Category Archives: การงาน 5 ง23101 ม.3 ปี 63

ข้อสอบประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องอาหารประเภทสำหรับ รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
ตัวชี้วัด  อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง 1.1 ม. 3/1)
1.เพราะเหตุผลในข้อใดอาหารจึงมีเครื่องเคียงเครื่องแนม.
ก.  เพิ่มความสวยงาม             ข.  ทำให้อาหารมีความน่าสนใจ
ค.  เสริมรสซึ่งกันและกัน       ง.  สร้างทางเลือกในการรับประทานอาหาร
เฉลยข้อ  ค  เพราะอาหารหลักในสำรับและเครื่องเคียงเครื่องแนมมีรสชาติ
แตกต่างกันแต่เมื่อรับประทานด้วยกันแล้วจะมีรสชาติอร่อย
2.ข้อใดเป็นการประกอบอาหารสำรับแบบสงวนคุณค่า.
ก.  การนำน้ำมะขามเปียกมาปรุงรสอาหารโดยไม้ผ่านการต้ม
ข.  การใส่ผักลงไปในแกงอ่อมหลังปลาสุกแล้วปิดไฟทันที
ค.  การคั้นน้ำกะทิจากมะพร้าวขูดจำนวนน้อย    ง.  การเคี่ยวหมูในแกงฮังเลจนนุ่ม
เฉลยข้อ  ข  เพราะการใช้ความร้อนในระยะสั้นให้ผักสุกจะช่วยสงวนคุณค่า
ของผักไว้ได้บางสาวนผู้บริโภคจึงยังได้รับประโยชน์จากการรับประทานผักนั้น
3.ขั้นตอนใดทำให้น้ำพริกหนุ่มมีกลิ่นหอม.
ก.  ล้างพริกหนุ่ม กระเทียม หอมแดง     ข.  เติมเกลือและน้ำตาลทรายในน้ำพริกหนุ่ม
ค.  เผาพริกหนุ่ม  กระเทียม หอมแดงพอเหลือง   ง.  โขลกพริกหนุ่มกระเทียมหอมแดง
เฉลยข้อ  ค.  เพราะการเผาพริกหนุ่ม กระเทียม หอมแดงจะช่วยเพิ่มกลิ่นหอม
เมื่อนำไปตำรวมกันเป็นน้ำพริกหนุ่มจึงทำให้น้ำพริกหนุ่มมีกลิ่นหอมไปด้วย
4.ข้อใดเป็นการประกอบอาหารสำรับอย่างมีอนามัย.
ก.  ล้างวัตถุดิบ อุปกรณ์ทุกอย่าง ก่อนประกอบอาหาร
ข.  ใช้ถ้วยตวงและช้อนตวงในการตวงเครื่องปรุง
ค.  วัตถุดิบทุกอย่างต้องลวกก่อนประกอบอาหาร
ง.  ปรุงรสอาหารหลังจากอาหารสุกแล้ว
เฉลยข้อ  1  เพราะการล้างวัตถุดิบอุปกรณ์ทุกอย่างก่อนประกอบอาหารจะช่วย
ขจัดสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดอยู่กับวัตถุดิบและอุปกรณ์ผู้บริโภคจึงปลอดภัย
5.การตกแต่งจานคั่วกลิ้งเนื้อให้น่ารับประทานทำได้อย่างไร
ก.  โรยด้วยใบมะกรูดและพริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย
ข.  หั่นข่าเป็นแว่นวางไว้ทั่วจาน      ค.  หั่นพริกเป็นท่อนๆโรยให้ทั่ว
ง.  วางใบมะกรูดเป็นใบๆ     เฉลยข้อ  1  เพราะใบมะกรูดมีสีเขียวและพริกชี้ฟ้าแดง
มีสีแดงเมื่อนำมาตกแต่งจานคั่งกลิ้งเนื้อจะทำให้มีสีสวยงามและรับประทานได้ด้วย
ตัวชี้วัด  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (ง 1.1 ม. 3/2)
6.ถ้าเพื่อนถูกมีดบาดขณะเตรียมอาหารนักเรียนจะทำอย่างไร.
ก.  บอกเพื่อนคนอื่นให้ไปถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ข.  รีบพาเพื่อนไปทำแผลแล้วทำงานแทนเพื่อน
ค.  หันไปดูสักครู่แล้วทำงานตนเองต่อไป         ง.  นั่งดูเฉยๆไม่ต้องทำอะไร
เฉลยข้อ  ข  เพราะเป้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมีสติและมีคุณธรรม
เพราะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนที่กำลังเดือดร้อน
7.การปฏิบัติตนตามข้อใดจะทำให้เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือทำงานจนสำเร็จ.
ก.  ตำหนิเพื่อนร่วมงานตั้งแต่เริ่มทำงาน     ข.  รับประทานอาหารร่วมกันก่อนทำงาน
ค.  แจกขนมให้เพื่อนร่วมงานก่อนลงมือทำงาน
ง.  บอกประโยชน์ที่ผู้ร่วมงานทุกคนจะได้รับเมื่อทำงานเสร็จ
เฉลยข้อ  ง  เพราะเมื่อผู้ร่วมงานทุกคนทราบว่าตนเองและกลุ่มจะได้รับประโยชน์
อะไรบ้างจากการทำงานก็จะเป็นแรงจูงใจเพื่อให้ทำงานสำเร็จได้
ตัวชี้งวัด  อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อประหยัดพลังงาน
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม(ง 1.1 ม. 3/3)
8.ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานเพื่อประหยัดเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร.
ก.  เปิดเตาไฟโดยให้ดปลวไฟอ่อนที่สุด
ข.  นำอาหารทุกอย่างไปเผาไฟก่อนนำมาปรุงรสบนเตาแก๊ส
ค.  ประกอบอาหารไม่ให้สุกมาแล้วยกลงจากเตาอย่างรวดเร็ว
ง.  เตรียมเครื่องปรุงทุกอย่างให้พร้อมแล้วประกอบอาหารบนเตาให้เสร็จอย่างรวดเร็ว
เฉลยข้อ  4  เพราะการเตรียมเครื่องปรุงให้พร้อมจะช่วยประหยัดเวลาในการ
ปรุงรสชาติเมื่อปรุงรสอย่างรวดเร็วจะประหยัดเชื้อเพลิง
9.มะพร้าวขูดขาวที่คั้นกะทิแล้วสามารถสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้อีก.
ก.  นำไปขัดล้างจามที่มีกลิ่นคาว     ข.  นำไปโรอยต้นไม้เพื่อเป็นปุย
ค.  นำไปผสมดินปั้นเป้นภาชนะ       ง.  นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
เฉลยข้อ  ง  เพราะกากมะพร้าวที่เหลือจากการคั้นน้ำกะทิสามารถเป็นวัตถุดิบ
ในการผสมเป็นอาหารสัตว์ได้โดยไม่นำไปทิ้งให้เกิดกลิ่นเหม็น
10.การเด็ดยอดผักมารับประทานกับน้ำพริกยังคงเหลืองลำต้น  ใบ และรากไว้
เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไร.
ก.  ต้นผักยังคงเจริญเติบโตและให้ออกซิเจนต่อไป
ข.  เป้นการกระตุ้นให้ผักแตกยอด         ค.  เป็นการลดยาฆ่าแมลง
ง.  เป็นการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง     เฉลยข้อ  1  เพราะต้นผักเมื่อยังมีรากก็สามารถ
ดูดน้ำได้และอาหารจากดินไปเลี้ยงลำต้น ใบรวมถึงทำให้ต้นผักเจริญเติบโต
แตกใบกิ่งก้านต่อไป

กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการเตรียมประกอบจัดตกแต่งอาหารสำรับภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง23101 ม.3

(กิจกรรมคาบที่ 3 – 6  งานปฏิบัติ) อาหารสำรับภาคกลาง ภาคเหนือ
อาหารสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอาหารสำรับภาคกลาง

กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการเตรียม ประกอบ จัดตกแต่ง
อาหารประเภทสำรับภาคกลาง  ภาคเหนือ  ง23101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
1.  ให้นักเรียนศึกษา  การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่งอาหารสำรับภาคกลาง
และภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และอาหารสำรับภาคใต้
(ศึกษาจาใบความรู้  วรสาร  เว็บไซต์การเรียนการสอน  Google
หนังสือเรียนรายวิชาการงานอาชีพ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ทุกสำนักพิมพ์)
2.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆละ 8-10  คน ปฏิบัติงานการจัดอาหารสำรับ 
ภาคกลางและอาหารสำรับภาคเหนือและนำเสนอผลงานพร้อมอธิบายทุกกลุ่ม)
     -เตรียมส่วนผสม  เครื่องปรุง อุปกรณ์ ในการประกอบจัดและตกแต่ง
อาหารประเภทสำรับภาคกลาง ภาคเหนือ และอธิบายอาหารแต่ละสำรับมีอาหารครบ  5  หมู่
     -อธิบายการประกอบอาหารอย่างมีสุขอนามัยและสงวนคุณค่า เช่น
ผู้ประกอบอาหารควรล้างมือให้สะอาด  ตัดเล็บให้สั้น สวมผ้ากันเปื้อน ไม่ใช้มือหยิบ
      -อธิบายการจัดอาหารใส่ภาชนะเหมาะสมและสวยงามเช่นผัดใส่จานเปล
อาหารประเภทน้ำพริกจัดใส่ถ้วยเล็กและจัดอาหารทุกอย่างวางบนถาด โตก พาน
      -อธิบายการตกแต่งอาหารให้สวยงาม น่ารับประทานด้วยวัสดุอะไรบ้าง
และบอกเคล็ดลับในการตกแต่งวัสดุ เช่น พริกชี้ฟ้ากรีดเป็นดอกไม้แช่น้ำให้กลีบบาน
มะเขือเทศแต่งเป็นดอกกุหลาบ โหระพา  ผักชีเด็ดเป็นช่อ ๆ

กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องอาหารประเภทสำรับรายวิชาการงานอาชีพ 5 ง23101

หน่วยการเรียนรู้ที่  2 เรื่องอาหารประเภทสำรับ  จำนวน  6  คาบ

ตัวชี้วัด 1  อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ(ง 1.1 ม.3/1)
2  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (1.11 ม.3/2)
3  อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ง 1.1 ม.3/3)

กิจกรรมการเรียนการสอนคาบที่ 1 ใหันักเรียนที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ 5 ง23101 ม.3
ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัดที่  4 บอกความหมายความสำคัญ ประเภท หลักการเตรียม
อาหารประเภทสำรับ  บันทึกลงในสมุดรายวิชาการงานอาชีพ 5 ง23101 ม.3
ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องอาหารประเภทสำรับ
คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  อาหารประเภทสำรับหมายถึงข้อใด.
1  อาหารว่าง    2  เป็นอาหารจานเดียว
3  เป็นอาหารที่ให้ความอร่อยเมื่อรับประทานชนิดเดียว
4  อาหารที่จัดเป็นชุดมีอาหารหลายอย่างหลายรสชาติรับประทานร่วมกันได้
2.  อาหารประเภทสำรับนิยมจัดในอาหารมื้อหลักใด.
1.  มื้อเช้า     2.  มื้อกลางวัน   3.  มื้อเย็น    4.  ถูกทุกข้อ
3.  อาหารประเภทสำรับมีความสำคัญยกเว้นข้อใด.
1  มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเป็นอาหารครบ 5 หมู่
2  แสดงถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทย
3  อาหารประเภทสำรับไม่สะดวกต่อการรับประทานและบริการ
4  เหมาะสำรับงานจัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษเพราะมีความประณีตในการจัดตกแต่ง
4.  อาหารประเภทสำรับแบ่งตามลักษณะอาหารได้  3  ลักษณะยกเว้นข้อใด.
1  อาหารที่ต้องมีเครื่องเคียงและเครื่องแนม
2  อาหารที่ต้องจัดชุดเข้ากับข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก
3  อาหารที่ต้องคลุกเคล้าด้วยกันเป็นอาหารจานเดียว
4  อาหารที่ต้องมีขนมหวานอาหารคาวและผักผลไม้
5.  เครื่องเคียงเป็อาหารคนละอย่างแต่นำมารับประทานด้วยกัน
เพื่อเสริมรสชาติซึ่งกันและกัน  เนื้อเค็มเคียงกับข้อใด.
1  แกงส้ม     2  แกงเผ็ด    3  แกงอ่อม     4  แกงเขียวหวาน
6.  เครื่องแนมเป็นอาหารที่รับประทานคู่กันเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อย
มีลักษณะเป็นชุดเดียวกันข้าวคลุกกะปิรับประทานคู่กับอาหารในข้อใด.
1.  เนื้อทอด     2  ปลาทอด      3  หมูพะโล้    4  หมูหวาน
7.  ข้อใดคือหลักการเตรียมอาหารประเภทสำรับ
1  เตรียมส่วนผสม  เครื่องปรุง วัสดุอุปกรณ์และจัดตกแต่งอาหารก่่อนประกอบ
2  ประกอบอาหารอย่างมีสุขอนามัยและสงวนคุณค่าทางอาหาร
3  จัดอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสมและสวยงามและตกแต่งอาหารให้สวยงาม
น่ารับปรทานด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
4  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
กิจกรรมการเรียนการสอน  คาบที่  2
ให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่อง ความหมายความสำคัญ  ประเภทอาหารประเภทสำรับ
หลักการเตรียมอาหารประเภทสำรับ

