Category Archives: ใบความรู้ ง 33106 ม. 6

ใบความรู้ที่ 7 เรื่องสร้างประสบการณ์ในอาชีพ ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 7 เรื่องสร้างประสบการณ์ในอาชีพ ง 33106 ม. 6
การจัดนิทรรศการ
1.  ความหมายของการจัดนิทรรศการ  หมายถึง  การจัดแสดงข้อมูล  เนื้อหา ผลงานต่าง ๆ ด้วยวัสดุสิ่งของอุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมีการวางแผนและออกแบบเพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดู  การฟัง  การสังเกต  การจับต้องและทดลอง
2.  ความสำคัญของนิทรรศการ  เป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดีเนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.คุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ  ผู้จ้ดนิทรรศการต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาหรือการทำความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์มีประสบการณ์ความรู้ความสามารถในวิทยาการแขนงต่างๆ
4.  ประเภทนิทรรศการมีหลายประเภทดังนี้
4.1  นิทรรศการจำแนกตามขนาดของนิทรรศการได้แก่
1  การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์
2.  นิทรรศการทั่วไป
3.  มหกรรมหรือนิทรรศการขนาดใหญ่ระดับชาติหรือนานาชาติ
4.2  นิทรรศการจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการจัด ได้แก่
1.  นิทรรศการเพื่อการศึกษา
2.  นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
3.  นิทรรศการเพื่อการค้า
4.3  นิทรรศการจำแนกตามระยะเวลาในการจัด ได้แก่
1.  นิทรรศการถาวร
2.  นิทรรศการชั่วคราว
3.  นิทรรศการเคลื่อนที่หรือนิทรรศการหมุนเวียน
4.4  นิทรรศการจำแนกตามสถานที่ที่ใช้ในการจัด  ได้แก่
1.  นิทรรศการในอาคาร
2.  นิทรรศการกลางแจ้ง
3.  นิทรรศการกี่งในอาคารกึ่งกลางแจ้ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องธุรกิจยุคใหม่ ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 6 เรื่องธุรกิจยุคใหม่  ง  33106  ม.6
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจสูงมากธุรกิจต่างๆจำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์ของบริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาโดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เนตเข้ามาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินงานทางธุรกิจซึ่งเรียกธุรกิจรูปแบบนี้ว่า
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ
ความหมายของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
พาณิชย์อิเลกทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ(E-Commerce  ย่อมาจาก  Electronic  Commerce)หมายถึงการดำเนินธุรกิจทุกประเภทซึ่งครอบคุมการซื้อขายโฆษณาสินค้า  การบริการ  การโอนเงิน  และการประมูลสินค้าผ่านระบบสื่อสารคมนาคมซึ่งประกอบด้วย  เครือข่ายอินเทอร์เนต  ระบบฐานข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์  ดาวเทียม  โทรศัพท์  โทรสาร
ความเป็นมาของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์
พาณิชย์อิเลกทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซเริ่มมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2513โดยการโอนเงินทางอิเลกทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานในบริษัทใหญ่ๆและสถาบันทางการเงินจนถึงยุคอินเทอร์เนต  พ.ศ. 2533 มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตเป็นจำนวนมาก ระบบการค้าอิเลกทรอนิกส์จึงเติบโตอย่างรวดเร็วใน พ.ศ.  2537-2542 พาณิชย์อิเลกทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซได้รับการยอมรับอย่างมากในสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2544 รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวสนับสนุนการค้าแบบพานิชย์อิเลกทรอนิกส์อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สามารถขยายต่อเนื่องมีการสนับสนุนให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์และสินค้าภายใต้ชื่อ  โอท็อป(OTOP)หรือหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โดยอาศัยช่องทางการจำหน่ายผ่านระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์

 

