Category Archives: การประกอบอาหารไทย ง 30230 เพิ่มเติม ม.4

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนตัวชี้วัดที่ 3 เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหาร รายวิชาประกอบอาหารไทย ง 30230 ม.4

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคืออาหารหลักหมู่ที่ 1.
ก.  เนื้อสัตว์  นม  ไข่  และถั่วเมล็ดแห้ง   ข.  ข้าว  แป้ง  น้ำตาล  เผือก  มัน
ค.  พืชผักสีเขียวและสีเหลือง  สีแดง   สีม่วง  สึขาว(พืชผัก  5  สี)
ง.  อาหารประเภทไขมันสัตว์และพืช
เฉลยข้อ  ก  เนื้อ นม  ไข่  และถั่วเมล็ดแห้ง
2.  พืชผักสีเขียวและสีอื่น ๆ จัดอยู่ในอาหารหลักหมู่ใด.
ก.  อาหารหลักหมู่ที่  1     ข.  อาหารหลักหมุ่ที่  2
ค.  อาหารหลักหมู่ที่  3     ง.  อาหารหลักหมู่ที่  4
เฉลยข้อ  ค   พืชผัก  5  สี
3.  อาหารหลักหมู่ที่  4  คือข้อใด.
ก.  พืชผักสีเขียวและสีอื่น ๆ    ข.  ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
ค.  เนื้อ  นม  ไข่  และถั่วเมล้ดแห้ง    ง.  ไขมันจากพืชและสัตว์
เฉลยข้อ  ข  ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
4.  อาหารหลักหมู่ใดให้สารอาหารเหมือนกัน.
ก.  อาหารหลักหมุ่ที่ 1 และ 2       ข.  อาหารหลักหมู่  2 และ 3
ค.  อาหารหลักหมู่ที่  3  และ  4    ง.  อาหารหลักหมู่ที่  4  และ 5
เฉลยข้อ  ค  พืชผัก  และ  ผลไม้
5.  อาหารหลักหมู่ที่  1  ให้สารอาหารในข้อใด.
ก.  โปรตีน      ข.  คาร์โบไฮเดรต        ค.  เกลือแร่        ง.  ไขมัน
เฉลยข้อ  ก  โปรตีน
6.  น้ำเต้าหู้และเต้าเจี้ยวจัดอยู่ในอาหารหลักหมู่ใด.
ก.  อาหารหลักหมู่ที่  1    ข.  อาหารหลักหมู่ที่  2
ค.  อาหารหลักหมู่ที่  3    ค.  อาหารหลักหมู่ที่  5
เฉลยข้อ  ก  เนื้อ  นม  ไข่ และ ถั่วเมล็ดแห้ง
7.  ข้อใดคืออาหารหลักหมู่ที่  3  และ อาหารหลักหมู่ที่  4.
ก.  ข้าว  ก๋วยเตี๋ยว  อ้อย    ข.  เนื้อหมูติดมัน  เครื่องในสัตว์
ค.  กล้วย  ถั่วเขียว     ง.  มะละกอ   ฟักเขียว
เฉลยข้อ  ง  มะละกอ  ฟักเขียว
8.  ข้อใดไม่ใช่อาหารพวกเดียว.
ก.  ข้าว  มันสำปะหลัง     ข.  น้ำตาลทราย  น้ำผึ้ง
ค.  นม  โปรตีนเกษตร      ง.  ถั่วเหลือง  ถั่วฝักยาว
เฉลยข้อ  ง  ถั่วเหลือ  ถั่วฝักยาว
9.  ก๋วยเตี๋ยว  เผือกกวน  มันเทศเชื่อม  จัดอยู่ในอาหารหลักหมู่ใด.
ก.  อาหารหลักหมู่ที่  1   ข.  อาหารหลักหมู่ที่  2
ค.  อาหารหลักหมู่ที่  3  ง.   อาหารหลักหมู่ที่  5
เฉลยข้อ  ข  อาหารหลักหมู่ที่  2  ได้แก่ข้าว  แป้ง  น้ำตาล  เผือกมัน
10. น้ำมันพืชจัดเป็นอาหารหลักหมู่เดียวกับข้อใด.
ก.  ถั่ว            ข.  เนย          ค.  น้ำตาล        ง.  ผักต่าง  ๆ
เฉลยข้อ  ข  เนย
11. มันต้มจัดอยู่ในอาหาารหลักหมู่ที่  2  ให้สารอาหารประเภทใด.
ก.  คาร์์โบไฮเดรต      ข.  เกลือแร่       ค.  โปรตีน        ง.  ไขมัน
เฉลยข้อ  ก  คาร์โบไฮเดรต
12.ข้อใดจ้ดว่าเป็นอาหารที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนมาก.
ก.  ก๋วยเตี๋ยวไก่      ข.  เย็นตาโฟ       ค.  สุกี้ยากี้      ง.  เกาเหลา
เฉลยข้อ  ง  เพราะเกาเหลาวัสดุหลักคือเนื้อสัตว์
13. ฟักทองจัดอยุ่ในอาหารหลักหมู่ใด.
ก.  อาหารหลักหมมู่ที่   1  ข.  อาหาารหลักหมู่ที่ 2   ค.  หมู่ที่  3  ง.  หมู่ที่  4
เฉลยข้อ  ค  อาหารหลลักหมู่ที่  3  พืชผักสีต่าง ๆ
14. ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
ก.  อาหาารหลักหมู่ที่  1  ให้สารอาหาารประเภทโปรตีน
ข.  อาหารหลักหมู่ที่  2  ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ค.  อาหารรหลักหมู่ที่  3  และ  4  ให้สารอาหาารประเภทเกลือแร่
ง.  อาหารหลักกหมุ่ที่  5  ให้สารอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรต
เฉลยข้อ  ง อาหารหลักหมู่ที่  5ไขมันพืชและสัตว์ไห้สารอาหารประเภทไขมัน
15. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 1
ก.  ให้พลังงาน   ข.  ช่วยไม่ให้ท้องผูก
ค.  เป็นส่วนประกอบของสารรเอนไซน์แลละฮอร์โมน
ง.  ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะตต่าง ๆ ในร่างกาย
เฉลยข้อ   ข  ช่วยไม่ให้ท้องผูกเพราะอาหารหลักหมุ่ที่  1  ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต  เป็นส่วนประกอบของสาารเคมีที่ให้อำนาจใในการต้านทานโรค  ให้พลังงานในกรณีร่างกายได้รับคาร์โบไม่เพียงพอโปรตีน  1  กรัมให้พลังงาน  4  แคลลอรี่  เป็นส่วนประกอบของสารเอนทไซน์และฮอร์โมน  เช่น  การย่อย  การรหายใจ  การดูดซึม
16.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับปริมาณที่ร่างกายต้องการสารอาหารรประเภทโปรตีนใน  1  วัน
ก.  ผู้ใหญ่ควรได้รับสารโปรตีนวันละ  180  กรัม
ข.  เด็กแรกเกิดถึงวัยผู้ใใหญ่ต้องการโปรตีนมากวันละ  3-5  วันต่ออน้ำหนักร่างกาย  1  กิโลกรัม
ค.  หญิงตั้งครรภ์ต้องการสารโปรตีนวันละ  240-360  กรัมและหญิงระยะให้นมบุตรควรบรริโภควันละะ  300-400  กรัม
ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
17. ข้อใดคือประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 2
ก.  ให้พลังงานแก่ร่างกายให้ความอบอุ่น   ข.  การย่อยการดูดซึม
ค.  ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย   ง.  ถูกทั้งข้อ  ก  และ  ข
เฉลยข้อ  ง  ประโยชน์ของสารคาร์โบไฮเดรตคือให้พลังงานความอบอุ่นและการย่อยการดูดซึม
18. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับปริมาณที่ร่ากายต้องการอาหารหลักหมู่ที่่ 2
ก.  ขึ้นอยู่กับการประดอบกิจกรรมว่าออกแรงมากหรือน้อย
ข.  ความต้องการขึ้นอยู่กับ  เพศ  วัย  และขนาดของร่างกาย
ค.  ผู้ใหย่อย่างน้อยควรได้รับร้อยละ  50-70 ของพลังงานที่ต้องการ
ง.  ถูกทุกข้อ
19. ข้อใดคือประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่  3
ก.  ช่วยในการทำงานของระบบบขับถ่าย   ข.  ช่วยไม่ให้อ้วน
ค.  ช่วยให้ผิวพรรณณสวยงามและไม่เป็นสิว  ถ้ารับประทานมากอาจป้องกันโรคมะเร็งได้
ง.  ถูกทุกข้อ
20. ข้อใดคือประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่  4
ก.  น้ำตาลในผลไม้ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว
ข.  วิตามินซีที่ได้รับจากผลไม้ช่วยต้านทานโรคทำให้แผลหายเร็วและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
ง.  ถูกทุกข้อ
21. ข้อใดคือประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่  5
ก.  ช่วยทำให้อิ่มนาน   ข.  ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร
ค.  ให้พลังงานแก่ร่างกาย  และช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน  เอ  ดี  อี  เค
ง.  ถูกทุกข้อ
22. ถ้าร่างกายขาดน้ำ  2-3  วันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ข้อใดคือประโยชน์
ก.  ช่วยในการย่อยอาหาร   ข.  ช่วยในการดูดซึม   ค.  การนำพาสารอาหารต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายและนำพาความร้อนออกจากร่างกาย
ง.  ถูกทุกข้อ
23. นักเรียนควรดื่นน้ำในข้อใดจึงมีประโยชนืต่อร่างกาย
ก.  น้ำำสะอาดดื่มอย่างน้อยวันละ  6-8  แก้ว
ข.  น้ำจากเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารทุกชนิดเช่นนม
ค.  เครื่องดื่มจากพืชผักผลไม้ต่าง ๆซึ่งมี  น้ำตาล  เกลือแร่และวิตามินซี
ง.  ถูกทุกข้อ
24. ผลไม้ชนิดใดต่อไปนี้้มีวิตามินซีต่ำ
ก.  ฝรั่ง         ข.  กล้วย         ค.  มะขามเทศ        ง.  มะลกอสุก
เฉลยข้อ  ง  มะละกอ
25. น้ำในข้อใดที่นักเรียนควรหลีกเลี่ยงเพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ก.  น้ำชา  กาแฟ      ข.  น้ำหวานใส่สีต่าง  ๆ    ค.  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา    เฉลยข้อ  ง
26.

