Category Archives: การงาน ม. 6 ง 33106

ใบความรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการทำงานในชีวิตประจำวัน รายวิชาการงาน 6 ง 33106 ม.6

ให้นักเรียนอ่านใบความรู้ที 1.1 -1.4 และสรุปองค์ความรู้เรื่อง  การทำงานในชีวิตประจำวัน
ใบความรู้ที่  1.1  เรื่องการทำงานในชีวิตประจำวัน
ใบความรู้ที่ 1.2  เรื่องความหมายและความสำคัญของงานในชีวิตประจำวัน
ใบความรู้ที่ 1.3  เรื่องการเลือกใช้ดูแลเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
ใบความรู้ที่ 1.4  เรื่องวิธีดูแลรักษาเสื้อผ้า

ตัวชี้วัด/ชื่อหน่วยการเรียนรู้/สาระสำคัญ/กำหนดคะแนนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 รหัสวิชา ง 33106 ม.6

ตัวชี้วัดประจำหน่วยรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  6  รหัสวิชา  ง  33106  ม. 6
1.อธิบายหลักการทำงานในการดำรงชีวิตประจำวันได้
2.สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะการทำงานร่วมกัน
3.มีทักษะการจัดการในการทำงาน
4.มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
5.มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน
และใช้พลังงานทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
6.อธิบายเทคโนโลยีออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งของเครื่องใช้หรือเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
ต่อชีวิตสังคมสิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
7.อภิปรายแนวทางเข้าสู่อาชีพเลือกและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพมีประสบการณ์ในอาชีพ
ที่ถนัดและสนใจมีคุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
1.การทำงานในชีวิตประจำวัน (เวลา  2  คาบ  5  คะแนน)
สาระสำคัญ
1.1  ความหมายของงานในชีวิตประจำวัน
1.2  หลักในการทำงานในชีวิตประจำวัน
1.3  การเลือกใช้ดุแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
2.ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน(เวลา  3  คาบ  10  คะแนน)
2.1  ความหมายความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
2.2  ความหมายและความสำคัญของทักษะการทำงานร่วมกัน
2.3  การประดิษฐ์เครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย(การร้อยมาลัยชนิดต่าง ๆ งานใบตอง งานแกะสลัก  เครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย)
2.4  หน้าที่และบทบาทตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว  โรงเรียน และชุมชน
3.ทักษะการจัดการ(เวลา  3  คาบ  15  คะแนน)
3.1  การดูแลรักษาทำความสะอาดและจัดตกแต่งบ้านและโรงเรียน
3.2  งานช่าง
3.3  งานเกษตร
3.4  งานธุรกิจ
4.ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน(เวลา  3  คาบ  10  คะแนน)
4.1  การตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้า
4.2  การเก็บการถนอมและเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรด้านการแปรรูป
4.3  การติดตั้ง  ประกอบ  ซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและโรงเรียน
5.สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการทำงาน(เวลา  1  คาบ  10  คะแนน)การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5.1  สมรรถนะ  คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์  ค่านิยม  12  ประการ  คุณธรรมจริยธรรม สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
5.2  ทักษะการแสวงหาความรู้(ทำรายงานข้อสอบ  O-net  ข้อสอบประจำหน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
6.การออกแบบและเทคโนโลยี(เวลา  2  คาบ  10  คะแนน)
6.1  เทคโนโลยีและการออกแบบ(ดูการกำหนดคะแนนจากภาระงานและกำหนดส่งงานตามปฏิทินงาน  ง  33106)
7.การอาชีพ(เวลา  3  คาบ  จำนวน  10  คะแนน)
7.1  แนวทางเข้าสู่อาชีพ
7.2  การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ
7.3  ประสบการณ์ในอาชีพ
7.4  คุณลักษณะที่ดี

 