ใบความรู้ที่ 4.2.1เรื่องน้ำนมถั่วเหลืองและลูกชิ้นไก่ ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 4.2.1 เรื่องน้ำนมถั่วเหลือง  ง 33106 ม.6
ส่วนผสม  
ถั่วเหลืองดิบ  1  กิโลกรัม  น้ำสะอาด  32  ถ้วยตวง  น้ำตาลทรายขาว  1  กิโลกรัม  เกลือป่น  1/2  ช.ช.
อุปกรณ์
เครื่องชั่งอาหาร  เครื่องปั่นน้ำผลไม้  ผ้าขาวบาง  หม้ออลูมิเนียม  ทัพพี  ถ้วยตวงของแห้ง  ถ้วยตวงของเหลว
วิธีทำ
1.  เลือกสิ่งเจือปนออกจากถั่วเหลืองดิบ แล้วนำถั่วเหลืองดิบไปล้างให้สะอาด สงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
2. นำถั่วเหลืองที่ล้างสะอาดแล้วไปคั่วให้หอมแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน  3  ชั่วโมง
3. นำถั่วเหลืองที่แช่น้ำร้อนไว้มายีเอาเปลือกออกล้างให้สะอาดสงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
4. แบ่งถั่วเหลืองพอประมาณใส่เครื่องปั่นน้ำผลไม้  เติมน้ำสะอาดพอปริ่ม ๆถั่วเหลืองปั่นให้ละเอียดทำเช่นนี้จนถั่วเหลืองหมดจากนั่นกรองด้วยผ้าขาวบางแยกกากทิ้งไปเติมน้ำสะอาดที่เหลืองลงไปต้มกับนมถั่วเหลือง เปิดไฟปานกลางหมั่นคนตลอดเวลา พอเดือดยกลงตักเสิร์ฟร้อน ๆ หรือทิ้งให้เย็นจึงกรอกลงในขวดปิดฝานำเข้าตู้เย็น
ข้อเสนอแนะ
1. ถ้าจะให้น้ำนมถั่วเหลืองมีรสชาติหอม ไม่เฝื่อน เวลาตัมน้ำนมถั่วเหลืองให้ใส่ใบเตยทั้งใบต้มไปด้วย เมื่อจะตักเสิร์ค่อยตักใบเตยทิ้ง
2. การต้มน้ำนมถั่วเหลืองจะต้องต้มให้เดือด
ลูกชิ้นไก่
เครื่องปรุง  เนื้อสันในไก่บดละเอียด  100  กรัม  พริกไทย  1/2  ช้อนชา  เกลือ  1  ช้อนโต๊ะ  น้ำเปล่า  1  ช้อนโต๊ะ
อุปกรณ์  เครื่องบดอาหาร  เครื่องชั่งอาหาร  ช้อนตวง  หม้ออะลูมิเนียม  กระชอน  ชามผสมอลูมิเนียม  ถุงพลาสติก  กรรไกร
วิธีทำ
1. ผสมเนื้อไก่กับพริกไทยให้เข้ากัน   2. นวดเนื้อไก่ให้เหนียวแล้วค่อย ๆ เติมน้ำเปล่าผสมเกลือลงไป  จนกว่าน้ำจะหมด  3. นำเนื้อไก่ไปแช่ในช่องแช่แข็ง  40-60  นาทีแล้วนำออกมานวดอีกครั้ง
4. บรรจุเนื้อไก่ที่นวดได้ที่ในถุงพลาสติกตัดก้นถุงไว้เล็กน้อย  ถ้าตัดออกกว้างลูกชิ้นจะมีขนาดใหญ่
5. เทน้ำสะอาดใส่หม้อ  ตั้งไฟให้เดือด แล้วบีบเนื้อไก่ที่อยู่ในถุงพลาสติกลงไปในหม้อโดยเอาช่วงปลายก้นถุงที่ตัดมุมออกไว้ตรงง่ามมือระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ  เอานิ้วห้วแม่มือดันเข้าหานิ้วชี้เนื้อไก่จะหลุดออกมาเป็นก้อน
6. พอ0ลูกชิ้นไก่สุก  ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ตักขึ้นแช่น้ำเย็นจัดแล้วใช้กระชอนตักขึ้นให้เสด็จน้ำ
ข้อเสนอแนะ
ขณะนวดเนื้อไก่  ควรใช้มือจุ่มน้ำผสมเกลือบ่อย ๆ เนื้อไก่จะได้ไม่ติดมือ