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนตัวชี้วัดที่ 2 เรื่องอาหารในชีวิตประจำวัน ง 30230 ม. 4

คำสัง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(x) ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  อาหารหมายถึงข้ออใด.
ก.  สิ่งที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย
ข.  สิ่งที่บริโภคแล้วทำให้อิ่ม
ค.  สิ่งที่บริโภคแล้วไม่ขัดขวางต่ระบบการย่อย
ง.  สิ่งที่บริโภคแล้วไม่มีพิษแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอและทำให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ
เฉลยข้อ  ง
2.  โภชนาการหมายถึงข้อใด.
ก.  การเลือกบริดภคอาหารที่มีประโยชน์
ข.  การเปลี่ยนแปลงของอาหารในขณะหุงต้ม
ค.  การเปลี่ยนแปลงของอาหารภายหลังการบริโภค
ง.  การประกอบ  การปรุง และการทำออาหารให้สุก
เฉลยข้อ  ค
3.  อาหารและโภชนาการมีผลต่อสุุขภาพอย่างไร.
ก.  ทำให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต  ข.  ทำให้ร่างกายมีภาวะโภชนาการดี
ค.  ทำให้ร่างกายมีความต้านทานโรค  ง.  ทำให้ร่างกายไม่เจ็บป่วย
เฉลยข้อ  ข  ทำให้ร่างกายมีภาวะโภชนาการดี
4.  ผู้ที่มีภาวะโภชนาการดีมีลักษณะอย่างไร.
ก.  มีความสนใจต่ออสิ่งแวดล้อมดี   ข.  มีไขมันสะสมใต้ผิวหนังน้อย
ค.  ตาใส  พพื้นลูกตามมีจุด   ง.  เยื่อบุนัยน์ตาแดง
เฉลยข้อ  ก  มีวามสนใจต่อสิ่งแวดล้อมดี
5.  ข้อใดจัดอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ.
ก.  บริโภคเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารชนิดอื่น   ข.  บริโภคผักดิบมากว่าผักสุก
ค.  การย่อยการดูดซืมไม่ดี   ง.  เด็กออยู่ในภาวะดื่มนมมารดา
ฉลยข้อ   ค  การย่อยการดูดซึมไม่ดีก็มีผลทำให้ร่างกายไมม่เจริญเติบโตและแข็งแรงเท่าที่ควรทั้งทำให้ผิวพรรณซีดเซียวหน้าตาไม่เบิกบานแจ่มใส
6.  สภาวะที่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่ปราศจากโรคและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขหมายถึงความหมายในข้อใด.
ก.  อาหาร     ข.  โภชนาการ    ค.  สุขภาพ    ง.  ภาวะโภชนาการที่ดี
เฉลยข้อ  ค  สุขภาพ
7.  ข้อใดคือจุดหมายที่สำคัญที่สุดของวิชาโภชนาการ.
ก.  เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  ข.  การปรับปรุงอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายที่นอกเหนือจากสภาพปกติ
ค.  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ง.  ความต้องการสารอาหาร  การเปลี่ยนแปลงของอาหารในร่างกายและร่างกายเอาสารอาหารไปใช้อะไรบ้าง  ตอดจนการย่อยการดูดซึมและการขับถ่าย
เฉลยข้อ  ค
8.  การบริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอและได้สัดส่วนพอเหมาาะกับความต้องการของร่างกาย  รวมไปถึงการหุงต้มอาหารอย่างถูกวิธีและมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายและร่างกายก็สามารถนำสารอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมสุขอนามัยได้อย่างเต็มที  มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด.
ก.  สุขภาพ   ข.  ภาวะโภชนาการที่ดี   ค.  โภชนาการ   ง.  ทุพโภชนาการ
9.  สภาพของร่างกายและจิตใจอันเป็นผลจากการรับประทานอาหารซึ่งมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายและมีอาหารครบถ้วนทุกหมู่มีสัดส่วนตามร่างกายต้องการหมายถึงข้อใด.(ใช้ตัวเลือกข้อ  8)
เฉลยข้อ  ข  ภาวะโภชนการที่ดี
10. ข้อใดคืผลที่เกิดจากภาวะโภชนาการดี.
ก.  ร่างกายแข็งแรง  ข.  ผิวพรรณดี   ค.  อารมณ์แจ่มใส   ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลย    ง.  ถูกทุกข้อ
11. สภาพของร่างกายไม่ดีอันเป็นผลมาจากการกินไม่ดีหมายถึงขข้อใด.
(ใ้ตัวเลือกข้อ  8)  เฉลยข้อ  ง.  ทุพโภชนาการ