ข้อสอบอัตนัยหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ข้อสอบแบบอัตนัยหน่วยการเรียนรู้ที่  1 เรื่องการดูแลเสื้อผ้า  ง23101  ม. 3
คำสั่ง  ให้นักเรียนตอบคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์
1.การดูแลเสื้อผ้าหยายถึง…………………………….
2.การดูแลเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีและประณีตมีความสำคัญอย่างไรบอกมาอย่างน้อย  2  ข้อ
3.เสื้อผ้าแบ่งตามชนิดของเส้นใยที่นำมาทอเป็นผืนผ้าแบ่งได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
4.ให้นักเรียนบอกหลักการดูแลเสื้อผ้าอย่างน้อย  2  ข้อ
5.ให้นักเรียนบอกวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้ามา  2 ชนิด
และบอกประโยชน์อย่างน้อย  2  ข้อ
6.ให้นักเรียนเลือกบอกวิธีการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า  2  อย่างคือ
รอยเปื้อนชา  กาแฟ  และรอยเปื้อนน้ำหมึก

สรุปภาระงานหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

(คาบที่  1-4)  ตัวชี้วัดที่  1-3

ภาระงานหน่วยการเรียนรู้ที่  1  การดูแลเสื้อผ้า  รหัสวิชา  ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1.บันทึกตัวชี้วัดรายวิชาการงานอาชีพ  5
2.สรุปองค์ความรู้ตัวชี้วัดที่  1 เรื่องความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการดูแลเสื้อผ้า
วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
3.สรุปองค์ความรู้ตัวชี้วัดที่ 2 เรื่องวิธีการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า
ตัวชี้วัดที่  3  ดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ ได้
4.ปฏิบัติงานวิธีการดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ คนละ  1  ประเภทโดยบันทึกคลิปวิดิโอ
พร้อมบรรยายขั้นตอนการปฏิบัติงาน (ส่งการปฏิบัติงานวิธีการดูแลเสื้อผ้าเมื่อ
นักเรียนมาโรงเรียน
5.ให้นักเรียนทำข้อสอบประจำหน่วยการเรียนรู้ที่  1  การดูแลเสื้อผ้า
6.ทำแบบทดสอบตัวชี้วัดที่  1 เรื่องความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการดูแลเสื้อผ้า
วัสดุ  อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า

