Category Archives: ใบความรู้ที่ 6เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร ง 21221 ม. 1

ใบความรู้ที่ 6 เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร ง 21221 ม.1

ใบความรู้ที่  6
                                เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร  ง  21221 ม.  1 เวลา  20   นาที
การสุขาภิบาลอาหารหมายถึงการทำให้อาหารที่จะใช้บริโภคให้มีความปลอดภัยและมีประโยชน์
แก่ผู้บริโภคการสุขาภิบาลอาหารจะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเป็นสาเหตุหรือพาหะนำโรคภัย
ไข้เจ็บสุ่ผู้บริโภค เมื่อทุกคนต้องบริโภคอาหารจึงจำเป็นจะต้องช่วยกันระวังเรื่องการสุขาภิบาลอาหารจะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเป็นสาเหคุหรือพาหะนำโรคภัยไข้เจ็บมาสู่ผู้บริโภภค
การจัดอาหารสำหรับบริโภคจะต้องเน้นในเรื่องการสุขาภิิบาลอาหารที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
       1.  สถานที่ปรุงอาหาร  สถานที่ปรุงอาหารต้องสะอาดพื้นครัวเช็ดถูทุกวันโดยเฉพาะบริเวณ
หน้าเตาควรใช้น้ำร้อนผสมผงซักฟอกล้างขัดให้สะอาด ฝาและเพดานต้องทำความสะอาดทุกสัปดาห์
2.อุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร
อุปกรณ์เครื่องใช้ต้องเลือกที่ปลอดภัย  เช่น ไม่ใช้จานหรือชามพลาสติกใส่อาหารร้อนหรือ
อาหารที่มีไขมันน้ำมันควรใช้ชามกระเบื้องที่มีสีขาว  ไม่มีสี ดอก ลวดลายใด ๆ เพราะพลาสติก
อาจจะละลายได้ในอาหารร้อนหรืออาหารที่มีไขมันน้ำมัน ถ้าเป็นจาน ชามที่มีสี ตัวสีอาจจะ
ปะปนลงมากับอาหารที่รับประทาน สีมีโลหะหนักที่เป็นโทษต่อร่างกายมีหลายอย่าง  เช่น
โครเมียม  ปรอท  แคดเมียม  ตะกั่ว  สารหนู  การสะสมของโลหะหนักดังกล่าวในร่างกายอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง
        เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร  เช่น  มีด  หม้อ  เขียง  ครก  กระทะ  ทัพพี  ต้อง
สะอาดเขียงที่ใช้หั่นหมูหรือเนื้อสัตว์สดๆควรแยกกับเขียงที่ใช้หั่นผัก เช่น  แตงกวา  มะนาว
พริกขี้หนู  ผักสลัด  เพื่อป้องกันไม่ให้พยาธิหรือเชื้อโรคจากเนื้อสัตว์เข้าไปปนเปื้อนกับผัก
ที่ใช้รับประทานสดเขียงที่ใช้หั่นเนื้อถ้ามีรอยแตกหรือรอยแยกเพียงเล็กน้อยก็ควรจะเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรคเพราัเขียงที่มีรอยแตกไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึงและหลังจากใช้เขียงสับเนื้อแล้วควรขูดล้างให้สะอาดทุกครั้ง
3.วัสดุที่นำมาประกอบอาหาร
            วัสดุที่นำมาประกอบอาหารต้องสะอาดและมีคุณภาพดี
             3.1ของสด  ได้แก่  หมู  เนื้อวัว  ไก่  ปลา  กุ้ง  หอย  ปู  ควรเลือกที่ใหม่และสดเพื่อนำมาปรุงอาหารที่มีรสชาติอร่อยได้โดยไม่ต้องใส่ผงชูรส
             3.2ของแห้ง  ควรหลีกเลี่ยงสื่งต่อไปนี้
                    1.  สารที่ทำให้เกิดเชื้อรา  ซึ่งมีในของแห้ง  เช่น  ข้าวสาร  เลือกเม็ดที่มีสีดำและ
สีเหลืองออก  กระเทียมให้แกะส่วนที่เป็นสีดำออกจากนั้นให้แกะเป็นกลีบปอกเปลือกล้าง
ให้สะอาด  กะปิ  พริกแห้งหมั่นนำออกตากแดดบ่อย ๆ เพื่อให้แห้งสนิทและควรเก็บให้พ้นความชื้น  พริดแห้งต้องใหม่  สด และไม่ควรนำพริกเก่ามาปรุงอาหาร  กุ้งแห้งควรเลือกซื้อที่ไม่ใส่สี
ควรนำมาตากแดดและเก็บไว้ในที่แห้ง
                   2.สารบอแรกซ์  ซึ่งเป็นสารเพิ่มความกรอบ ถ้ามีสะสมในร่างกายจะทำให้เกิด
โรคมะเร็งได้
                  การทดสอบสารบอแรกซ์  นำอาหารที่สงสัยหั่นบาง ๆ แล้วสับละเอียด ใส่น้ำเอา
เอากระดาษขมิ้นหรือผ้าทาขมิ้นนำไปแช่ในน้ำที่ผสมอยู่กับอาหารถ้ากระดาษขมิ้น
หรือผ้าทาขมิ้นเปลี่ยนจากสีเหลืองเป้นสีแดงแสดงว่าอาหารนั้นมีบอแรกซ์ไม่ควรนำมารับประทานแต่ถ้ากระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าไมมีบอแรกซ์
