Category Archives: ใบความรู้ ง 32104 ม. 5

ใบความรู้ที่ 4.5 เรื่องวิธีการถนอมอาหาร(การรมควัน) ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  4.5  เรื่องวิธีการถนอมอาหารโดยการรมควัน  ง  32104  ม.5
2.  การรมควัน
เป็นการถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนควบคู่ไปกับการใช้ควันไฟซึ่งมีสารฟีนนอลและฟอร์มัลดีไฮล์เพื่อให้เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
เช่น  ไส้กรอก  แฮม  เบคอน  มีสีและกลิ่นรสดีขึ้นรวมทั้งป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เหม็นหืนจากการเกิดปฏิกริยาเติมอกกซิเจนของไขมันในอาหาร
โดยควันไฟที่ใช้รมอาหารนั้นได้มาจากการเผาไหม้ของไม้เนื้อแข็งที่ไม่มียางเช่นต้นโอ๊ก  ต้นแอปเปิ้ล  ต้นเมเปิ้ล  แต่ในประเทศไทยนิยมใช้ขี้เลื้อย
ไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ ซังข้าวโพด  และกากอ้อย
การรมควันเนื้อสัตว์เพื่อถนอมอาหารมี  2  วิธี
1.  การรมควันเย็น  เป็นการรมควันที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงมาก  คือไม่เกิน  45
องศาเซลเซียนแต่ใช้เวลาในการรมควันนานตั้งแต่  7-14  วันโดยนำเนื้อสัตว์วางบนตะแกรงลวดข้างใต้สุมไฟโดยใช้ขี้เลื้อยคุมกองไฟควันจะทำให้อากาศแห้ง
2.  การรมควันร้อน  เป็นการรมควันในตู้รมควันหรือในถังโดยใช้อุณหภูมิสูง
ตั้งแต่  60 ถึง 120  องศาเซลเซนเซียสและใช้เวลาในการรมควันประมาณ
3-4  ชั่วโมง  การแขวนเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ไว้ใกล้กับไฟ
ใช้รมควันในระบบปิดสามารถป้องกันไม่ให้ควันกระจายออกไปภายนอกได้
จะทำจนกว่าเนื้อสัตว์สุกสามารถรับประทานได้

 