ใบความรู้ที่ 3.3 ทักษะการจัดการงานธุรกิจเรื่องการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3.3 เรื่องการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ง 33106 ม.6
1. ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ SMEs
ธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี(Small  and Medium  Enterprises ) คือธุรกิจที่ดำเนินงานโดยอิสระ มีผู้บริหารคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลเล็ก ๆ เท่านั้นและมีขอบเขตการดำเนินงานสอดคล้องกับวิถึชีวิตของคนในชุมชน มีจำนวนพนักงาน  ยอดจำหน่าย และทรัพย์สินของธุรกิจที่จำกัด
ความสำคัญของธุรกิจ SMEs
1.  ทำให้บุคคลเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ
2. ลดอัตราคนว่างงานในชุมชน
3. ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น
4. ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า
ประเภทของธุรกิจ  SMEs
แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ธุรกิจการผลิต  เปลี่ยนรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค เช่นธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา  ธุรกิจเครื่องจักสาน
2. ธุรกิจค้าปลีก  เป็นการขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง เช่นธุรกิจร้านขายยา  ธุรกิจร้านขายต้นไม้
3. ธุรกิจค้าส่ง เป็นธุรกิจที่มีพ่อค้าคนกลางทำหน้าที่ส่งสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก เช่น ตลาดขายเสื้อผ้า  ตลาดขายดอกไม้
4. ธุรกิจบริการ เป็นธุรกิจจำหน่ายสินค้าในรูปของการบริการให้กับผู้บริโภค เช่น  ธุรกิจการซ่อมรถยนต์  การท่องเที่ยว
ข้อดีและข้อจำกัดของธุรกิจSMEs 
ธุรกิจทุกประเภทย่อมมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าธุรกิจSMEs เริ่มต้นด้วยเงินทุนน้อยและจำนวนคนน้อยเป็นการเริ่มประกอบการที่ไม่ยุ่งยากแต่ระหว่างการดำเนินงานตลอดจนโอกาสการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ยังมีปัญหาเช่นเดียวกับธุรกิจทั่วไปโดยเฉพาะข้อจำกัดเรื่องเงินดังนั้นก่อนตัดสินใจลงทุนผู้ประกอบการควรศึกษาปัจจัยต่างที่จะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวเพื่อจะได้รับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน
ข้อดีของธุรกิจ SMEs
1. การบริหารมีความเป็นอิสระเพราะอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ผู้ประกอบการเพียงผู้เดียว
2. การเริ่มประกอบธุรกิจประเภทนี้ทำได้ง่าย
3. ใช้เงินทุนในการประกอบธุรกิจน้อย
4. ความสัมพันธุ์ของคนในองกรธุรกิจมีความใกล้ชิดผูกพันธ์กันแน่นแฟ้น
5. สามารถปรับปรุงธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
ข้อเสียของธุรกิจ SMEs
1. ขาดแคลนแหล่งเงินทุนสนับสนุน
2. ผู้ประกอบการต้องทำงานหนักมาก
3. โอกาสการเติบโตไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ทำได้ยาก
4. ต้นทุนการผลิตสูงเพราะมีจำนวนการผลิตต่ำ
5. ธุรกิจมีขนาดเล็ก จึงทำให้ขาดพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