ตัวชี้วัด/ภาระงาน/คะแนน/กำหนดส่งงานรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 รหัสวิชา ง 33106 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน ง 33106 ม.6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน  ง 33106 ม.6
สาระการเรียนรู้
1. การตัดเย็บเสื้อผ้าและดัดแปลงเสื้อผ้า
-ความสำคัญของการตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เอง
-อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้า
-ขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้า
-การใช้จักรเย็บผ้า
-วิธีการใช้และการบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า
-การตกแต่งและการดัดแปลงเสื้อผ้า
-ขั้นตอนการตกแต่งและดัดแปลงเสื้อผ้า
-การต้ดเสื้อคอกลมแขนในตัวและการตัดกางเกงลำลอง
2. การเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรด้วยการแปรรูป
-ความหมายความสำคัญของการแปรรูปอาหาร
-ความสำคัญของการแปรรูปอาหาร
-หลักการแปรรูปอาหาร
-กระบวนการแปรรูปอาหาร
-การจัดจำหน่ายอาหารแปรรูป
-การทำอาหารแปรรูป
3. การติดตั้ง ประกอบซ่อมแซมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและโรงเรียน
(ซ่อมไว้ใช้ได้นาน)
-ความรู้เกี่ยวกับกระติกน้ำร้อน
-ส่วนประกอบของกระติกน้ำร้อนอัตโนมัติ
-หลักการทำงานของกระติกน้ำร้อน
-วิธีใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ
-วิธีทำความสะอาดและบำรุงรักษากระติกน้ำร้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ
-ข้อแนะนำในการใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าอัตโนมัติอย่างปลอดภัย
-การซ่อมแซมกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ

แบบทดสอบหน่วยที่ 2 เรื่องความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกัน ง 33106 ม.6

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ข้อใดคือความหมายของความคิดสร้างสรรค์.
ก.  กระบวนการคิดของสมองในเรื่องที่ผ่านมา
ข.  กระบวนการคิดของสมองในเรื่องอาชีพในอนาคต
ค.  กระบวนการคิดของสมองที่คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมและสามารถใช้ประโยชน์ได้
ง.  ถูกทุกข้อ
2.การคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งโดยการนำกล่องนมประดิษฐ์เป็นหมวกปีกกว้าง
เพื่อหยากใส่สบายควรบุผ้าภายในตัวหมวกเป็นการคิดในลักษณะใด.
ก.  ความคิดริเริ่ม    ข.  ความคล่องในการคิด
ค.  ความยืดหยุ่นในการคิด    ง.  ความคิดละเอียดลออ
3.ลักษณะความคิดแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดเดิมเช่นการเลี้ยงกบในกล่องโฟม
เป็นความคิดในข้อใด.  (ตัวเลือกข้อ  2) เฉลยข้อ  ก  ความคิดริ่เริ่ม
4.นางสาวจิราพรบอกชื่อผลไม้รสเปรี้ยวได้  100 ชนิดภายใน  1  นาที
เป็นความคิดในลักษณะใด.
(ตัวเลือกข้อ 2) เฉลยข้อ  ข  ความคล่องในการคิด
5.นายอนุชิตนำขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วไปทำแจกันดอกไม้และแก้วดื่มน้ำ
ในค่ายลูกเสือชั่วคราวโรงเรียนกุดชุมวิทยาคมเป้นการคิดในลักษณะใด.
(ตัวเลือกข้อ 2) เฉลยข้อ  ค  ความยืดหยุ่นในการคิด
6.ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ  3  ประการคือข้อใด.
ก.  ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่    ข.  มีความเหมาะสม
ค.  นำไปใช้ได้จริงและมีประโยชน์     ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
7.กระบวนการคิดแก้ปัญหาของสมองจะสำเร็จจะต้องมีขั้นตอนในการคิด 4 ขั้นตอนในข้อใด.
ก.  ขั้นเตรียมการ  ขั้นครุ่นคิด   ข.  ขั้นของการเกิดความคิด
ค.  ขั้นพิสูจน์      ง.  ถูกทุกข้อ
8.อุปสรรคของการฝึกความคิดสร้างสรรค์มี  2  ประเภทได้แก่ข้อใด.
ก.  อุปสรรคภายนอก    ข.  อุปสรรคภายใน
ค.  อุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมอื่น    ง.  ถูกทั้งข้อ ก  และ ข
9.อุปสรรคภายนอกหมายถึงข้อใด.
ก.  ท่าที    ข.  เจตคติตังเอง    ค.  อุปนิสัย    ง.  ประเพณีวัฒนธรรม
10.กระบวนการกลุ่มหมายถึงข้อใด.
ก.  กระบวนการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์
และการดำเนินงานร่วมกัน
ข.  กระบวนการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่  3  คนขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์
และการดำเนินงานพร้อมทั้งแก้ปัญหาร่วมกัน
ค.  กระบวนการทำงานร่วมกันตั้งแต่  10  คนขึ้นไป
ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
11.ลักษณะของกลุ่มที่ดีจะต้องมีโครงสร้างหมายความว่าอย่างไร.
ก.  มีหัวหน้า  รองหัวหน้า ประธานกลุ่ม  รองประธานกลุ่ม
ข.  มีเหรัญญิก  ประชาสัมพันธ์
ค.  มีเลขานุการ    ง.  ถูกทุกข้อ
12.หลักการทำงานของกระบวนการกลุ่มมีขั้นตอน
การดำเนินงานในข้อใด.
ก.  ขั้นตระหนัก  ขั้นวางแผน
ข.  ขั้นลงมือปฏิบัติงาน  ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ค.  ขั้นปรับปรุงแก้ไข  พัฒนางาน  ขั้นสรุปผลงาน
ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลย  1.  ค  2.  ง  3.  ก  4.  ข  5.  ค  6.  ง  7.  ง  8.  ง  9.  ง  10.  ก  11.  ง  12.  ง