ใบความรู้ที่ 4.4 เรื่องวิธีการถนอมอาหาร ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  4.4  เรื่องวิธีการถนอมอาหาร  ง  32104  ม.5
การถนอมอาหารมีหลายวิธีดังนี้
1.  การทำให้อาหารแห้ง 
เป็นการถนอมอาหารโดยกำจัดน้ำที่อยู่ในอาหารให้ได้มากที่สุดเพื่อให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตช้าลงและป้องกันการเหม็นหืนของไขมันในอาหาร
การทำให้อาหารแห้งเพื่อการถนอมอาหารมี  2  วิธี
1.  การทำให้อาหารแห้งโดยธรรมชาติ  เป็นการอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือพึ่งลมควบคู่ไปกับการใช้เกลือหมักอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์การถนอมอาหารวิธีนี้มีต้นทุนต่ำ  ทำได้ง่าย  แต่ผลิตภัณฑ์ไม่ค่อยมีคุณภาพเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอัตราเร็วในการทำให้แห้งได้
และป้องกันแมลงมาไต่ตอมไม่ได้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้การถนอมอาหารวิธีนี้คือกล้วยตากแห้ง  พริกแห้ง  เนื้อแดดเดียว  ปลาช่อนแดดเดียว  กุ้งแห้ง
2.  การทำให้อาหารแห้งโดยอาศัยวิธีกลเข้าช่วย  เป้นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์  เช่นการใช้เมมเบรน  การระเหย  การนำความร้อน  การพาความร้อน  การแผ่รังสี  ร่วมกับเทคดนโลยีประเภทเครื่องจักรซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้  เช่นตุ้อบความร้อน  ตู้อบแสงอาทิตย์ไมโครเวปมีคุณภาพสม่ำเสมอ  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีนี้เ่น  ลำไยอบแห้ง
ขนุนอบ  นมผง  กาแฟผง  ไข่ผง
ตัวอย่างการทำอาหารแห้งโดยธรรมชาติ
ปลาช่อนตากแห้ง
วัตถุดิบ  ปลาช่อนขนาดตัวละ  300-400  กรัม    3  ตัว
เกลือป่น   2  ช้อนโต๊ะ
อุปกรณ์  มีด  เขียง  ชามผสม   ตะแกงหรือกระด้ง  ช้อนตวง  เครื่องชั่ง
วิธีทำ    1.  นำปลาช่อนมาขอดเกล็ด  แล่สันหลัง  ผ่ากลางให้ตัปลาแผ่ออก
เอาเครื่องในที่อยู่ในท้องปลาออกให้หมดแล้วล้างน้ำให้สะอาด
2.  ใช้มีดกรีดตามยาวของตัวปลาประมาณ  3-4  บั้งโดยกรีดให้ขาดเป็นร่องแต่อย่ากรีดให้ตัวปลาขาดออกจากกัน
3.  นำเกลือป่นมาทาที่เนื้อปลาให้ทั่วทุกตัว  แล้วเขย่าทิ้งไว้
1-2  ชั่วโมง
4.  นำปลาที่เคล้าเกลือดีแล้ว  มาวางเรียงบนกระด้งหรือกระจาด
ไม้ไผ่  หลังจากนั้นนำไปตากแดดทุกวัน  จนปลาแห้งและแข็งแล้วนำ
ไปเก็บในภาชนะสะอาดที่มีฝาปิดมิดชิด
การตากพืชผักผลไม้มีวิธีการเหมือนตากแห้งเนื้อสัตว์หรือไม่อย่างไร.
ไม่เหมือน  โดยอาหารประเภทผักหรือผลไม้ต้องปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้น
แล้วลวกน้ำร้อนจากนั้นแช่น้ำเย็นจัดพักไว้ก่อนนำมาเรียงบนตะแกรง
หรือกระด้งแล้วพึ่งแดด

 

ใบความรู้ที่ 4.3 เรื่องหลักการถนอมอาหาร ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่ 4.3  เรื่องหลักการถนอมอาหาร  ง 32104  ม. 5
การเน่าเสียของอาหารเกิดจากสิ่งมีชีวิต  วัตถุและปฏิกิริยาทางเคมี
การบรรจุภัณฑ์และการขนย้ายหลักการถนอมอาหารเพื่อให้อาหารเก็บไว้ได้นานที่สุดโดยไม่เน่าเสีย  จึงเป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและ
จัดการสิ่งมีชีวิต  วัตถุและปฏิกริยาเคมี  การบรรจุภัณฑ์และการขนย้ายดังนี้
1.  ป้องงกันหรือยืดเวลาการสลายตัวที่เกิดขึ้นเองของอาหาร
เช่น  ทำลายหรือยั้บยั้งการทำงานของน้ำย่อยในผลไม้หรือเนื้อสัตว์ด้วย
การใช้ความร้อนหรือการใช้ความเย็นการเติมสารเคมีเพื่อป้องกันการเติม
ออกซิเจนในอาหาร
2.  ป้องกันหรือยืดเวลาการย่อยสลายอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์
เช่นทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนนำมาถนอมอาหารด้วยการล้าง
และการกรองเพื่อกำจัดจุลินทรีย์ที่มีอยู่ออกไป  การใช้ความเย็น  การทำ
แห้งหรือเก็บอาหารไว้ในสภาพไร้ออกซิเจนเพื่อลดการเจริญเติบโต
การใช้ความร้อนและรังสีเพื่อทำลายจุลินทรีย์
3.  ป้องกันการเปลี่ยนสี  กลิ่นและรสชาติของอาหาร  ด้วยการใช้
ภานะที่ไม่ทำปฏิกริยาทางเคมีกับอาหาร  เช่น  ภาชนะสเตนเลส  ภาชนะเคลือบ  แก้ว  เป็นต้น