ใบความรู้ที่ 3.3 ทักษะการจัดการงานธุรกิจเรื่องการบัญชี ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3.3  งานธุรกิจ เรื่องการบัญชี  ง 33106  ม.6
การบัญชี
การบัยชี คือการบันทึกข้อมูลทางการเงินของการดำเนินงานทางธุรกิจอันเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในการวางแผนการดำเนินงาน การลงทุนและการจัดหาเงินในอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคุมรักษาสินทรัพย์ของธุรกิจและช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานตลอดจนปัญหาการทุจริตทางการเงินอืกด้วย
1. องค์ประกอบการจัดทำบัญชี
การจัดทำบัญชีเป็นการรายงานทางการเงินที่เรียกว่างบการเงินโดยประเภทของงบการเงินที่สำคัญแบ่งได้  3 งบคือ
1.1 งบดุล หมายถึง งบแสดงฐานะทางการเงินขององค์กรธุรกิจ  ณ วันใดวันหนึ่งตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปซึ่งจะแสดงให้ทราบว่า มีสินทรัพย์  หนี้สินและส่วนของเจ้าของจำนวนเท่าใด
1.2  งบกำไรขาดทุน หมายถึงรายงานที่แสดงถึงความสำเร็จหรือผลการดำเนินงานของกิจการในการดำเนินงานสำหรับงวดเวลาหนึ่งโดยจะแสดงให้ทราบถึงรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีนั้น
1.3 งบกระแสเงินสด หมายถึงงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจะแสดงแหล่งที่ใช้เงินสด เงินสดที่เพิ่มขึ้นลดลง  กิจกรรมลงทุน ซึ่งข้อมูลในงบกระแสเงินสดจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินสภาพคล่องของกิจการได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนการจัดทำบัญชี 
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีมี  5  ขั้นตอนดังนี้
1. รวบรวมและวิเคราะห์  รวบรวมรายการทางการเงินทีเกิดขึ้นในแต่ละวันทั้งรายการการเงินภายในองค์กรและส่วนของการเงินที่อยู่ระหว่างองค์กร
2. บันทึกรายการทางการเงิน เป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาจดบันทึกโดยการจดบันทึกเรียกว่าการจดบันทึกขั้นต้นต้องปฏิบัติอย่ามีระเบียบและรอบครอบ
3. จำแนกประเภทรายการทางการเงิน เป็นการแยกประเภทรายการขั้นตอนรายการไหนเหมือนกันเอาไว้ด้วยกันเอาไว้ในสมุดบัญชีเดีย0วกันเพื่อให้ทราบว่ามูลค่ารวมของรายการแต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไร
4. สรุป  หลังจากจดบันทึกและจำแนกประเภทรายการการเงินในช่วงเวลาหนึ่ง ๆแล้วจึงนำมาสรุป
5.  รายงาน เป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลโดยสรุปมาจัดทำเป็น  งบการเงินซึ่งสามารถนำงบการเงินมาวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการเงินในอนาคตของการดำเนินงานทาธุรกิจต่อไป
ตัวอย่างการจัดทำบัญชี
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำบัญชีคือ การรายงานทางการเงินซึ่งจัดทำในรูปของงบการเงินมีทั้งหมด  3  งบคือ งบดุล  งบกำไรขาดทุน  และงบกระแสเงินสด ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง  งบการเงิน  2 งบแรก งบดุล  และ งบกำไรขาดทุน
(อ่านรายละเอียดในหนังสือการงาน ม. 6 สำนักพิมพ์  อจท  หน้า  131-132)
ธุรกิจร้านคอมพิวเตอร์
งบดุลย์
ระยะเวลา  1  ปี  สิ้นสุดวันที่  31  ธันวาคม พ.ศ, 2558

ใบความรู้ที่ 3.3 ทักษะการจัดการงานธุรกิจเรื่องธุรกิจออนไลน์หรือพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3.3 เรื่องธุรกิจออนไลน์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิออนไลน์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Elechonic  commerce)หมายถึงการดำเนินธุรกิจผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ทั้งทางโทรศัพท์  โทนทัศน์ วิทยุ ในปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รับความนิยม
อย่างแพร่หลายมากที่สุดคือระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตมีจุดประสงค์เพื่อการตลาดให้กับผู้บริโภค ให้ความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้าช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจในเรื่องสถานที่ พนักงานและลดข้อจำกัดของระยะทางระหว่างผู้ขายกับผู้บริโภค
ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ
1.  สำรวจโอกาสทางการตลาดของสินค้าที่จะนำไปดำเนินธุรกิจ
2. กำหนดกลุ่มลูกค้าที่จะนำสินค้าไปขาย   3. วางแผนกลยุทธ์การขายพร้อมทั้งพัฒนาเว็บเพจดึงดูดลูกค้า
4. จดทะเบียนซื้อโดเมน นำเวบเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนตและประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
5. ติดตามผล  และปรับปรุงเนื้อหาเว็บไซต์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ดี
เป้าหมายสูงสุดของการดำเนินการทางธุรกิจคือการประสบความสำเร็จโดยได้รับผลกำไรหรือสิ่งอื่นๆตอบแทน
1. มีความรู้   2. มีความเชื่อมั่น   3. มีความซื่อสัตย์สุจริต   4.  มีความสามารถในการบริหาร  5. มีความกระตือรือร้น
กระบวนการของงานธุรกิจ
1. กระบวนการผลิตสินค้า  เลือกทำเลที่ตั้งแหล่งผลิต  วางแผนการผลิตอย่างรัดกุม  การตรวจสอบสินค้า
2. กระบวนการบริหารเงินทุน มี  2  แหล่ง  1. เงินทุนตนเอง  2. เงินทุนที่กุู้ยืมจากแหล่งการเงินอื่นๆ
3. กระบวนการบริหารกำลังคน 3.1 การวางแผนกำลังคน  3.2 ฝึกอบรมคนในองค์กรอยู่เสมอ  3.3 มีการประเมินผล
4. กระบวนการบริหารการตลาด  4.1 ผลิตภัณฑ์  4.2 ราคากำหนดให้เหมาะสม  4.3 การจัดจำหน่าย
4.4  การส่งเสริมการขาย การโฆษณา  การให้ส่วนลด  การให้ของแถม
การบริหารเงินงบประมาณ
ประเภทของงบประมาณ แบ่งออกเป็น  2  ประเภท
1. งบประมาณการดำเนินการทางธุรกิจ  2. งบประมาณการเงิน
ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ
1. กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานทางธุรกิจ  2. ประเมินสถานทางการเงินขององกรจากข้อมูลงบประมาณทั้งหมดเพื่อให้ทราบทิศทางในการนำเงินงบประมาณไปลงทุน   3. แยกประเภทงบประมาณเป็น  2  ประเภทคืองบประมาณการดำเนินงานทางธุรกิจและงบประมาณการเงิน  4. จัดทำงบประมาณเกี่ยวกับการวางแผนรายรับ-รายจ่าย
5. ดำเนินการทางธุรกิจตมแผนธุรกิจ  6. ตรวจสอบและเปรียบเทียบเงินงบประมาณสม่ำเสมอทุก 1 เดือน  3  เดือน
ตัวอย่างการจัดทำงบประมาณ
ธุรกิจคอมพิวเตอร์(งบประมาณเงินสด)
ระยะเวลา  3  เดือน  สิ้นสุดเดือนสิงหาคม  2558(ดูตารางหน้า 129 หนังสือการงาน ม.6 อจท)

