประชุม  ห้องสมุด
โรงอาหาร  ห้องส้วม  สนามกีฬาและสวนหย่อมเพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมทางการเรียน
การสอนและพักผ่อนย่อนใจในเวลาว่าง  ซึ่งอาคารสถานที่เหล่านี้นักเรียนต้องใช้เป็นประจำ
เมื่อเวลาผ่านไปทำให้สกปรกไม่เป็นระเบียบนักเรียนจึงควรช่วยกันดูแแลรักษาและทำความสะอาดโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนเกิดความสวยงาม  ร่มรื่นน่ามาเรียน
       ความสำคัญของการดูแลรักษาและทำความสะอาดโรงเรียน
การดูแแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนมีความสำคัญต่อโรงเรียนและนักเรียนดังนี้
1.  อาคารสถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียนจะสะอาดเรียบร้อยเป็นระเบียบไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
และสัตว์มีพิษต่าง ๆ เช่น ยุงลาย  แมลงสาบ  หนู  งู  ตะขาบ
2.  อาคารสถานที่ในโรงเรียน  อุปกรณ์เครื่องใช้ในโรงเรียนมีอายุการใช้งานยาวนาน
โดยไม่ชำรุดเสียหาย จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
3.  บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีเพราะได้อยู่ในโรงเรียน
ที่สะอาดทถูกหลักสุขลักษณะเป็นระเบียบเรียบร้อย
4.  บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ  ความรัก  และสามัคคีกัน เพราะได้มี
ส่วนร่วมทำให้โรงเรียนสะอาด บรรยากาศเหมาะกับการเรียนรู้้
แนวทางการรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้และการทำความสะอาดโรงเรียน
การดูแลและทำความสะอาดโรงเรียนมมีแนวทางดังนี้
1.  ใช้งานอุปกรณ์การเรียน  อุปกรณ์กีฬา  โต๊ะ  เก้าอี้  ประตู  หน้าต่าง  กีอกน้ำ  หนัวสือในห้องสมุดและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างถูกวิธีและทนุถนอมไม่ให้ชำรุดเสียหาย
2.  ไม่ขีดเขียนโต๊ะ  เก้าอี้  ประตู   หน้าต่าง  ผนังห้องเเรียน
3.  เมื่อพบอุปกรณ์เครื่องใช้หรือส่วนต่าง ๆ ของห้องเรียนและอาคารสถถานที่ชำรุดควรรีบ
แจ้งครุ-อาจารย์ทันที เพื่ให้ซ้อมแซมก่่อนที่จะเสียหายจนใช้งานไม่ได้
4.  ไม่ทิ้งขยะบริเวรห้องเรียนและในบริเวณโรงเรียนแแต่ทิ้งลงถังขยะให้ถูกประเภทดังนี้
ถังขยะสีเขียว
ขยะย่อยสลายได้และนำไปทำปุ๋ยหมักได้  เช่น  ผัก  ผลไม้ เศษอาหาร  ใบไม้
  ถังขยะสีเหลือง
ขยะที่สามารถนำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ Recycle หรือจำหน่ายได้  เ0ช่น  แก้ว  กระดาษ
ขวดพลาสติกใส่น้ำดื่ม  โลหะ
  ถังขยะสีเทาฝาสีส้ม
ยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  เช่น  หลอดฟลูออเรสเซนต์ วดยา  ถ่านไฟฉาย
กระป๋อง   สีสเปร์  กระป๋องยาฆ่าแมลง  ภาขขนะบรรจุสารอัตราย
ถังขยะสีฟ้า
ขยะย่อยสลายไม่ได้  ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่  เช่น พลาสติก
ห่อลูกอม  ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  ถุงพลาสติก  โฟม และะฟอยล์ที่เปื้อนอาหาร
5.  ร่วมแรงร่วมใจกันทำความสะอาดบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียนด้วยการปัดกวาด  เช็ดถู
ห้องเรียน  ประตู  หน้าต่าง  โต๊ะ  เก้าอี้  กระดานดำ  บันได  ระเบียง  ทางเดินอาคคารสถานที่
และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียน เก้บกวาดขยะเศษใบไม้ ดอกไม้ทีี่ร่วงหล่น
รวมถึงขัดล้างห้องน้ำ  ทำลายแหล่งน้ำขัง  ใส่ทรายอะเบทลงในอ่างปลา  อ่างบัว  และแจกัน
ดอกไม้เพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ยุงลาย
การจัดและตกแต่งสวนสสวนหย่อมในโรงเรียน
การจัดตกแต่งสวนหย่อมในโรงเรียนเป็นการจัดสวนขนาดเล็กรูปแบบกะทัดรัดใช้เนื้อที่ไม่มาก
เช่นมุมอาคารเรียน  มุมถนนทางเดินในโรงเรียน  หรือโคลนต้นไม้ใหญ่เพื่อเพิ่มบรรยากาศ