krupaga แนะนำสื่ออุปกรณ์เอกสารในกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาการงาน 6 รหัสวิชา ง 33106 ม.6

1.  อินเทอร์เนตความเร็วสูง(โรงเรียนจัดบริการครู-นักเรียน)
2.  เครื่องคอมพิวเตอร์(โรงเรียนจัดบริการ)
3.  สมาร์ทโฟน(โรงเรียนหรือส่วนตัวของนักเรียนเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ตลอดเวลา)
4.  เว็บไซต์  krupaga
5.  เครื่องปริ้นเตอร์และเครื่องอัดสำเนา
6.  ระบบไฟฟ้าที่ใช้สะดวกและปลอดภัย
7.  หนังสือแบบเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.6  ม.4-6 (ทุกสำนักพิมพ์เป็นเอกสารสืบค้น)
8.  เครื่องและจอ(สำหรับครูผู้สอน)
สรุุปว่าต้องมีห้องเรียนคุณภาพ  1  ห้องสำหรับรายวิชาการงาน 6(สาระที่ 1  2  และ 4)
ปีการศึกษาหน้า เขียนโครงการห้องเรียนคุณภาพสำหรับรายวิชาการงาน 6 (คุณครูที่สอนวิชาการงาน 6 ทุกท่านค่ะ)
สำหรับสมาร์โฟนเป็นสื่อที่หาง่ายราคาถูกและเป็นที่นิยมของนักเรียนจึงเหมาะที่จะเป็นสื่อในกิจกรรมการเรียนการสอนมาก
สำหรับโรงเรียน krupaga  อยู่ในชนบทที่ห่างไกลความเจริญมากมีอินเทอร์เนตช้าๆๆ บางวันใช้ได้บางวันใช้ไม่ได้
ก็ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนตามสภาพจริงแต่จากผลสอบ O-net  ม.3  และ ม. 6 เป็นที่น่าพอใจค่ะ
                       สุดท้ายขอขอบคุณคุณครูสอนวิชาการงานและนักเรียนที่แวะมาเยี่ยมชมให้กำลังใจทุกท่านครูการงานจะ
พัฒนาต่อไปก้าวไกลด้วยเทคโนโลยีนักเรียนทุกคนคือลูกของเราภาคเรียนนี้เข้าโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ตัวชี้วัด/ชื่อหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 รหัสวิชา ง 33106 ม.6