12.  กินไม่ดีหมายถึงข้อใด.
ก.  รับประทานอาหารราคาถูก  ข.  รับประทานอาหารที่มีราคาแพงคุณภาพต่ำ
ค.  รับประทานอาหารไม่ครบตามความมต้องงการของร่างกายหรือครบทุกอย่างแต่มีสัดส่วนไม่ถูกต้อง
ง.  ร่างกายใช้อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วทำให้การย่อยการดูดซึมไม่ดีซึ่งมีผลต่อร่างกายไม่เจริญเติบโตไม่แข็งแรง
จ.  ถูกทั้งข้อ  ค  และ  ง
13. ข้อใดคือผลที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
ก.  ผลต่อร่างกาย      ข.  ผลทางอารมณ์   ค.  ผลทางสติปัญญา  ง  ถููกทุกคน
14. ข้อใดไม่ใช่ผลจากการรับประทานอาหารที่มีผลต่อร่างกาย
ก.  ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต    ข.  มีอายุยืนและสามารถในการต้านทานโรค
ค.  มีประสิทธิภาพในการทำงาน   ง.  การมีครรภ์และสุขภาพของทารก
เฉลยข้อ  ค  มีประสิททธิภาพในการทำงาน
15. ข้อใดคือลักษณะของผู้ที่มีภาวะโภชนาการดี.
ก.  ผิวพรรณณเปล่งปลั่งไม่เป็นผื่นเป็นขุย
ข.  มีไขมันใต้ผิิวหนังพอประมาณ  รับประทานอาหารได้ดีระบบย่อยดี
ค.  รุปทรงสง่างาม   อกผาย  ไหล่ผึ่ง  หน้าท้องไม่ยื่น  มีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม  นอนหลับสนิท
ง.  ถูกทุกข้อ
16. ข้อใดจัดอยู่ในการบริโภคที่ไม่ดี
ก.  ดื่มน้ำผลไม้แทนผลไม้ทั้งผล  ข.  ดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมสดที่ได้รับจากสัตว์
ค.  ลดอาหารมื้อกลางวันแต่เพิ่มมี้อเย็นให้มากขึ้น
ง.  ลดอาหารมื้อเย็นแต่เพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น
เฉลยข้อ  ค
17. ต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของอาหารยกเว้นข้อใด.
ก.  ประโยชน์ของอาหารที่บริโภคแต่ละมื้อต่อร่างกาย
ข.  สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
ค.  ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติ
ง.  ให้พลังงานและความร้อนความอบอุ่น
เฉลยข้อ  ก
18. อาหารประเภทใดที่นักเรียนนควรบริโภคอย่างน้อยสัปดาห์ละ  1-2  ครั้ง
ก.  ไข่         ข.  น้ำมันพืช      ค.   เครื่องในสัตว์       ง.  อาหารทะเล
เฉลยข้อ  ง  อาหารทะเล
19. อะไรคือปัญหาที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ปลอดภภัย.
ก.  ผ่านการขนส่งที่มิดชิด   ข.  บริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ค.  บริโภคผลไม้มากกว่าขนม    ง.  ซื้ออาหารเนื้อสัตว์จากโรงฆ่าสัตว์
เฉลยข้อ  ข.  บริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
20. ข้อใดจัดเป็นอาหารราคาถูกแต่คุุณค่าสูง
ก.  ทอดมันปลาแดง      ข.  ปลาเก๋าราดพริก
ค.  ปลาสำลีนึ่งเกี้ยบบ๊วย   ง.  ปลาซ่อนนึ่งแป๊ะซะ
เฉลยข้อ   ง
21.ข้อใดคืออาหารราคาแพงและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ก.  ข้าวสวย     ข.  แกงเผ็ดเป็ดย่าง     ค.  ผัดเห็ดฟางใส่ตับ   ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
22. ข้อใดคืออาหารราคาถูกแต่มีคุณค่าสูง
ก.  ผ้ดเผ็ดเนื้อ    ข.  ปลาไส้ตันทอด   ข้าวสวยหุงกับถั่วเหลือง
ค.  แกงเลียงผักขมผสมฟักทอง    ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง  ถูกทุกข้อ
23. การเลือกบริโภคอาหารให้ถูกหลักอนามัยมีหลักในการเลือกในข้อใด.
ก.  สะอาดและถุกหลักสุขาภิบาล   ข.  อาหารต้องสุกและผ่านความร้อนแล้ว
ค.  ควรเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีราคาถูก  ควรเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพ  ควรรับประทานผลไม้เป็นประจำ
ง.  ถูกทุกข้อ
24. ความสะอาดของอาหารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดบ้าง.
ก.  การขนส่ง    ข.  แหล่งผลิตอาหาาร  ค.  ลักษณะของอาหาร  ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลย  ถูกทุกข้อ