4.  ป้องกันการแตก  บุบ  ฉีกขาด  มีรอยรั่วของบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง
มีขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ที่แน่นหนาปิดสนิทและขนย้ายอย่างระมัดระวัง
ไม่โยน  กระแทกหรือลากบรรจุภัณฑ์ให้เกิดความเสียหาย

 

ใบความรู้ที่ 4.2 เรื่องสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  4.2  เรื่องสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร
รหัสวิชา  ง  32104  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

สาเหตุสำคัญของการเน่าเสียของอาหาร

1. ปฏิกิริยาทางเคมี

ปฏิกิริยาทางเคมีไม่ได้รวมถึงปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ของ จุลินทรีย์ ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของเอนไซม์ที่มีในอาหารตามธรรมชาติ ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เอนไซม์ดังกล่าวจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงลักษณะคุณภาพของอาหารได้ แต่หากเป็นอาหารบางประเภท เช่น อาหารที่ผ่านการแปรรูป ตัวอย่างเช่นอาหารกระป๋อง เอนไซม์จะไม่มีบทบาทในการทำให้อาหารเน่าเสีย เนื่องจากกระบวนการแปรรูปอาหารกระป๋องมีขั้นตอนการทำลายเอนไซม์ในอาหารได้ หากอาหารไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูป เอนไซม์จะทำให้เกิดการย่อยสลายตัวของสารต่างๆที่เป็นองค์ประกอบ เอนไซม์ในผักและผลไม้ช่วยทำให้ผักและผลไม้สุก นิ่ม เละ และสูญเสียลักษณะเนื้อสัมผัส ส่วนเอนไซม์ในเนื้อสัตว์ก็เช่นกัน จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น ความดัน ความแห้ง หรือเกิดจากการบรรจุ การขนส่งทำให้เกิดการแตกหัก รอยช้ำ ฉีกขาด รวมทั้งแมลง หรือการกัดแทะอาหารของสัตว์ชนิดต่างๆ

3. จุลินทรีย์

อาหารส่วนใหญ่เกิดการเน่าเสียจากจุลินทรีย์ได้ 2 ลักษณะ หนึ่งเกิดจากการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีในอาหารหรือปนเปื้อนอยู่ เมื่อเซลล์จุลินทรีย์มีการเจริญ มีการใช้สารอาหาร และเกิดสารประกอบต่างๆ ลักษณะที่สอง เกิดจากเอนไซม์ที่สร้างและหลั่งออกมานอกเซลล์จุลินทรีย์หลังจากเซลล์ตายแล้ว การเน่าเสียจากการเจริญของจุลินทรีย์ หรือเอนไซม์ของจุลินทรีย์จะทำให้เกิดลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น กลิ่นรส เนื้อสัมผัส การเกิดแก๊ส การไหลเยิ้มของของเหลว เป็นต้น โดยทั่วไปการเน่าเสียจากการเจริญของจุลินทรีย์จะเกิดได้รวดเร็วกว่าการเน่า เสียจากเอนไซม์ที่หลั่งออกมาหลังจากเซลล์จุลินทรีย์ตายแล้ว ดังนั้นหากมีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญของจุลินทรีย์ ก็มีผลทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียได้เร็วขึ้น
สาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสีย
การเน่าเสียของอาหาร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของคุณลักษณะคุณภาพของอาหารไปในทางที่ไม่ต้องการ ซึ่งรวมถึงสี กลิ่น รส รูปร่างลักษณะเนื้อสัมผัสและคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดถึงความปลอดภัยการบริโภค สาเหตุของการเน่าเสีย มีดังนี้
–  การเน่าเสียจากสิ่งมีชีวิต
–  การเน่าเสียจากปฏิกิริยาหรือตัวสารเคมี
–  การเน่าเสียจากสาเหตุอื่น ๆ
อาหารที่เกิดการเน่าเสียแบ่งตามความยากง่ายในการเน่าเสียแล้ว จะแบ่งได้ 3 ประเภท
1. อาหารประเภทเน่าเสียยาก คืออาหารที่มีความคงตัวดี มีปริมาณน้ำหรือความชื้นน้อย สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำตาลและแป้งอาหารประเภทนี้มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 12 เก็บไว้ได้นานเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี
2. อาหารประเภทเน่าเสียเร็วปานกลาง คือ อาหารที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก  เช่น  ผัก และผลไม้ที่แก่เต็มที่ ถึงแม้ว่าอาหารส่วนใหญ่จะมีเปลือกหุ้มไว้ จึงทำให้สามารถเก็บอาหารไว้ได้เป็นเวลาค่อนข้างนาน บางชนิดอาจเกิดการเน่าเสียได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
3. อาหารประเภทเน่าเสียเร็ว คืออาหารที่มีปริมาณน้ำมากจะเน่าเสียได้ง่ายมาก เช่น เนื้อสัตว์ ไก่ นมสด และอาหารทะเล มักจะเกิดการเน่าเสียขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