ตัวชี้วัดประจำหน่วยรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  6  รหัสวิชา  ง  33106  ม. 6
1.อธิบายหลักการทำงานในการดำรงชีวิตประจำวันได้
2.สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะการทำงานร่วมกัน
3.มีทักษะการจัดการในการทำงาน
4.มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
5.มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน
และใช้พลังงานทรัพยากรในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
6.อธิบายเทคโนโลยีออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งของเครื่องใช้หรือเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
ต่อชีวิตสังคมสิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
7.อภิปรายแนวทางเข้าสู่อาชีพเลือกและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพมีประสบการณ์ในอาชีพ
ที่ถนัดและสนใจมีคุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
1.การทำงานในชีวิตประจำวัน (เวลา  2  คาบ  5  คะแนน)
สาระสำคัญ
1.1  ความหมายของงานในชีวิตประจำวัน
1.2  หลักในการทำงานในชีวิตประจำวัน
1.3  การเลือกใช้ดุแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
2.ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน(เวลา  3  คาบ  10  คะแนน)
2.1  ความหมายความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
2.2  ความหมายและความสำคัญของทักษะการทำงานร่วมกัน
2.3  การประดิษฐ์เครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย(การร้อยมาลัยชนิดต่าง ๆ งานใบตอง งานแกะสลัก  เครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย)
2.4  หน้าที่และบทบาทตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว  โรงเรียน และชุมชน
3.ทักษะการจัดการ(เวลา  3  คาบ  15  คะแนน)
3.1  การดูแลรักษาทำความสะอาดและจัดตกแต่งบ้านและโรงเรียน
3.2  งานช่าง
3.3  งานเกษตร
3.4  งานธุรกิจ
4.ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน(เวลา  3  คาบ  10  คะแนน)
4.1  การตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้า
4.2  การเก็บการถนอมและเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตรด้านการแปรรูป
4.3  การติดตั้ง  ประกอบ  ซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและโรงเรียน
5.สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการทำงาน(เวลา  1  คาบ  10  คะแนน)การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5.1  สมรรถนะ  คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์  ค่านิยม  12  ประการ  คุณธรรมจริยธรรม สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
5.2  ทักษะการแสวงหาความรู้(ทำรายงานข้อสอบ  O-net  ข้อสอบประจำหน่วยการเรียนรู้  แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
6.การออกแบบและเทคโนโลยี(เวลา  2  คาบ  10  คะแนน)
6.1  เทคโนโลยีและการออกแบบ(ดูการกำหนดคะแนนจากภาระงานและกำหนดส่งงานตามปฏิทินงาน  ง  33106)
7.การอาชีพ(เวลา  3  คาบ  จำนวน  10  คะแนน)
7.1  แนวทางเข้าสู่อาชีพ
7.2  การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ
7.3  ประสบการณ์ในอาชีพ
7.4  คุณลักษณะที่ดี

 

 

ใบความรู้ที่ 1.4 เรื่องวิธีดูแลรักษาเสื้อผ้า ง 33106 ม.6 ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการทำงานในชีวิตประจำวัน

ใบความรู้ที่  1.4  เรื่องวิธีดูแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  การทำงานในชีวิตประจำวัน
รหัสวิชา  ง  33106  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
การดูแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
   การดูแลรักษาเสื้อผ้า
   เสื้อผ้าจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานหากได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีซึ่งหลักในการดูแล
รักษาเสื้อผ้ามีดังนี้
    1.  ขณะสวมใส่เสื้อผ้าต้องระมัดระวังไม่ให้เปรอะเปื้อนและถูกของแหลมคมเกี่ยว  เมื่อถถอดเสื้อผ้าควรดูรอยเปื้อนหากพบว่าเปื้อนรับขจัดทันทีเพราะรอยเปื้อนใหม่จะทำความสะอาดง่าย
    2.  แขวนเสื้ด้วยไม้แขวนเสื้อไม่ควรเกี่ยวไว้กับตะขอหรือตะปูเพราะจะทำให้เสื้อผ้าเสีย
รูปทรงและฉีกขาดได้
    3.  เสื้อกันหนาวประเภทผ้ายึดต้องพับเก็บไม่ควรแขวนทิ้งไว้จะทำให้เสื้อเสียรูปทรง
    4.  กระเป๋าเสื้อกระเป๋ากางเกงไม่ควรใส่ของที่มีน้ำหนักมากหรือขนาดใหญ่ทำให้กระเป๋า
ฉีกขาดเร็วขึ้น
    5.  หากพบว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่ชำรุดควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนนำไปซัก
    6.  สวมผ้ากันเปื้อนทุกครั้งเมื่อเข้าครัวทำอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าที่สวมใส่เปื้อน
    7.  ก่อนนำผ้าไปซักต้องแยกผ้าขาวผ้าสีออกจากกันอาจแยกเป็นผ้าขาวประเภทใยธรรมชาติ
ผ้าขาวประเภทใยสังเคราะห์  ผ้าสีเหมือนกันเพราะผ้าแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
   8.  เสื้อผ้าทีใช้แล้วควรแขวนในที่ลมผ่านเพื่อให้เงื่อแห้งจึงนำลงในตระกร้า
   9.  ถุงเท้าเมื่อสวมใส่แล้วต้องซักทุกครั้ง  ไม่ควรสวมใส่ซ้ำเพราะทำให้กลิ่นเหม็นเกิดโรคได้
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลรักษาเสื้อผ้า
    ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลเสื้อผ้าที่นิยมใช้  มีดังนี้
    1.  ผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดเสื้อผ้ามีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำมีทั้งแบบซักด้วยมือ
และซักด้วยเครื่องก่อนซื่อต้องศึกษาวิธีใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำตามฉลากเพื่อประสิทธิภาพ
    2.   สารปรับผ้านุ่ม  มีส่วนผสมของน้ำมันลดความกระด้างของผ้าและช่วยลดการดูดซึมของน้ำควรใช้เมื่อจำเป็นหรือนาน  ๆๆ เพื่อความประหยัด
    3.  สารฆ่าเชื้อโรค  เช่น  น้ำมันสน  สารฟอกขาว  คลอลีน  ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้าผู้ป่วย