 

 

 

 

 

 

ใบความรู้ที่ 3 เรื่่องอาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหาร ง 30230 ม.4

อาหารหลัก  5  หมู่และสารอาหาร
อาหารหลัก  5  หมู่ ประโยชน์ และสารอาหาร

วิดีโออาหารหลัก  5  หมู่

ใบความรูู้ที่ 2 เรื่องอาหารในชีวิตประจำวัน รายวิชาการประกอบอาหารไทย ง 30230 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ใบความรู้ที่  2.1  เรื่องอาหารในชีวิตประจำวัน  ง  30230  ม. 4
ความหมายของอาหารและโภชนาการ
1.  ความหมายของอาหาร
1.1  อาหารหมายถึง  สิ่งที่มนุษย์กิน  ดื่มหรือรับเข้าร่างกายโดยไม่มีพิษแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยซ่อมแแวมอวัยวะที่สึกหรอและทำให้กระบวนการต่าง ๆในร่างกายดำเนินไปอย่างงปกติอาหารอาจเป็นได้ทั้งของแข็ง  ของเหลวหรือก๊าซ เช่นอากาศที่เราหายใจเข้าไป  เลือด  น้ำเกลือ  หรือยาฉีดที่แพทย์จัดให้ผู้ที่มีร่างกายผิดปกติก็นับว่าเป็นอาหาร
1.2  โภชนาการหมายถึงความต้องการสารอาหาร  การเปลี่ยนแปลงของอาหารภายในร่างกายและร่างกายเอาสารอาหารไปใช้อะไรบ้าง  ตลอดถึงการย่อย  การดูดซึม  และการขับถ่าย
         ส่วนวิชาโภชนาการนั้นเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการเปลี่ยนแปลงทั้งทางพิสิกส์และเคมีของสารอาหารในร่างกายของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งการพัมนาการของร่างกายที่เกิดจากกระบวนการที่สารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซล  เนื้อเยื่อและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆในร่างกายนอกจากนี้วิชาโภชนาการยังครอบคลุมไปถึงการปรับปรุงอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายที่นอกเหนือไปจากสภาพปกติ  เช่นระยะที่มีการเจริญเติบโต  เช่นในระยะตั้งครรภ์  ระยะให้นมบุตร  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจุดสำคัญที่สุดของวิชานี้ก็เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารที่มีประดยชน์ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ใบงานที่  2.2  ความสำคัญของอาหารและโภชนาการที่มีผลต่อสุขภาพ
สุขภาพหมายถึง  สภาวะที่สมมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่ปราศจากโรค  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
สาเหตุของความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคนเรา  อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการเกิดทั้งการบริโภคอาหารน้อยเกินไปหรือมากเกินไปป  ดังนั้นเราจึงควรบริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอและได้สัดส่วนพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายรวมถึงการหุงต้มอาหารอย่างถูกวิธีและมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย  และร่างกายสามารถนำสารอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยได้อย่างเต็มที่ซึ่งเรียกว่า  ภาวะโภชนาการ
2.1  ภาวะโภชนาการที่ดีคือ  สภาวะของร่างกายและจิตใจอันเป็นผลเนื่องมาจากการรับประทานอาหารซึ่งมีปริมาณณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  และมีอาหารครบถ้วนจากทุกหมู่  มีสัดส่วนตามที่ร่างกายต้องการรวมทั้งการที่ร่างกายสามารถใช้อาหารเหล่านั้นให้เป้นประโยชน์ต่อร่างกายได้อย่างเต็มที่  ผลก็คือทำให้ร่างกายแข็งแรง  ผิวพรรณดี  อารมแจ่มใส  ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นลักษณะที่แสดงถึงภาวะโภชนาการที่ดี
2.2  ภาวะโภชนาการที่ไม่ดีหรือทุพโภชนาการ  คือ  สภาพของร่างกกายไม่ดีอันเป็นผลจากการ  กินไม่ดี  หมายถึงรับประทานอาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกาย  หรือครบทุกอย่างแต่มีสัดส่วนไม่ถูกต้อง  เช่น   รับประทานข้าวมากแต่รับประทานพวกเนื้อสัตว์์และผักน้อยจนเกินไปหรือไม่รับประทานเลย หรือการที่ร่างกายใช้อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วทำให้ระบบการย่อยดููดซึมไม่ดี  ซึ่งเป็นผลทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบบโตและแข็งแรงเท่าที่ควรทั้งยังทำให้ผิวพรรณซีดเซียวใบหน้าไม่เบิกบานแจ่มใส
ดังนั้นเราจึงรับประทานอาหารให้ครบ  5  หมู่ทุกวันในปริมาณในปริมาณที่มากพอเหมาะกับวัยนอกจากนี้อาหารที่รับประทานต้องปรุงให้ถูกสุขลักษณะสะอาดปราศจากเชื้อโรค  ปรุงอย่างสงวนคุณค่าไว้ให้มากที่สุด  เช่นล้างผักก่อนหั่น  ถ้นึ่งได้ก็ควรนึ่ง  ถ้าจะต้มควรต้มทั้งชิ้นใหญ่  ใช้น้ำน้อย  ไฟแรง  ปิดฝาเวลาสั้น
ใบความรู้ที่  2.3  เรื่องผลที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