ใบความรู้ที่ 4.1 เรื่องความหมายความสำคัญและประโยชน์ของการถนอมอาหาร ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  4.1  เรื่องความหมายความสำคัญและประโยชน์
ของการถนอมอาหาร  หน่วยการเรียนรู้ที่  4  ง  32104
การถนอมอาหาร หมายถึง การเก็บรักษาอาหารหรือแปรรูปอาหารทำให้อยู่ได้นานโดยไม่บูดเสีย   และผลของการถนอมอาหารจะช่วยยืดอายุอาหาร การเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านสี กลิ่น รส เนื้อ สัมผัส และ ยังคงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไว้ การถนอมอาหารเป็นกระบวนการของการแปรรูป ด้วยวิธีหลายอย่าง ได้แก่ การดอง การแช่อิ่ม การตากแห้งและการเชื่อม เป็นต้น
ประโยชน์ของการถนอมอาหาร  มีดังนี้

1. ทำให้มีอาหารบริโภคตลอดปี และมีอาหารนอกฤดูกาลไว้รับประทาน
2. ช่วยรักษาคุณค่าและคุณภาพของอาหารให้คงทนอยู่ได้นาน
3. ช่วยประหยัดรายจ่ายค่าอาหาร เพราะสามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้
4. ทำให้มีอาหารลักษณะแปลกๆ มีกลิ่น สี รสชาติต่าง ๆ รับประทาน เช่น มะขามแก้ว มะขามอิ่ม
5. ช่วยเหลือเศรษฐกิจของเกษตรมิให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด  และช่วยเหลือในครอบครัวโดยทำเป็นอาชีพเสริม
6. ส่งเสริมการผลิตในครอบครัว ให้ช่วยประหยัดรายจ่ายค่าอาหาร และเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย
7. ทำให้อาหารมีน้ำหนักเบา สะดวกในการเก็บ ส่งไปขายหรือส่งให้ผู้อื่นที่อยู่ห่างไกล
8. ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง อาหารฉายรังสี อาหารแช่เยือกแข็ง
9. ใช้อาหารเหลือให้เกิดประโยชน์ กระบวนการแปรรูปมีวัตถุดิบเหลือทิ้ง แต่ปัจจุบันมีการนำอาหารเหลือมาแปรรูป
10. ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด
ความสำคัญของการถนอมอาหาร
1.  ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้นานขึ้น
2.  ช่วยบรรเทาการขาดแคลนอาหารในช่วงสถานการณ์คับัน
3.  ช่วยให้เกิดการกระจายของอาหารไปยังท้องถิ่นอื่น ๆหรือต่างประเทศ
4.  ช่วยให้มีอาหารบริโภคนอกฤดูกาล
5.  ช่วยป้องกันผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาดและเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
6.  ช่วยเพิ่มความหลากหลายในด้านรสชาติและลักษณะของอาหาร

 