    4.  สารเพิ่มความสดใสของเสื้อผ้านิยมใช้ครามซึ่งนำไปผสมในน้ำสุดท้ายของเสื้อผ้า
    5.  สารเพิ่มความแข็งของเนื้อผ้า  นิยมใช้กับผ้าให้คงรูป  เช่น  ผ้าลินิน  ผ้าฝ้าย  ผ้าไหม
ด้วยการลงแป้งมันหรือเยลลี่หลังการซักผ้าในน้ำสุดท้ายหรือใช้แป้งสเปย์ฉีดก่อนรีด
    6.  สารกำจัดรอยเปื้อน  มีมากมาย (เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4)
การซักผ้า (เรียนในชั้น ม.4 ทบทวน)
     การซักผ้า  คือการทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายอื่น ๆ ที่สามารถซักได้  การซักเสื้อผ้าที่ถูกวิธีมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.  ก่อนซักเสื้อผ้า  ควรตรวจกระเป๋าเสื้อ  กางเกง  กระโป๋ง  อย่าให้มีสิ่งตกค้างอยู่   เช่น  เงิน
กระดาษ  หากมีสิ่งตกค้างให้นำออกจากกกระเป๋าหากมีเสื้อผ้าชำรุดซ่อมให้เรียบร้อย
2.  แยกผ้าออกเป็นประเภท  เพื่อสะดวกในการทำความสะอาดแล้วชักตามขั้นตอนด้วยวิธีดดังนี้
การซักด้วยมือ
1.  เตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับซักผ้าให้พร้อม
2.  แช่ผ้าในน้ำธรรมดาก่อนประมาณ  10-20  นาที  เพื่อให้เสื้อผ้าสะอาดยิ่งขึ้น
3.  ใส่น้ำสะอาดลงในกะละมัง
4.  เติมผลิตภัณฑ์ซักผ้าลงในกะละมังตามคำแนะนำบนฉลากข้างผลิตภัณฑ์
5.  นำผ้าที่จะซักแช่ทิ้งไว้  15-20  นาที  เพื่ให้สารซักฟอกซึมเข้าไปในเนื้อผ้า  ใยผ้าคายความสกปรกออกมาในการแช่ผ้าไม่ควรนำกางเกงใน  ถุงเท้า  แช่ปนกับเสื้อผ้า  ผ้าเช้ดหน้า
และปลอกหมอน
6.  ขยี้หรือแปรงเสื้อผ้าให้ทั่ว ส่วนที่สกปรกมากได้แก่  ปกเสื้อ  ส่วนพับปลายแขน 
ขอบกางเกง  ปากกระเป๋า  ให้ขยี้จนสะอาด
7.  บีบเพื่อให้น้ำสารวักฟอกออก  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด  2-3  ครั้ง  จนหมดน้ำสารซักฟอก
8.ใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มน้ำสุดท้าย
การซักด้วยเครื่องซักผ้า
1.  กลับเสื้อผ้าทุกตัวโดยเอาด้านในออก  เสื้อผ้าประเภทผ้าไหม  ผ้าเนื้ออ่อนไม่ควรวักด้วยเครื่อง
2.  เพื่อให้ผ้าสะอาดโดยทั่วถึงควรแช่ผ้าก่อนนำไปซักในเครื่อง
3.  นำผ้าใส่ลงในเครื่องซักผ้าตามขนาดความจุของเครื่อง
4.  นำสารซักฟอกและสารอื่น ๆ ใส่ลงในเครื่องซักผ้าตามข้อแนะนำของเครื่องซักผ้าแต่ละชนิด
5.  ตั้งรายการซักผ้าตามคำแนะนำของเครื่องซักผ้า
6. เมื่อวักเสร็จให้นำผ้าออกจากเครื่องซักผ้า
    ในปัจจุบันการใช้เครื่องซักผ้าเป็นที่นิยมมากเพราะช่วยประหยัดเวลา  พลังงาน
การตากผ้า
การรีดผ้า
การดูแลรักษาเครื่องแต่งกาย
รองเท้าหนัง  รองเท้าผ้ใบ  เข็มขัด  เครื่องประดับอื่น ๆ เช่น  สร้อยคอ  ตุ้มหู  นาฬิกา
(เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4)
   