ให้โรงเรียนมีความสวยงามน่ามองและสามารภถเปลี่ยนแปลงรูปแบบสวนหย่อมได้ง่าย
การจัดสวนหย่อมในโรงเรียนต้องใช้ความรู้ในด้านการออกแบบ  ด้านพันธุ์ไม้  ด้าน
วัสดุที่นำมาใช้ในการตกแต่งสวนหย่อม  อีกทั้งขั้นตอนในการดูแลพันธุ์ไม้ในสวนหย่อมให้เจริญเติบโตงอกงามจนกว่าจะเปลี่ยนรูปแบบสสวนหย่อมใหม่
การออกแบบสวนหย่อมในโรงเรียน
การออกแบบสวนหย่อมในโรงเรียนให้สวยงามกลมกลืนแและมีประโยชน์ใช้สอย
ต้องอาศัยหลักศิลปะดังนี้
1.  ความมกลมกลืนกัน  ลักษณะคความกลมกลืนของสวนขึ้นอยู่กับลักษณะพื้้นที่ของสวน
อาคารสถานที่  และพันธุ์ไม้ที่ใช้ปลุก  เช่นบริเวรเสาะงมี0ลักษณะพื้นที่เป็นรูปวงกลมล้อมรอบ
เสาธง  มีดินยกขึ้นเป็นเนิน

 

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน หน่วยที่ 1 ง 32104 ม.5

คำสั่ง   ให้นักเเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่   1 เรื่องหน้าที่ของนักเรียน
โดย  เข้า  google  แล้วพิมพ์คำว่า  แบบทดสอบหน่วยการเเรียนรุ้ที่ 1 เรื่องหน้าที่ของนักเรียน
ง 32104  ม. 5  krupaga  แล้วค้นหา (ทำทุกข้อ  แล้วจดบันทึกคะแนนไว้ในสมุด )
หลังจากทำแบบทดสอบก่อนเรียนทุกคนแล้ว  ให้ศึกษาใบความรู้ที่  1 เรื่องหน้าที่ของนักเรียน
เมื่อศึกษาเรียบร้อยแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนหรือแบบทดสอบประจำหน่วย(ชุดเดียวกัน)
กิจกรรมสุดท้ายให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้  เรื่องหน้าที่ของนักเรียน
       จบกิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่  1  (จดบันทึกคะแนนตามที่กำหนดใน
ภาระงานลงในสมุดนักเรียน  พร้อมทั้งบอกปัญหาอุปสรรคในหน่วยการเรียนรู้ที่  1
กิจกรรม   ประจำหน่่วยการเรียนรู้ที่ 1  ให้นักเรียนแต่ละห้องตั้งธนาคารขยะขึ้นภายในโรงเรียน
และ  กำหนดปัญหาที่พบในการเเรียนพร้อมวิธีแก้ไขคนละอย่างน้อย  1  ปัญหา
ตัวอย่างเช่น  ปัญหาสัมพนธภาพกับเพื่อน  เมื่อเกิดปัญหาไม่ควรหนีปัญหาหรือใช้สารเสพติด
เพราะนอกจากจะทำให้เสียสุขภาาพจิตแล้วยังทำให้หมดอนาคต

การงาน ม.5 ง 32104

                                             ใบความรู้ที่  1
                                   เรื่อง  หน้าที่ของนักเรียน
ตัวชี้วัด
1.อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต (ง 1.1  ม. 4-6/1)
2.สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะการทำงานร่วมกัน (ง 1ง1 ม.4-6/2)
3.มีทักษะการจัดการในการทำงาน (ง 1.1 ม. 4-6/3)
4.มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง. 1.1 ฒง 4-6 /4)
5.มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต ( ง 1.1 ม. 4-6/5)
6.มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน (ง 1.1 ม. 4-6/6)
7.ใช้พลังงาน ทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(ง 1.1  ม. 4-6/7)
ความสำคัญของการเป็นนักเรียนที่ดี
โรงเรียนเป็นสถานที่ตั้งขึ้นเพื่จัดการศึกษาหรืออบรมสั่งสอนนักเรียนภายใต้การดูแลของครูซึ่งแต่ละโรงเรียนไม่มีเฉพาะครูและนักเรียนเท่านั้นแต่ยังมีผู้อำนวยการโรงเรียน  ครูฝ่าย
ต่างๆ เช่น ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายสนับสนุนการสอนไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ และบรรณารักษ์
ห้องสมุด  คนงาน  ภารโรง  พ่อบ้าน  แม่บ้าน  ผุ้จำหน่ายอาหารในโรงเรียนที่โรงอาหาร
โรงเรียนมีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้วยังเป็นแหล่งเรียนรู้นอก
ห้องเรียนที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการติดต่อสื่อสารการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการ
พึ่งพาอาศัยกัน  มีวัมนธรรมร่วมกันระหว่างนักเรียนปัจจุบันกับรุ่นพี่ลุกศิษย์กับครูและอยู่ภายใต้
การปกครองของผุ้อำนวยการ
        ดังนั้นนักเรียนจึงมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในโรงเรียนโดยมีครูเป็นผู้ที่ช่วยในการส่งเสริม
ให้นักเรียนปฏิบัติตนเป้นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน  เช่น  การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม
ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย  การเป็นประชาธิปไตย โดยยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่นซึ่งการเป็นนักเรียนที่ดีไม่ได้หมายความว่าต้องเรียนเก่ง
คุณสมบัติของนักเรียนที่ดี
คุณสมบัติหมายถึง คุณงามความดี คุณลักษณะประจำตัวของบุคคล การที่จะมีคุณสมบัติ
ของนักเรียนที่ดีจึงเป็นการมีคุณลักษณะประจำตัวที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่ออตนเองและผู้อื่น
โดยนักเรียนที่ดีต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติเฉพาะที่ต้องปลูกฝัง
คุณสมบัติพื้นฐาน
คุณสมบัติพื้นฐานของนักเรียนที่ดีคือคุณะรรม  8  ประการที่กระทรวงศึกษามีนโยบาย
มุ่งเน้นพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี  มีความรู้  และอยู่ดีมีสุขซึ่งประกอบด้วย
1.ขยัน  คือความมานะบากบั่นตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานที่ถูกที่ควรอย่างต่อเนื่อง
2.ประหยัด คือการรู้จักเก็บออมรู้จักฐานะการเงินของตนเองคิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อไม่ฟุ่มเฟื่อย
รุ้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอใช้ทรัพย์สินสิ่งของให้เกิดประโยชน์
3.ซื่อสัตย์ คือประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่และวิชาชีพไม่มีเล่ห์เหลี่ยมคดโกงทั้งทางตรงและอ้อม
4.มีวินัยคือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้บังคับและข้อปฏิบัติโดยอยู่ในกฏ ระเบียบของ
สถานศึกษา  สถาบัน  องค์กร  สังคมและประเทศอย่างเต็มใจ
5.สุภาพคือ เรียบร้อย  อ่อนโยน มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน
6..สะอาด คือปราศจากความมัวหมองทั้งกาย  ใจ  และสภาพแวดล้อมโดยรักษาร่างกาย
ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะฝึกใจให้สบายไม่ขุ่นมัว
7.สามัคคี คือความพร้อมเพียง ความกลมเกลียว ความปรองดองและร่วมใจกันปฏิบัติตน
ให้บรรลุผลตามที่ต้องการและเกิดงานที่สร้างสรรค์ปราศจากความขัดแย้ง
8.มีน้ำใจ คือ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ให้ความสนใจในความต้องการความทุกข์สุข
ของผู้อื่นและพร้อมจะให้ความช่วยเหลือด้วยแรงกายและสติปัญญาเพื่อให้เกิดประโยชน์
คณสมบัติเฉพาะ
คุณสมบัติเฉพาะคือ คุณธรรมของการเป็นคนดีที่ทำให้สังคมก้าวหน้าอย่างยั่งยืนประกอบ
1.ความอดทน คือ  การไม่ย้อท้อต่อความทุกข์ยากลำบาก อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้งานสำเร็จ
2.ความรับผิดชอบ คือ ความสำนึกในหน้าที่ที่จะต้องทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
3.ความเสียสละ คือ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งบันให้แก่กันไม่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ส่วนรวม
4.ความละอายและเกรงกลัวต่อการทำบาป คือ ความรู้สึกกลัวผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ
ที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมแก่ตนเองซึ่งทำให้ไม่มีความสุขในชีวิตจึงส่งผลให้ละเว้นไม่กระทำ
5.การยึดมั่นในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  คือ การปฏิบัติตนให้อยู่
ในระบบประชาธิปไตย เคารพเเสียงข้างมาก ให้ความสำคัญกับผู้อื่นที่มีความคิดต่าง
หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อครูอาจารย์
นักเรียนจะต้องให้ความเคารพนับถือครู อาจารย์และปกิบัติตนให้เหมาะสมกับความเป็น
นักเรียนที่ดีดังนี้
1.มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์ทั้งกาย  วาจา  และใจ โดยการทำความเคารพครู อาจารย์เมื่อ
พบเห็นท่าน พูดคุยกับท่านด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อมและไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมหรือ
พูดไม่ดีคิดไม่ดีกับครูทั้งต่อหน้าและลับหลัง
2.เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนอบรมของครูอาจารย์ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3.กตัญยญูกตเวทีต่อครู อาจารย์ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เคารพและปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียน ประพฤติตนเรียบร้อยไม่เกเร  ช่วยเหลืองานครู  ตามโอกาสและความสามารถ
หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อเพื่อนนักเรียน
เพื่อนนักเรียนหมายถึง   เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนรุ่นพี่  หรือรุ่นน้อง ซึ่งเป็นลูกศิษย์
อาจารย์เดียวกัน อยู่ในเครื่องแบบนักเรียนเหมือนกัน  มีสิทธิ์เสรีภาพ ความเสมอภาค
ในกรอบของโรงเรียนและมีความเป็นนักเรียนเท่าเทียมกันจึงสร้างความเป็นเพื่อนเกิดขึ้น
ในจิตสำนึกเสมอโดยปฏิบัติตนดังนี้
1.  รักใคร่ปรองดองกัน  ไม่ทะเลาะวิวาทหรือเอาเปรียบกัน
2.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน  ช่วยเหลือซซึ่งกันและกันรับฟังปัญหาและช่วยแก้ไขปัญหาให้เพื่อนเท่าที่จะช่วยได้หากเกินความสามารถควรปรึกษาพ่อแม่และครูอาจารย์
3.  ส่งเสริมเพื่อนในทางที่ถูกที่ควร  ให้กำลังใจเพื่อน ชมเชยเมื่อเพื่อนทำความดี  ท้วงติงเมื่อเพื่อนทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม  ไม่อิจฉาริษยาเพื่อน  ไม่ชักชวนให้เพื่อนกระทำผิด หรือทำลายเพื่อนและไม่ใส่ร้ายเพื่อนให้ได้รับความเสียหาย
หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อโรงเรียน
โรงเียนเป้นสถานที่ให้ความรู้แก่นักเรียนและเป็นสถานที่ที่ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์หลายอย่างเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนและการอยู่ร่วมกับผุ้อื่น  ดังนั้นนักเรียนจึง
ตอบแทนสิ่งที่ดีๆ ที่โรงเรียนมอบให้แก่นักเรียนโดยการปฏิบัติตนดังนี้
1.  เคารพและปกิบัติตามกฏ  ข้อบังคับ  และประเพณีของทางโรงเรียน  ทำได้โดยแต่งกาย
ตามกฏระเบียบของโรงเรียน มาเรียนตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด เข้าเรียนตรงเวลา ไม่หนี
2.  รับผิดชอบงานในหน้าที่  ทำได้โดยตั้งใจเรียนหนังสือ  ประฟฤติตนเป็นคนดี   ตั้งใจฟังครุ
ผู้สอน  คิดตาม  ซักถามในสิ่งที่ไม่ชัดเจน  จดบันทึกกันลืม  ส่งงานครูตรงเวลา
3.  ร่วมกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนองความสามารถเฉพาะทาง
หรือส่งเสริมพรสวรรค์ที่มีในตัวของนักเรียนเอง  เช่น  การประดิษฐ์  การวาดภาพ  การเล่นดนครี
ร้องเพลง  การฟ้อนรำ  การทำอาหาร
4.  การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียน  เพื่อมุ่งประโยชน์แก่นักเรียน เช่น  กิจกรรมสภา   นักเรียน  กิจกรรมชุมนุม  การประกวดโครงงานนักเรียน  การจัดนิทรรศการผลงานนักเรียน
5.  อาสาสมัครเป็นตัวแทนนักเรียน   เมื่อมีกิจกรรมการแข่งความสามารถทางวิชาการ
6.  เสีสละทรัพย์สินเพื่อส่วนรวม  ทำได้โดยบริจากหนังสือเรียน  หนังสืออ่านนอกเวลา
ที่ใช้แล้วให้แก่ห้องสมุดโรงเรียน  บริจาคเงินช่วยเหลือซ่อมแซมอาคารเรียน
7.  บำรุงรักษาโรงเรียน  ทำได้โดยการเก็บขยะในโรงเรียน  กวาดเศษใบไม้ในบริเวณ