3.ดินประสิว  อาาหารที่ใส่ดินประสิว  ได้แก่  กุนเชียง  ไส้กรอก  หมูแฮม  ถ้าสีของ
อาหารเหล่านี้สีแดงจัดแสดงว่าใส่ดินประสิวมากดังนั้นควรเลือกซื้อที่มีสีอ่อน ๆ ไม่แดงจัด
                4.สารฟอกสี  อาหารที่ใส่สารฟอกสี ได้แก่  น้ำตาลทรายขาว  ควรเลือกซื้อน้ำตาล
ทรายที่มีสีขาวไม่จัด  สีน้ำตาลหรือสีรำ
                5.สีผสมอาหารประเภทสีวิทยาศาสตร์  เช่น ซอสมะเขือเทศราคาถูกที่ใส่หมูแดง
และใส่เย็นตาโฟที่มีส่วนผสมของแป้งกับสี  การทำขนมถ้าจำเป็นต้องใส่สีควรใช้สีจาก
ธรรมชาติหรือสีีผสมอาหารที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพและใช้สีอ่อนที่สุด
               6.ผงชูรส  อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรสได้แก่  ซุปก้อน  น้ำปลาราคาถูก  ชีอิ้วหรือ
ซอสราคาถูกๆ การประกอบอาหารทุกอย่างไม่ควรใช้ผงชูรส เพราะความอร่อยของอาหาร
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผงชูรสขึ้นอยู่กับการเลลือกเนื้อสัตว์และผักที่สด คุณภาพดีและวิธีทำที่ดีเป็น
สำคัญ
              7.ผงเนื้อเปื่อย  ไม่ควรใช้ผงเนื้อเปื่อยกับเนื้อที่เปื่อยยาก  เช่น  เนื้อวัว  แต่ควรทำให้เนื้อเปื่อยโดยวิธีการตุ๋น  และการตุ๋นต้องระวังเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ด้วยคือไม่ควรตุ๋นนานจนเกินไป
4.  วิธีการปฏิบัติหรือการปประกอบอาหาร
      4.1  หุงต้มอาหาารให้สุก  โดยเฉพพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต้องสุกและพยาธิตาย
การหุงต้มที่พอเหมาะควรใช้เวลาควรใช้เวลาที่จุดเดือดประมาณ  10  นาทีถ้าปิ้งหรือย่าง
จะต้องให้อาหารนั้นสุกจริง ๆ อาหารที่สุกแล้วควรนำมาบริโภคทันทีถ้ายังไม่บริโภคควร
เก็บไว้ในตู้กับข้าวถ้าวางบนโต๊ะอาหารให้ใช้ฝาชีครอบไว้เพื่อป้องกันแมลงวันและสัตว์อื่น
     4.2  การล้างช้ามและอุปกรณ์การประกอบอาหาร  ภาชนะเหล่านี้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดด
2 – 3  ครั้งไม่ควรเช็ดจาน  ชาม  แต่ให้คว่ำไว้จนแห้งแล้วเก้บไว้ในตู้ทึบที่หนูและแมลงสาบ
หรือสัตว์อื่นไม่รบกวนเมื่อบริโภคอาาหารแล้วต้องล้างภาชนะให้สะอาดทันททีอย่าแ0ช่
หรือวางทิ้งไว้
     4.3  การล้างผักผ0ลไม้  ผักผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดเพื่อป้องกันอันตราย0จากยาฆ่า
แมลงควรล้างให้สะอาดโดยเปิดน้ำแรง ๆหรือล้างโดยแแช่น้ำสารส้มหรือล้างโดย
แช่โชดาไบคาร์บอเนตแต่การแช่ด่างจะทำลายวิตามินวี จึงควรแช่สารส้มจะดีกว่าหรือ
วิธธีการลวกและล้างหลาย ๆ ครั้งถ้าเป็นถั่วเมล็ดแห้งควรล้างน้ำเดือดเพื่อป้องกันยาฆ่าแมลง
    4.4  การคั้นผลไม้ที่มีเปลือก  ควรปอกเปลือกออกก่อนคั้น เพื่อป้องกันไมม่ให้ยาฆ่าแมลงไปผสมกับน้ำผลไม้  เช่นการคั้นส้มเขียวหวาน  การคั้นมะนาว
    4.5  การทำเครื่องดื่ม  ไม่ควรรินน้ำร้อนจากกาน้ำร้อนลงไปในกระติกน้ำแข็งที่ทำด้วย
พลาสติกเพราะเนื้อพลาสติกอาจหลุดออกมาผสมกับเครื่องดื่ม
    4.6  น้ำที่ใช้ในกาารหุงต้ม  ถ้าไม่มีน้ำปะปามีโอ่งทีี่มีฝาปิดมิดชิดควรมีภาชนะในการตัก
เพื่อไม่ให้จุ่มมือลงไปเพราะจะทำให้น้ำสกปรกนำ้ดื่มควรใส่ในภาชนะที่มักกี๊อกไขจะต้องไม่เปิดฝาตักถ้าภาชนะไม่สสะอาดจะทำให้น้ำไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค
   4.7  ในการประกอบอาหารทุกครั้งเศษอาหารต้องทิ้งในถังที่มีฝาปิดมิดชิด
เมื่อประกอบอาหารเสร็จต้องเห็บเศษออาหารไปทิ้งในถังขยะรวมหรือขุด0หลุมฝัง
อาาหารออาาจเป็นสาเหตุในการนำเชื้อโโรคหลายชนิดเข้าสู่ร่างกายการสุขาภิบาลอาหาร
ต่าง ๆจะช่วยให้ป้องกันอันตรายได้ถ้าต้องการให้ร่างกายได้อาหารเต็มที่ต้องปฏิบัติ
ตามหลักสุขาาภิบาลอาหาร