 

 

 

 

ใบความรู้เรื่องตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

ใบความรู้เรื่องตัวชีัวัดและสาระแกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
สาระที่ 1  การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน  ง  1.1  เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน            ทักษะการจัดการ  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการ
แสวงงหาความรู้  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน 
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 – 6
ตัวชี้วัด
1.  อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
2. สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการทำำงานร่วมกัน
3.  มีทักษะการจัดการในการทำงาน
4.  มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
5.  มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต
6.  มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน
7.  ใช้พลังงาน  ทรัพยากร ในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  วิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตเป็นการทำงานที่จำเป็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน
เช่น
    -หลักการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
    -การเลือกใช้  ดูแลรักษาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
2.  ความมคิดสร้างสรรค์  4  ลักษณะประกอบด้วย ความคิดริ่เริ่ม  ความคล่องในการคิด
      ความยึดหยุ่นในการคิดและความคิดละเอียดละออ
     -ทักษะการทำงานร่วมกัน เป็นการทำงานกลุ่ม  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
     -ทำงานอย่างมีกระบวนการตามขั้นตอนและฝึกการทำงานกลุ่ม  เช่น  การประดิษฐ์
      ของใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย  -หน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว
       โรงเรียนและชุมชน
3.  ทักษะการจัดการ
     -ทักษะการจัดการ  เป็นการจัดระบบงานและระบบคนเพื่อให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย
      อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น
      -การดูแลรักษาทำความสะอาด จัดตกแต่งบ้านและโรงเรียน
      -การปลูกพืชขยายพันธุ์พืชและเลี้ยงสัตว์
      -การบำรุงและเก็บรักษา  เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
      -การดำเนินการทางธุรกิจ
4.  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน  มีขั้นตอนคือ  การสังเกต  วิเคราะห์  สร้างทางเลือก  และประเมินทางเลือกเช่น
      -การตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้า
      -การเก็บ  ถนอมและแปรรูปอาหาร
      -การติดตั้ง  ประกอบ  ซ่อมแซม  อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน
และโรงเรียน
5.  ทักษะการแสวงหาความรู้
      -ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิตประกอบด้วย การศึกษาค้นคว้า
      -รวบรวม  สังเกต  สำรวจ  และบันทึก เช่น
        การดูแลรักษาบ้าน
        การเลี้ยงสัตว์
6.  คุณธรรมและลักษณะนิสัย
     -คุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงานเป็นการสร้างคุณงามความดี และควรฝึกให้ผู้เรียน
       มีคุณภาพที่สำคัญๆ เช่น  ขยัน  อดทน  รับผิดชอบ  และซื่อสัตย์
7.  การใช้พลังงาน  ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนเป็นคุณธรรมในการทำงาน
สาระที่  4  การอาชีพ
ตัวชี้วัด
1.  อภิปรายแนวทางเข้าสู่อาชีพที่สนใจ
2.  เลือกและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ
3.  มีประสบการณ์ในอาชีพที่ถนัด
4.  มีคุณลักษณะที่ดึต่ออาชีพ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  แนวทางเข้าสุ่อาชีพ
-เตรียมตัวหางานและพัฒนาบุคคลิกภาพ
-ลักษณะความมั่นคงและความก้าวหน้า
-การสมัครงาน
-ดการสัมภาษณ์
-การทำงาน
-การเปลี่ยนงาน
2.  การเลือกและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ
-วิธีการ
-หลักการ
-เหตุผล
3.  ประสบการณ์เป็นอาชีพ
-การจำลองอาชีพ
-กิจกรรมอาชีพ
4.  คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
– คุณธรรม
-จริยธรรม
-ค่านิยม

 

 

 

ใบความรู้ เรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยม รายวิชาการงาน 6 รหัสวิชา ง 33106 ม.6 ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ

ใบความรู้เรื่อง  คุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่นิยม  12  ประการ
รายวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  6  รหัสวิชา  ง  33106
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  เวลา  5  นาที
  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อให้
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในบานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
        1.  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์
        2.  ซื่อสัตย์สุจริต
        3.  มีวินัย
        4.  ใฝ่เรียนรู้
        5.  อยู่อย่างพอเพียง
        6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
        7.  รักความเป็นไทย
        8.  มีจิตสาธารณะ
    ค่านิยมไทย  12  ประการได้แก่
         1.  มีความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
         2.  ซื่อสัตย์  เสียสละ  อดทน
         3.  กตัญญูต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
         4.  ใฝ่หาความรู้  หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
         5.  รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
         6.  มีศิลธรรมรักษาความสัตย์
         7.  เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
         8.  มีระเบียบ  มีวินัย  เคารพกฏหมาย  ผู้น้อยรู้จักเคารพผุ้ใหญ่
         9.  มีสติรู้ตัว  รู้คิด  รู้ทำ
         10.รู้จักดำรงตนอยุ่โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
         11.มีความเข้มแข้งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
         12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์
   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
          1.  ความสามารถในการสื่อสาร
          2.  ความสามารถในการคิด
          3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา
          4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
          5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
    กลุ่มสาระการเรียนรู้
          1.  ภาษาไทย
          2.  คณิตศาสตร์
          3.  วิทยาศาสตร์
          4.  สังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม
          5.   สุขศึกษาและพลศึกษา
          6.  ศิลปะ
          7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          8.  ภาษาต่างประเทศ
    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
          1.  กิจกรรมแนะแนว
          2.  กืจกรรมนักเรียนลูกเสือ  ยุวกาชาด เนตรนารี  บำเพ็ญประโยชน์
          3.  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์