ทำความสะอาดห้องเรียนและอาคารเรียน  ไม่ขีดเขียนบนพื้น  โต๊ะเรียน  ผนังห้อง  ปิดไฟฟ้า
ประโยชน์จากการปฏิบัติตามหน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกของโรงเรียน
1.  เกิดความรักความสามัคคีในโรงเรียน
2.  ทำให้โโรงเรียนมีความเป้นระเบียบเรียบร้อย
3.  เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
4.  ทำให้โรงเรียนมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง
5.  เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบููรณ์  โรงเรียนนอกจากจะเป็นสถานที่ที่ให้การศึกษาให้นักเรียน
มีความรู้ด้านวิชาการแล้วโรงเรียนยังเป็นสถานที่ที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัว
ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  รู้จัดตนเอง  รู้จักการให้  หรือรู้จักว่าสิ่งใดควรกระทำ
หรือควรละเว้นรุ้จักความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
หลักธรรมในการผูกมิตร (คาถามหาเสน่ห์)
ได้แก่  สังคหวัตถุ  4  ประกอบด้วย
1.  ทาน  คือ   การให้
2.  ปิยวาจา คือ กาารพูดจาไพเราะอ่อนหวานไม่พูดนินทาให้ร้ายผู้อื่น
3.  อัตถจริยา  คือ การทำตนให้เป็นประโยชน์
4.  สมานัตตตา  คือ  การทำตนให้เสมดต้นเสมอปลาย

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อหน่วยการเรียนรู้รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 ง 32104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อหน่วยการเรียนรู้  ง  32104  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน  0.5  หน่วยการเรียน
เวลา    20  คาบ/ ภาคเรียน   1  คาบ/ สัปดาห์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  หน้าที่ของนักเรียน     เวลาเรียน   1   คาบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  โรงเรียนของเรา         เวลาเรียน   2   คาบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  แปลงโฉมเสื้อผ้า       เวลาเรียน    2  คาบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การถนอมอาหาร        เวลาเรียน    2  คาบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  เวลาเรียน  2  คาบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 งานใบตอง                  เวลาเรียน    4  คาบ
หน่วยการเรียนรุ้ที่ 8  ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม  เวลาเรียน  2  คาบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ี  9  การออกแบบและเทคโนโลยี  เวลาเรียน  3  คาบ
สอบกลางภาค   1  คาบ
สอบปลายภาค  1  คาบ
รวมทั้งหมด      20  คาบ
การวัดผลและประเมินผล
อัตราส่วนคะแนน  ระหว่างภาค/ปลายภาค   คือ  70/30
คะแนนก่อนสอบกลางภาค   15  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 (3 คะแนน) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน  2  คะแนน สรุปองค์ความรู้
จำนวน  1  คะแนน (ส่งสมุดทุกคน)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   (4  คะแนน)
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มรายงานหน้าชั้นเรียน   2  คะแนน  ทำแบบทดสอบประจำหน่วย  2  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 (8  คะแนน) ให้นักเรียนดัดแปลงเสื้อผ้าคนละ  เ  ชิ้น )
สรุปองค์ความรู้ (1  คะแนน) ทำแบบทดสอบประจำหน่วยที่ 3 เรื่อวแปลงโฉมเสื้อผ้า (2 คะแนน)
คะแนนสอบกลางภาคจำนวน    15  คะแนน
ข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบ  5  ตัวเลือกจำนวน  45  ข้อ
หน่วยการเรียนรู้ที่  1 – หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