1.  ผลต่อร่างกาย
1.1  การเจริญเติบโตของร่างกาย  พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของร่างกายนอกจากนี้สิ่งที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตคืออาหารและโภชนาการ
1.2  การมีครรภ์และสุขภาพของทารก  โภชนาการมีผลอย่างมากต่อสุขภาพของมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์มารดาควรจะได้รับอาหารอย่างเพียงพอและมีคุณภาพถ้ามารดาได้รับอาหารไม่เพียงพอทารกอาจคลอดก่อนกำหนด  ร่างกายไม่แข็งแรง  ร่างกายพิการ และติดโรคได้ง่าย
1.3  ความสามารถในการต้านทานโรค  ร่างกายของผุ้ที่มีภาวะโภชนาการดีจะแข็งแรง  มีความต้านทานโรคได้ดีไม่ติดโรคง่ายในทางตรงกันถ้าภาวะโภชนาการไม่ดีจะติดโรคง่าย
1.4  การมีอายุยืน  เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ต้านทานโรคได้ดีมีอายุยืน
2.  ผลทางอารมณ์และสตอปัญญา
การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการช่วยให้สุขภาพกายดีแล้ว ยังมีผลทางจิตใจคือผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงมักเป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี  จิตใจสบาย  ผ่องใส
2.1  การเจริญเติบโตของสมองและสติปัญญา  การขาดอาหารมีผลทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก  ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  สมองและสติปัญญา
ศรีษะเล็กเรียนรู้ช้า  ขาดความคิดริ่เริ่มสร้าสรรค์  ขาดดวามกระตือรือร้น
2.2  ประสิทธิภาพในการทำงาน  ขึ้นอยู่กับสุขภาพทางกาย  อารมณ์  และสติปัญญาด้วยเพราะผู้ที่ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ช่วยให้แข็งแรงมีความอดทนในการทำงานมากกว่าและสามารถใช้สติปัญญาแก้ปัญหาในการทำงานได้ดี
ลักษณะของผู้ที่มีภาวะโภชนาการที่ดี
ร่างกายเจริญเติบโตได้ส่วน  กล้ามเนื้อแข็งแรง  ผิวพรรณเปล่งปลั่ง  มีไขมันใต้ผิวหนังพอประมาณ  ปากสีชมพู  ตาใสมีประกาย  เส้นผมเรียบเป็นมัน  มีความกระปรี่กระเปร่า  มีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม  นอนหลับสนิท
ลักษณะของผุ้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี
เติบโตช้า  ผอมอ้วนจนเกินไป  กล้ามเนื้อแฟ็บ  ผิวพรรณซีดเซียว  ผมแห้งแตกปลาย  มีความวิตกกังวล  ตกใจง่าย  รูปทงไม่ดี  ตกใจง่าย  นอนหลับไม่สนิท  เบื่ออาหาร  เหนื่อยง่าย
ใบความรู้ที่  2.4  เรื่องการเลือกบริโภคอาหารให้ถูกหลักอนามัย
การเลือบริโภคอาหารให้ถูหลักอนามัย  มีหลักในการเลือกดังนี้
1. สะอาดและถูกหลักสุขาภิบาล
ความสะอาดและปลอดภัยของอาหารจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้
1.1 แหล่งผลิตอาหาร อาหารที่สะอาดนั้นจะต้องได้จากแหล่งผลิตที่ดีและมีกรรมวิธีที่สะอาด
เช่น เนื้อสัตว์ที่ได้จากโรงงานฆ่าสัตว์ สัตว์เหล่านั้นจะต้องไม่เป็นโรค และภายในโรงงานก็จะต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ หรือผักที่รดด้วยน้ำโสโครกและใช้ยาฆ่าแมลงพ่นที่ผัก ก็ควรจะล้างให้สะอาดก่อนนำออกจำหน่ายหรือรับประทาน
1.2 การขนส่ง อาหารอาจได้รับความสกปรกหรือเชื้อโรคได้ในระหว่างการขนส่งจากแหล่งผลิตมาสู่ ผู้บริโภค ฉะนั้นในขณะที่ขนส่ง อาหารควรอยู่ในภาชนะที่สะอาดและปกปิดมิดชิด ไม่มีแมลงวันตอม หรือได้รับฝุ่นละออง เมื่อมาถึงมือผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคเองก็ต้องเก็บอาหารไว้ในที่สะอาดเช่นเดียวกัน
1.3 ลักษณะของอาหาร อาหารที่ดีควรอยู่ในลักษณะที่สด เช่น ในการเลือกซื้อปลาควรเลือกปลาที่มีเหงือกสีแดง สด เนื้อไม่บุ๋ม หรือถ้าเป็นผักควรจะเป็นผักสดและไม่เหี่ยวช้ำ เป็นต้น
2.  อาหารต้องสุกและผ่านความร้อนแล้ว  อาหารที่ปรุงสุกย่อมทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในอาหารตาย
3.  ควรเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสุงและมีราคาถูก  ในการเลือกวซื้ออาหารควรเปรียบเทียบราคาเพราะอาหาารที่มีราคาแพงไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพเสมอไปเช่นเนื้อสันในมีราคาแพงแต่มีคุณค่าเท่ากับเนื้อสะโพกซึ่งมีราคาถูก
4.  ควรเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพ
5.  ควรรับประทานผลไม้เป็นประจำ  ผลไม้ให้สารอาหารประเภทเกลือแร่และวิตามินซึ่งเป็นประโยชน์
ตัวอย่างอาหารราคาถูกแต่มีคุณค่าสูง
ข้าวสวยหุงกับถั่วเหลือง  แกงเลียงผักกขมผสมฟักทอง  ผัดเผ็ดเนื้อ  ปลาใส้ตันทอด
ตัวอย่างอาหารราคาแพงและมีคุณค่าสูง
ข้าวสวย  แกงเผ็ดเป็ดย่าง  ผัดเห็ดฟางใส่ตับ  กุ้ง  หน่อไม้  ต้นหอม