ใบความรู้ที่ 5.3 เรื่องวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  5.3  เรื่องวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
รหัสวิชา  ง  32104  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  เวลา  10  นาที
อุปกรณ์ทั่วไปที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
1.อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมอาหารสังเคราะห์  เช่น  จานเพาะเชื้อ  ไปเปต
กระบอกตวง  ปีกเกอร์  ขวดวัดปริมาตร  ลูกยาง  เครื่องชั่งชนิดละเอียด
2.  อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดและถ่ายเนื้อเยื่อพืช  เช่น  ตะเกียงแอลกอฮอล์
ปเกคีบ  กรรไกร  ใบมีดโกน  หรือมีดผ่าตัดขนาดเล็กตะแกรงวางหลอด
ทดลอง  ขวดแก้ว  ตู้ตัดเนื้อเยื่อ  กล้องจุลทรรศน์
อาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
อาหารสังเคราะห์สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นปัจจัยที่มีความ
สำคัญสูตรอาหารสังเคราะห์ที่นิยมได้แก้สูตร Murashige และSkoog
สูตรอาหารมีธาตุอาหารสำคัญดังนี้
1.  ธาตุอาหารอนินทรีย์  ประกอบด้วยธาตุต่างๆที่จำเป็นสำหรับการเจริญ
เติบโต  2  กลุ่มได้แก่  ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง
1.1  ธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารที่พืชต้องการมากได้แก่  แคลเซียม
แมกนีเซียม  Mg  ไนโตรเจน N  ฟอสฟอรัส P  โพสแทสเซียมK กำมะถันS

 

 

ใบความรู้ที่ 5.2 เรื่องความหมายและความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  5.2 เรื่องความหมายและความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
รหัสวิชา  ง  32104  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  เวลา  10  นาที
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหมายถึงวิธีการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการ
นำชิ้นส่วนของพืชเช่น  ยอดอ่อน  ตา  ใบ  ราก  ลำต้น  คัพภะหรือลออง
เกสรตัวผุ้ไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ที่ประกอบไปด้วย  เกลือแร่  ธาตุ
อาหารต่างๆ วิตามิน  น้ำตาล   และสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์และควบคุมสภาพแวดล้อมเช่นอุรหภุมิ  แสง  ความชื้นจนกระทั่งชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเพาะเลี้ยง
บนอาหารสังเคราะห์พัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์และมีลักษณะเหมือนพันธุ์
ความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีความสำคัญต่อต้นแม่พันธุ์
และมนุษย์หลายประการดังนี้
1.  ใช้พื้นที่ขยายพันธุ์น้อยแต่ได้ปริมาณพันธุ์พืชมากเนื่องจากเพาะพันธุ์
ในห้องปฏิบัติการและภาชนะที่ใช้เป็นขวดแก้ว  ขนาดประมาณ  500  ซีซี
2.  ทำให้การบริหารจัดการทั้งในด้านการวางแผน การผลิตพันธุืพืชและ
การจัดจำหน่ายมีประสิทธิภาพได้ผลิตผลไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ
3.  ช่วยในการผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรคพืชโดยโรคพืชเกิดจากเชื้อแบคทรีเรียหรือไวรัสที่ติดมากับพันธุ์
4.  ช่วยในการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมของพืชเพราะไม่เปลืองพื้นทีและแรงงานที่ใช้ในการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์
5.  ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ทนทานต้านทานหรือทำการชักนำการกลายพันธุ์จนได้พืชพันธุ์เดิมที่ตองการแต่ทนโรคและแมลงศัตรูพืช
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ความสำเร็จของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมี  3  ปัจจัยที่สำคัญ  ดังนี้
1.  ชิ้นส่วนของพืช  ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  ชนิดของพืช  พันธุ์พืช
มีผลต่อความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
2.  อาหารสังเคราะห์  สำคัญในการแบ่งเซลพืชจะเจริญหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
สูตรอาหารและธาตุอาหารหลักที่จำเป็็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้แก่
ไนโตเจน  N ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม  รองลงมาพืชต้องการใน
ปริมาณน้อยเช่น โบรอน  โมลิบตินัม  แมงกานีส  โคบอลต์  สังกะสี
ทองแดงและไอโอดีน
3.  เทคนิคของผู้ปฏิบัติขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ต้องทำภายใต้ปลอดเชื้อเพราะอาหารสมบูรณ์ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ
สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วถ้าปนเปื้อนจุลินทรีย์จะเป็นอุปสรรค
ต่อการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