คะแนนสอบหลังกลางภาค จำนวน  40  คะแนน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  เรื่องการถนอมอาหาร  10  คะแนน
ให้นักเรียนถนอมอาหารคนละ  1  ชนิด จำนวน  5  คะแนน  ให้แบ่งกลุ่มททำผังวัสดุ  อุปกรณ์   วิธีทำ  รูปภาพผลงาน และนำเสนอหน้าชั้้นเรียน (งานกลุ่ม  5  คะแนน)
หน่วยการเรีียนรู้ที่  5 เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  ( 5 คะแนน) รายงานหน้าชั้นทำ             แบบทดสอบประจำหน่วยและสรุปองค์ควาามรู้้
หน่วยการเรียนรุ้ที่  6 ช่างไฟฟ้าในบ้าน (5 คะแนน) ให้นักเรียนฝึกงานกับครูช่างไฟฟ้าและ
พ่อบ้านช่างไฟฟ้าในโรงเรียนโดยให้ครูไฟฟ้ารับรองผลการปฏิบัติงานของนักเรียน
แต่ละกลุ่มในแบบประเมินการรปฏิิบัติงาน
หน่วยการเรียนรุ้ที่ 7 งานใบตอง  (จำนวน 10 คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกปฏิบัติงานใบตองคนละ  1  อย่าง และนำเสนอผลงาน  ทำแบบทดสอบ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8  ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิิจขนาดย่อม ( 5 คะแนน)
หน่วยการเรียนรรู้ที่ 9 การออกแบบและเทคโนโลยี  ( 5 คะแนน)
รวมคะแนนระหว่างภาค  70  คะแนน
คะแนนสอบปลายภาค   30  คะแนน
ข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบหน่วยที่ 1-9  จำนวน  60  ข้อ
รวมคะแนน                   100  คะแนน

ตัวชี้วัดสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
1.อธิบายวิธีดำเนินงานเพื่อการดำรงชีวิต
2.สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษษะการทำงานร่วมกัน
3.มีทักษะการจัดการในการทำงาน
4.มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
5.มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต
6.มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน
7.ใช้พลังงาน ทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดสาระที่ 2  การออกแบบและเทคโนโลยี
1.อธิบายและเชื่อมโยงงความสัมพันธุ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ
2.วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี
3.สร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการทางเทคโนโลยี
4.มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในงานที่ผลิตเองหรือ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผู้อื่นผลิต
5.วิเคราะห์หรือเลลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันอย่างสร้าสรรค์ต่อชีวิต
สังคมและสิ่งแวดล้อมและมีการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืนด้วยวิธีกาารของเทคโนโลยีสะอาด
การกำหนดภาระงาน
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สรุปองค์ความรู้  ทำแบบทดสอบประจำหน่วย  ธนาคารขยะในโรงเรียน
2.หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 รายงานหน้าชั้นเรียน  ทำแบบทดสอบประจำหน่วย
3.หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ดัดแปลงเสื้อผ้าคนละ  1  ชิ้น  สรุปองค์ความรู้  แบบทดสอบประจำหน่วย
4.หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ถนอมอาหารคนละ  1  อย่าง  งานกลุ่ม  6-8  คนทำผังแสดง วัสดุ
อุปกรณ์  วิธีทำ  รูปผลงานการถนอมอาหาร
5.หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  สรุปองค์ความรู้  แบบทดสอบประจำหน่วย
6.หน่วยการเรียนที่  6  ช่างไฟฟ้าในบ้าน  ฦึกงานจากครูไฟฟ้า  และพ่อบ้านที่เป็นช่างไฟฟ้า
7.หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  งานใบตอง  ให้นักเรียนปฏิบัติงานใบตองคนละ  1  อย่าง
8.หน่วยการรเรียนรู้ที่ 8 ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม
9.หน่วยการเรียนรู้ที่ 9  สรุปองค์ความรู้และแบบทดสอบประจำหน่วย