 

ใบความรู้ที่ 3.3 เรื่องรูปแบบประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3.3 เรื่องรูปแบบประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่  3.3  เรื่องรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รหัสวิชา  ง  33106  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เวลา   5  นาที
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความจำเป็นเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหรือผู้ผลิต  ผู้บริโภคหรือประชาชนและรัฐบาลจึงแบ่งรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามความสัมพันธ์ของคุ่ค้าได้  5  รูปแบบดังนี้
1.  ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ  เป้นรูปแบบที่ผู้ประกอบการมุ่งเน้นบริการแก่ผู้ปรระกอบการด้วยกันในลักษณะตลาดกลางการค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่มีพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลเจรจาตกลงหรือขายสินค้าและบริการต่างๆผ่านช่องทางที่เปิดให้บริการ
2.  ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค  เป็นรูปแบบธุรกิจที่มุ่งเน้นให้บริการแก่ผู้บริโภคในด้านการโฆษณาแสดงสินค้าและบริการ  สั่งซื้อ  ชำระเงิน  จัดส่งสินค้าและบริการ  เช่น  ซีดีเพลง  วีดีโอ  เสื้อผ้า  เครื่องสำอาง  อาหารตามสั่งดิลิเวอร์ตลอดจนบริการหลังการขายรวมถึงการแลกเปลี่ยนเงินตรา หลักทรัพย์ทองคำหรือน้ำมันทางอิเล็กทรอนิกส์
3.  ผูู้บริโภคกับผู้บริโภค  เป็นรูปแบบธุรกิจติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร  สินค้าและบริการในกลุ่มผู้บริโภคด้วยกันเช่นการซื้อชายสินค้ามือสอง
4.  ผู้ประกอบการกับรัฐบาล  เป็นรูปแบบธุรกิจเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของหน่วยงานรัฐบาลจากผู้ประกอบการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
5.  รัฐบาลกับผุ้บริโภค  เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ไม่หวังผลกำไรแต่เน้นการบริการที่รัฐบาลมีให้แก่ผู้บริโภคหรือประชาชน  เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เนต  การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์  การติดต่อทำทะเบียนของกระทรวงมหาดไทย  การให้ดาวโหลดแบบฟอร์มต่างๆไปใช้
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ
1.  เพิ่มยอดขายแก่ธุรกิจ
2.  สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ทั่วถึง
3.  เพิ่มประสิทธิภาพภายในระบบสำนักงาน
4.  เพิ่มสินค้าและบริการใหม่ได้ง่าย    5.  ลดภาระสินค้าคงคลัง
6.  ลดเวลาในการผลิต  7.  ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรและการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ
8.  ลดความผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้า ชำระค่าสินค้าและบริการและการจัดส่ง
ประโยชน์ต่ผู้บริโภค
1.  มีร้านค้าและสินค้าให้เลือกมากมาย
2.  ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการเลือดซื้อสินค้าและบริการได้ตลอด  24  ชั่วโมง
3.  มีข้อมูลสินค้าและบริการเพียงพอสำหรับการเปรียบเทียบคุณภาพและราคาเพื่อตัดสินใจเลือกวื้อสิ่งที่ดีที่สุด
4.  ลดปัญหาพ่อค้าคนกลางที่ทำให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น