 

ใบความรู้ที่ 5.1 เรื่องประวัติความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่่อพืช ง 32104 ม.5

ใบความรู้ที่  5.1  เรื่องประวัติความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
รหัสวิชา  ง  32104  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  เวลา   10  นาที
ประวัติความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ในคศ  1902  ฮาเบอร์แลนด์(Haberland) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ได้ทำการทดลองแยกเซลล์พืชมาเลี้ยง  เพื่อจะทำการศึกษาคุรสมบัติ
ของเซลแต่งยังไม่สามารถทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวได้เพียงแต่พบว่า
เซลล์พืชที่นำมาทดลองมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น  ต่อมาใน  คศ
1934  เวนต์และทิเมนค้นพบสารคบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินชนิด
LAAทำให้ไวต์สร้างสูตรอาหารที่สมบูรณ์และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
เลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมากที่สุดได้ใน  คศ  1934 และเกิดการศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับสารอาหารที่ใช้สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชใน  คศ 1940-
1978  โดยพบว่าในน้ำมะพร้าว มีสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ที่เรียกว่า  ไซโตไคนินซึ่งส่งผลให้ในปัจจุบันมีการนำน้ำมะพร้าวไปใช้
ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ของพืชร่วมกับสารควบคุมการเจริญ
เติบโตในกลุ่มออกซินทำให้สามารถชักนำเนื้อเยื่อพืชเพิ่มจำนวนและ
พัฒนาต่อไปเป็นต้นอ่อนได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งค.ศ.  1960  โมเรสMorel
ได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชและประสบความสำเร็จกับต้นรักเร่หรือรักแรกหลังจากนั้นได้ทำการทดลอง
ผลิตต้นกล้วยมากหลอดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอดพบว่าตามปกติจะได้
พืชเพียง  1  ต้นเท่านั้นแต่ครั้งนี้ก้อนเนื้อเยื่อได้พัฒนาเพิ่มปริมาณต้นพืช
เป็นจำนวนมากโดยไม่มีการกลายพันธุ์ส่งผลให้นักวิจัยท่านอื่นๆนำมาศึกษาได้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย
สำหรับประเทศไทย  ใน  พ.ศ.  2484  หลวงนิตยเวชวิศิษฐ์  เป็นคนแรกที่นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  มาใช้ในการขยายพันธุ์พืชในประเทศศไทยโดยเพาะเลี้ยงคัพภะหรือเอ็มบริโอกล้วยไม้เพื่อขยายพันธุ์แบบไม่
อาศัยเพศต่อมาใน พ.ศ.  2510  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  ถาวรวัชรภัย
เป็นผู้เผยแพร่เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้และศาสตราจารย์
ระพี  สาคริก  ได้ทำการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เพื่อขยายพันธุ์
เป็นการค้าและส่งเสริมให้เกิดเป็นอาชีพใหม่  จนกระทั่งกล้วยไม้กลายเป็น
พืชอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ได้เป็นลำดับที่ 3 รองจากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้มีการพัฒนา
ขีดความสามารถให้สามารถขยายพันธุ์อื่นๆในเชิงการค้าได้อย่างแพร่หลาย
เช่น  กล้วย  หน่อไม้ฝรั่ง  ไผ่  เยอบีร่า  หน้าวัว  เบญจมาศ  บอนสี  กระเจียว
กุหลาบ  สตรอว์เบอร์รี่  ขนุน  ไม้สัก  นอกจากนั้นยังมีการนำเทคนิคการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาใช้ในการผลิตพันธุ์พืชปลอดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อ
ไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่มักติดมากับหัวพันธุ์หรือท่อนพันธุ์ซึ่งทำความ
เสียหายให้กับพืชที่ปลูกใหม่ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อนำมาใช้ในการส่งออกและนำมาใช้
เพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืชที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์