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนตัวชี้วัดที่ 1เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย ง 30230 ม.4

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนผลการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย  ง   30230  ม.4
คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือหลักฐานของอาหารไทยสมัยสุโขทัย.
ก.  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ข.  วรรณคดีไตรภูมิพระร่วง
ค.  กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
ง.  ถูกทั้งข้อ  ก  และ ข
เฉลยข้อ  ง
2.  วรรณคดีไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไทกล่าวถึงเรื่องใด.
ก.  การทำมาค้าขายกับชาติตะวันตก
ข.  อาหารไทยในสมัยนี้มีทั้งงอาหารคาวและของว่าง
ค.  อาหารไทยในสมัยนี้มีข้าวเป็นอาหารหลักกินร่วมกับกับข้าว
ง.  อาหารไทยสมัยนี้มีกับข้าวประเภทเนื้อสัตว์ที่ได้จากธรรมชาติท้องทุ่งนา
ไม่นิยมรับประทานข้าว
เฉลยข้อ  ค  เพราะอาหารไทยสมัยสุโขทัยมีขข้าวเป็นอาหารหลักโดยกีนร่วมกับกับข้าวที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลาและเนื้อสัตว์อื่นบ้าง
3.  วรรณคดีเรื่องไตรภููมิพระร่วงในการปรุงอาหาารได้ปรากฏคำใด.
ก.  ปิิ้ง       ข.    ต้ม     ค.  แกง     ง.  อ่อม
เฉลยข้อ  ค
4.  ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงคือข้อใด.
ก.  ฟัก   แตง  น้ำเต้า    ข.  แฟง   แตง   น้ำเต้า
ค.  ฟัก  แฟง  น้ำเต้า     ง.  แฟง  บวบ  น้ำเต้า
เฉลยข้อ  ข
5.  ในสมัยสุโขทัยอาหารหวานนิยมใช้วัตถุดิบพื้นบ้านในข้อใด.
ก.  กล้วยไข่  น้ำผึ้ง      ข.  น้ำตาลมะพร้าว  น้ำผึ้ง
ค.  น้ำผึ้ง  ข้าวตอก      ง.  น้ำผึ้ง  เผือก  มัน
เฉลยข้อ  ค  น้ำผึ้ง  ข้าวตอก
6.  ประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกในสมัยใด.
ก.  สุโขทัย    ข.  สมัยอยุธยา      ค.  สมัยธนบุรี    ง.  สมัยรัตนโกสินทร์ยุคที่ 1
เฉลยข้อ  ข.  สมัยอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มี  ญี่ปุ่น  โปรตุเกส เริ่มเข้ามา  สเปนและฝรั่งเศส
7.  บันทึกเอกสารของชาวต่างชาติข้อใดกล่าวถููกต้องเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของคนไทยในสมัยอยุธยา.
ก.  มีข้าวเป็นอาหหารหลักรับประทานกัเนื้อสัตว์ซึ่งนำมาปิ้ง
ข.  คนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าายยังคงมีปลาเป็นหลักมีต้ม  แกงและคาดว่าใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร
ค.  คนไทยในสมัยอยุธยาจะกินอาหารประเภทสำรับซึ่งชนชาติจีนนำเข้ามาเผยแพร่และนิยมรับประทานผลไม้แทนขนมหวาน
ง.  คนไทยในสมัยนั้นนิยมรับประทานอาหารคาวอาหารหวานออาหารว่างและผผลไม้ต่าง ๆที่มีในท้องถิ่น
เฉลยข้อ  ข
8.  น้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารนิยมใช้น้ำมันในข้อใด.
ก.  น้ำมันหมู    ข.   น้ำมันงา      ค.  น้ำมันมะพร้าว     ง.  น้ำมันถั่วเหลือง
เฉลย  ค.  น้ำมันมะพร้าว
9.  คนไทยสมัยอยุะยจะมีการถนอมอาหารด้วยวิธีใด.
ก.  การตากแห้ง     ข.  การรมควัน     ค.  การดอง     ง.  การเชื่อม
เฉลยข้อ  ก
10. อาหารประเภทเครื่องจิ้มสมัยอยุธยาคือข้อใด.
ก.  น้ำพริกอ่อง   ข.  น้ำพริกหนุ่ม    ค.  แจ่วพริกสด   ง.น้ำพริกกะปื
เฉลยข้อ  ง  น้ำพริกกะปิ
11. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับอาหารไทยสมัยอยุธยา.
ก.  คนในสมัยอยุธยนิยมบริโภคสัตว์บกมากกว่าสัตว์น้ำ
ข.  แกงปลาต่างๆ จะใช้เครื่องเทศแกงที่ใส่หัวหอมกระเทียมสมุนไพรเครื่องเทศเพื่นำมาใช้ในการดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา
ค.  อาหารของชาติต่าง ๆญี่ปุ่น  โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซียฝรั่งเศส เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ง.  อิทธิพลของอาหารจีนมีมากขึ้นในยุคกกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้รับเอาวัฒนธรรมอาหารต่างชาติดดยผ่านทางการทูตและการค้าแพร่หลายอยู่ในราชสำนัก
เฉลยข้อ  ก เพราะในสมัยอยุธยาจะนิยมบริโภภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บกโดยเฉเพาะสัตวืใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
12.