ใบความรู้ที่ 3.3 เรื่องธุรกิจยุคใหม่ธุรกิจออนไลน์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(ความหมายประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ) ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3 เรื่องธุรกิจยุคใหม่(ความหมายประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3 เรื่องความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ง  33106  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  เวลา  5  นาที
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมากธุรกิจต่างๆจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา
และปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์ของบริษัทให้ทันสมัยตลอด
โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์  และเครืออข่ายอินเทอร์เข้ามาใช้ในกิจการเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุดต่อการดำเนินการทางธุรกิจซึ่งเราเรียกะุรกิจรูปแบบนี้ว่า  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce  ย่อมาจากElectronic  Commerce) หมายถึงการดำเนินธุรกิจทุกประเภทซึ่งครอบคลุมการซื้อขายการโฆษณาสินค้า  การบริการ  การดอนเงินและการประมูลสินค้าผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งประกอบด้วย  เครือข่ายอินเทอรืเนต  ระบบฐานข้อมูลและอุปกรณืเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เช่น  คอมพพิวเตอร์  ดาวเทียม  โทรศัพท์  โทรสาร  เป็นต้น
ประวัติความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์หรืออีคอมเมิร์ซเริ่มมีขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2513  โดยการโอนเงินทางอิเล้กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของบริษัทใหญ่ๆและสถาบันการเงินต่อมามีการแรกเปลี่ยนข้อมุลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลรูปแบบอื่นเพิ่มมากขึ้น  เช่นการส่งข้อมูลระหว่างสถาบันทางการเงินกับผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งกับผุ้ค้าปลีกต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบสื่อสารถึงซอฟต์แวร์ต่าง ๆเพิ่มขึ้นจนถึงยุคอินเทอร์เนตเมื่อ  พ.ศ.  2533 มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตเพิ่มขึ้นระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์จึงเติบโตอย่างรวดเร็วและใน  พ.ศ. 2537-2542  พาณิชยือิเล็กทรอนนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซได้รับการยอมรับและและความนิยมอย่างมากในประเทศสหร้ฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทย  ประมาณพ.ศ.  2544  รัฐบาลไทยได้พยายามส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวและสนับสนุนการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสม่ำเสมอโดยฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สามารถขยายต่อได้อย่างต่อเนื่องและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศมีการสนับสนุนให้เกิดการสร้างผลิตภัณณฑ์และสินค้าภายใต้ชื่อ  โอท็อป(OTOP)หรือหนึ่งตำบลหนึ่่งผลิตภัณฑ์โดยอาศัยช่องทางจำหน่ายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วัตถุประสงค์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจมีจุดประสงค์ดังนี้
1.  เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการให้ถึงผุ้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและการขายสินค้าให้มีกำไรมากกว่าการขายรูปแบบเดิม
3.  เพื่อประหยัดเวลาในการซื้อขายสินค้าและบริการและขั้นตอนทางการตลาด
4.  เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และนำเสนอข้มูลสินค้าและบริการจำนวนมากให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
5.  เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของผุ้บริโภคนำมาใช้ในการวิจัยและพัมนาสินค้าและบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาด
6.  เพื่อให้สมาชิกสามารถปรับปรุงข้อมูลสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
7.  เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆในเรื่องของความทันสมัย

 

 

ใบความรู้ที่ 3.3 เรื่องทักษะการจัดการงานธุรกิจ ง 33106 ม.6

ใบความรู้เรื่องทักษะการจัดการงานธุรกิจ  ง 33106 ม.6
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  อธิบายความเป็นมาและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกิจได้
2.  บอกกระบวนการของงานธุรกิจได้
3.  อธิบายการบริหารงบประมาณได้
4.  อธิบายเกี่ยวกับการบัญชีได้
5.  บอกการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้
1.  ความหมายของธุรกิจ
ธุรกิจ(Business) หมายถึงการดำเนินกิจกรรมอันเกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรมาผ่านกระบวนการผลิต
บริการและจัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยมีผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการ
2.  ความสำคัญของธุรกิจ
2.1  เสริมสร้างเศรษฐกิจของชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
2.2  ทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
2.3  ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น
3.  เป้าหมายของการดำเนินงานทางธุรกิจ
3.1  เพื่อผลิตสินค้าและให้บริการแก่ผู้บริโภค  3.2  เพื่อต้องการผลตอบแทนเป็นกำไร
3.3  เพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจ   3.4  เพื่อให้บริการแก่ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ
3.5  เพื่อต้องการความเป็นอิสระและอำนาจในการทำงาน
4.  องค์ประกอบของการดำเนินการทางธุรกิจ
4.1  บุคคลหรือแรงงาน   4.2  เงินทุน    4.3  อุปกรณ์หรือวัตถุดิบ  4.4  การจัดการดำเนินงานธุรกิจ
5.  รูปแบบของการดำเนินการทางธุรกิจ
5.1  รูปแบบที่แบ่งตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์สามารถแบ่งได้เป็น  3  แบบดังนี้
1.การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว  ธุรกิจขนาดเล็กมีเจ้าของคนเดียวพบมากในกิจการร้านค้าปลีก
มีข้อดีผู้ประกอบการมีอิสระในการตัดสินใจการเสียภาษีเสียแบบบุคลลธรรมดาเท่านั้น
ข้อเสียธุรกิจแบบนี้ก้าวหน้าน้อยมียอดขายน้อยมีพนักงานน้อยมาก
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เป็นธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่  2  คน ขึ้นไปทำสัญญาร่วมกันอันเกิดจากต้องการ
เงินทุนในการดำเนินธุรกิจจำนวนมากอาจเกิดจากผู้ประกอบการขาดความสามารถจึงก่อให้เกิดร่วมทุน
ร่วมความคิดจนเกิดเป็นห้างหุ้นส่วนจำแนกได้  2  ประเภทคือ
2.1  ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร่วมหุ้นทุกคนมีความรับผิดชอบในหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัด
และห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเรียกว่า  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
2.2  ห้างหุ่นส่วนจำกัด  เป็นห้างหุ้นส่วนที่แบ่งหุ้นส่วนออกเป็น  2  ประเภทได้แก่  หุ้นที่มีหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนโดยจำกัดความรับผิดชอบในหนี้ของห้างหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนรับผิดชอบในหนี้ร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องจดทะเบียนกัยนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดให้ถูกต้องตามกฏหมายสำหรับข้อดีคือมีเงินทุนมากองค์กรประกอบด้วยผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลายทำให้โอกาสก้าวหน้ามีมากข้อเสียมีคนหลายคนอาจมีความล่าช้าในการตัดสินใจและอาจเกิดความขัดแย้งได้
3.  บริษัทจำกัด  เป็นธุรกิจที่แบ่งเงินทุนเท่าๆกันประกอบจำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คนถึง 100 คนโดยผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบหนี้ของหุ้นส่วนในจำนวนจำกัดผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นเจ้าของไม่จำเป็นต้องเข้าไปบริหารบริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะคือ 1. บริษัทเอกชนจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มีผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 100  คนและไม่น้อยกว่า 7 คน  2. บริษัทมหาชนจำกัดซึ่งมีผู้ถือหุ้นมากกว่า 100 คนขึ้นไปผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ๆถือหุ้นได้ไม่เกิน 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดถือหุ้นรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 50 ของจำนวนหุ้นจำหน่ายทั้งหมด ข้อดีเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ระดมเงินทุนจากการจำหน่ายหุ้นมีสินค้าจำนวนมากขยายธุรกิจได้รวดเร็วต้องใช้พนักงานและผู้บริหารมืออาชีพต้องมีการวางแผนอย่างรอบครอบเพราะมีการแข่งขันสูง
2. รูปแบบที่แบ่งตามลักษณะของการดำเนินงาน  มีดังนี้
2.1 ธุรกิจการผลิตวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป  ผลิตสินค้าสำเร็จรูปเช่นธุรกิจทอผ้า  ผลิตอาหาร กระเป๋า
2.2 ธุรกิจการบริการ  เช่น เสริมสวย  บริการซักรีด  การท่องเที่ยว
2.3 ธุรกิจพาณิชยกรรม  เป็นธุรกิจทำหน้าที่คนกลางในการจำหน่ายสินค้า