 

 

 

ครูผกา สั่งงานนักเรียนรายวิชาการประกอบอาหารไทย (เพิ่มเติม) ง 30230 ม.4

คำสั่ง  ให้นักเรียนที่เรียนรายวิชาการประกอบไทย  ง 30230  ม. 4  ทุกห้องเรียนทุกคน
1.  ใหันักเรียนเขียนหน้าปก  ใบรองปก  โดยใช้สมุดโรงเรียนเล่มเล็ก(ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด)
     1.1  ชื่อโรงเรียน
     1.2  ชื่อนักเรียน-ชั้น   เลขที่
     1.3  ชื่อรายวิชา
     1.4  ชื่อครูผู้สอน
     1.5  ชื่อรองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ
     1.6  ชื่อผู้อำนวยการ
     1.7  เริ่มใช้วันที่  18  พฤษภาคม- 30  กันยาคม
     1.8  เบอร์โทรศัพท์ผู้ปกครองที่ติดต่อได้
     1.9  เบอร์โทรนักเรียนและเพื่อนสนิท  5  คน
     1.10 เว็บไซต์นักเรียน
2.  จดบันทึกผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด(แผ่นถัดจากใบรองปก) การวัดผลประเมินผล  และภาระงานรายวิชาการประกอบอาหารไทย
3.  ศึกษาใบความรู้ที่  1  เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย(เว็บไซต์  krupaga)
4.  ศึกษาค่านิยม  12  ประการ  สมรรถนะของผู้เรียน  เศรษฐกิจพอเพียง  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดรายวิชาการประกอบอาหารไทย(เพิ่มเติม)รหัสวิชา ง 30230 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด  รายวิชาการประกอบอาหารไทย  รหัสวิชา  ง  30230  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  60  ชั่วโมง  จำนวน  1.5  หน่วยการเรียน
1.  นักเรียนสามารถบอกประวัติความเป็นมาของอาหารไทยได้
2.  นักเรียนสามารถอธิบายอาหารในชีวิตประจำวันและกำหนดรายการอาหารได้
3.  นักเรียนสามารถบอกอาหารหลัก  5  หมู่และสารอาหารได้
4.  บอกหลักการหุงต้มอาหารและวิธีสงวนคุณค่าทางอาหารโภชนาการได้
5.  บอกหลักสุขอนามัยในการประกอบอาหารได้
6.  นักเรียนสามารถเลือกซื้ออาหารสดอาหารแห้งและเก็บรักษาได้
7.  บอกหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
8.  นักเรียนสามารถเตรียม  ประกอบอาหารจานเดียว  จัดตกแต่งและบริการอาหารได้
9.  ปกิบัติการประกอบอาหารไทยประเภทต่าง ๆได้
10. จดบันทึกการปฏิบัติงาน  ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  กำหนดราคาขาย  จัดจำหน่ายและประเมินผลการปฏิบัติงานได้
การวัดผล/ประเมินผล
อัตราส่วนคะแนน  80/20
คะแนน  80  คะแนนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.  คะแนนก่อนสอบกลางภาค  10  คะแนน  ทดสอบผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 1(3คะแนน)ผลการเรียนรุ้ที่ 2(4 คะแนน)ผลการเรียนรู้ที่ 3(3 คะแนน)รวมคะแนนก่อนสอบกลางภาค  10  คะแนนโดยการสอบเก็บคะแนนหลังจากจบกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
2.  คะแนนสอบกลางภาคจำนวน  15  คะแนน (ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 1-5)
3.  คะแนนหลังสอบกลางภาคจำนวน  55  คะแนน (ผลการเรียนรู้ที่  6-10)
4.  คะแนนสอบปลายภาค  20  คะแนน (ผลการเรียนรู้ที่ 1-10)
5.  รวมคะแนนระหว่างภาค  80  คะแนน  คะแนนสอบปลายภาค  20  คะแนน
6.  รวมคะแนน  100  คะแนน
ภาระงานรายวิชาการประกอบอาหาร
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 2  ให้นักเรียนจัดทำรายการอาหาร  1  สัปดาห์  โดยให้แต่ละวันมี  5  มื้อ  มื้อเช้า  อาหารว่างมื้อเช้า  มื้อกลางวัน  อาหารว่างมื้อบ่าย  อาหารมื้อเย็น
ผลการเรียนรู้ที่/ตัวชี้วัดที่ 8  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ  6-8  คน  จัดทำวีดิโอการปฏิบัติอาหารจานเดียวในเรื่อง  วัสดุ  อุปกรณ์  ขั้นตอนการปฏิบัติอาหารจานเดียว  ขั้นตอนการเก็บล้างทำความสะอาดบริเวณปฏิบัติงานและอุปกรณ์  การประเมินผล  โดยเลือกกลุ่มละ  1  อย่าง
ผลการเรียน/ตัวชี้วัดที่ 9  ให้แบ่งกลุ่มปฏิบัติงานอาหารไทยประเภทต่าง ๆ ตามที่แต่กลุ่มจับสลากได้ กลุ่มที่ 1  ประเภทต้ม  กลุ่มที่  2 ประเภทผัด
กลุ่มที่ 3  ประเภทยำ  กลุ่มที่ 4  ประเภทน้ำพริกผักสด  และอื่น ๆ  นำเสนอผลงาน  ประเมินผล  นำเสนอผลงานใส่ไวนิวขนาด  80×160  พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 10 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจดบันทึกการปฏิบัติงาน  ทำบัญญชีรายรับรายจ่ายแต่ละงาน  กำหนดราคาขาย  รูปภาพการจัดจำหน่ายและประเมินผลการปฏิบัติงาน(ใช้สมุดโรงเรียนเล่มเล็ก)
กำหนดส่ง  15  กันยาย