ใบความรู้ที่ 3.2เรื่องทักษะการจัดการการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์(งานเกษตร) ง 33106 ม.6

ใบความรู้ที่ 3.2 เรื่องการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์  หน่วยการเรียนรูู้ที่  3 ทักษะการจัดการ ง 33106 ม.6
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  บอกความหมายความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์และคุณลักษณะทั่วไปของ
ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ได้
2.  บอกแนวทางในการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ได้
3.  บอกประวัติความเป็นมาของพันธุ์ไก่พื้นเมืองและประโยชน์ได้
4.  บอกสถานที่ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและการจัดหาพันธุ์ไก่พื้นเมืองได้
5.  อธิบายลักษณะที่ดีของโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้
6.  บอกอาหารน้ำและวิธีเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้
7.  อธิบายโรคและการป้องกันโรคที่เกิดกับไก่พื้นเมืองได้
1.  ความหมายของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์หมายถึงการเลี้ยงสัตว์แล้วนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยง
โดยผู้เลี้ยงจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เข้าใจหลักการตลาดสามารถบริหารจัดการ
และจัดจำหน่ายได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้การเลี้ยงสัตว์มีกำไรไม่ขาดทุน
2.  ความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
2.1  ด้านการดำรงชีวิตและครอบครัวผู้เลี้ยงสนุกสนานเพลิดเพลินเกิดความภาคภูมิใจสมาชิก
ในครอบครัวในครอบครัวมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความสามัคคีนำรายได้มาซื้อเครื่องอำนวยความสะดวก
3.2  ด้านอาชีพ  มีธุรกิจขนาดกลาง  ใหญ่ ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้สร้างอาชีพคนในท้องถิ่น
3.  คุณลักษณะทั่วไปของผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
3.1  มีความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่จะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นอย่างดี
3.2  มีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงสัตว์   3.3  มีความขยั่นหมั่นเพียร
3.4  มีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ    3.5  มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค
4.  แนวทางการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
4.1  สำรวจความต้องการของตลาด  4.2  ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่ต้องการเลี้ยง
4.3  วางแผนการเลี้ยงสัตว์    4.4  จัดหาพันธุ์สัตว์มาเลี้ยง   4.5  จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
4.6  จัดการผลผลิตอย่างมืออาชีพ   4.7  ขนส่งอย่างปลอดภัย
5.  ประวัติความเป็นมาของการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง
ไก่พื้นเมืองมีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในทวีปเอเซียไก่พื้นเมืองมีหลายสายพันธุ์  เช่นไก่แจ้
ไก่อู  ไก่ตะเภา  ไก่เบตรง  ไก่ชน  ส่วนใหญ่ไก่พื้นเมืองจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนสังเกตุจาก
แม่ไก่จะมีขนดำ  หน้าดำ  แข้งดำ  และหงอนหินแม่พันธุ์บางตัวสีทองแต่ก็หงอนหิน
6.  ประโยชน์ของไก่พื้นเมือง
6.1  ได้อาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อไก่   6.2  ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารเลี้ยงไก่
6.3  สร้างอาชีพและรายได้จากการขายลูกไก่  เนื้อไก่  ไข่ไก่  มูลไก่  ขนไก่
7.  การเลือกสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง
7.1  ควรเป็นที่เนินระบายน้ำได้ดี   7.2  ใกล้แหล่งน้ำจืด  7.3  ไม่ควรเป็นสถานที่เคยเป็นโรคระบาด
7.4  ควรอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน  7.5  อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม   7.6  ควรมีต้นไม้ไม่มีขโมย
8.  การจัดหาไก่พื้นเมือง
ควจพิจารณาดังนี้
8.1  เลี้ยงพันธุ์ไก่แข็งแรง   8.2  เลือกพันธุ์ไก่ลูกดก  8.3  ซื้อไก่รุ่นมาเลี้ยงแต่ราคาแพง
8.4  ซื้อลูกไก่มาเลี้ยงราคาถูกแต่นานโต   8.5  ซื้อไก่ที่มีเชื้อมาฟักเอง