ข้อสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวบันทึกลงในสมุดรายวิชาการงาน 5
ตัวชี้วัดกลาง  อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง  1.1  ม.3/2)
1.  เพราะเหตุใดจึงต้องขจัดรอยเปื้อนก่อนซักเสื้อผ้า
1  เพราะเนื้อผ้าจะเหนียวทนทานมากขึ้น    2  เพราะจะทำให้เสื้อผ้ามีสีสดยาวน
3  เพราะช่วยซักผ้าสะอาดได้ง่าย              4   เพราะประหยัดค่าสารซักฟอก
2.  การสำรวญสัญลักษณ์บนป้ายผ้าที่ติดมากับเสื้อผ้าก่อนทำความสะอาดมีประโยชน์อย่างไร
1  เป็นการฝึกทักษะการสังเกต                 2  ช่วยให้ใช้เครื่องซักผ้าได้ถูกวิธี
3  ช่วยประหยัดเวลาในการซักผ้า             4  ทำความสะอาดเสื้อผ้าได้อย่างถูกวิธีและถนอมเสื้อผ้า
3.  ถ้าต้องการให้ผ้าลินินคงรูปควรทำอย่างไร
1  ลงแป้งให้ผ้าก่อนซักรีด                        2  ซักเสร็จแล้วนำมารีดทันที
3  แซ่ผ้าในสารฟอกขาวก่อนซักรีด           4  ใช้น้ำยาซักแห้งแทนสารซักฟอก
4.  การรีดผ้าใยกี่งสังเคราะห์ด้วยอุณหภูมิต่ำมีวัตถุประสงค์ตรงกับข้อใด
1  ป้องกันเนื้อผ้าสีซีด                  2  ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
3  ป้องกันเนื้อผ้าหดตัว                4  ป้องกันเนื้อผ้าละลาย
5.  วิธีการขจัดรอยเปื้อนปากกาลูกลื่นให้สะอาดควรปฏิบัติอย่างไร
1  ใช้ฟองน้ำชุดแอลกอฮอล์เช็ด  แล้วนำไปซักตามปกติ
2  ใช้สารส้มถูบริเวณรอยเปื้อนแล้วนำไปซักตามปกติ
3.  ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดรอยเปื้อนแล้วนำไปซักตามปกติ
4  ใช้น้ำมะนาวเช็ดลงบนรอยเปื้อน แล้วนำไปซักตามปกติ
ตัวชี้วัด  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม(ง  1.1  ม.  3/2)
6.  ถ้าต้องการให้การดูแลเสื้อผ้าเสร็จเร็วและสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานควรปฏิบัติตามข้อใด
1  จัดเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์การดูแลเสื้อผ้าให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติงาน
2  ให้สมาชิกทุกคนจับฉลากว่าแต่ละคนจะต้องทำงานอะไรบ้าง
3  ให้สมาชิกทุกคนร่วมลงมติเลือกคนทำงานเพียงคนเดียว
4  วางแผนการทำงานและแบ่งงานให้สมาชิกในกลุ่มทำทุกคน
7.  ข้อใดเป็นการดูแลเสื้อผ้าร่วมกันของสมาชิกในกลุ่มอย่างมีคุณธรรม
1  ผักบุ้งจีน  ขอให้เพื่อนซักเสื้อผ้าแทนตนเอง  เพราะตนเองแพ้สารซักฟอก
2  ณเดชไปซื้อน้ำยาปรับผ้านุ่มมาใช้กับเสื้อผ้าเพื่อให้มีกลิ่นหอม
3  สุวิภาเห็นเพื่อนยกกาละมังซักผ้าที่มีน้ำหนักมากจึงเข้าไปช่วยยก
4  ชลารินทร์บอกให้เพื่อนหยิบอุปกรณ์การรีดผ้าทุกชนิดให้ตนเอง
ตัวชี้วัด  อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อประหยัดพลังงาน ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อม(ง  1.1  ม. 3/3)
8.  การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการดูแลเสื้อผ้าขาวตรงกับข้อใด
1  ไม่เปิดไฟฟ้าขณะซักผ้า         2  รีดผ้าหลายตัวในครั้งเดียว
3  ตากผ้ากลางแดดจัดให้แห้งสนิท     4  ใช้เครื่องซักผ้าแทนการใช้มือซักผ้า
9.  ข้อใดเป็นการใช้ทรัพยากรในการดูแลเสื้อผ้าที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด
1  ใช้สารฟอกขาวผสมสารซักฟอกในการซักผ้าในอัตรา  50/50
2  ใช้น้ำล้างผ้าให้สะอาดเพียง  2  กะละมัง
3  ใช้สารซักฟอก  1ช้อนกับเสื้อผ้า  10  ตัว
4  ใช้น้ำผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มครึ่งกะละมังต่อผ้า  10  ตัว
10. ข้อใดเป็นการดูแลเสื้อผ้าแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1  เทสารซักฟอกลงในท่อน้ำทิ้ง        2  นำน้ำสารซักฟอกไปล้างรถยนต์
3  นำน้ำสารซักฟอกไปรดน้ำต้นไม้   4  เทน้ำสารซักฟอกลงในแม่น้ำลำคลอง
เฉลยข้อ  1  ข้อ  3  เพราะการขจัดรอยเปื้อนก่อนซักเสื้อผ้าจะช่วยลดรอยเปื้อนให้น้อยลง
จะซักผ้าให้สะอาดได้ง่าย
เฉลยข้อ  2  ข้อ  4  เพราะสัญลักษณ์บนป้ายผ้าจะบอกวิธีดูแลที่เหมาะสมกับเสื้อผ้านั้น ๆ
เมื่อปฏิบัติตามจะเป็นการถนอมเสื้อผ้า
เฉลยข้อ  3  ข้อ  1  เพราะแป้งในที่นี้คือแป้งมันสำปะหลังเมื่อแห้งจะแข็งตัว
ถ้านำผ้าลินินไปลงแป้งแล้วนำไปซักรีดเมื่อแห้งจะแข็งคงรูป
เฉลยข้อ  4  ข้อ  4  เพราะผ้าใยกึ่งสังเคราะห์มีส่วนผสมของพลาสติก
เมื่อถูกความร้อนสูงจึงละลายได้
เฉลยข้อ  5  ข้อ1  เพราะแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยทำให้หมึกปากกาเจือจางลงซึ่งเมื่อนำไป
ซักตามปกติจะสามารถขจัดรอยเปื้อนได้ง่าย
เฉลยข้อ  6  ข้อ  4  เพราะการวางแผนการทำงานและแบ่งงานให้สมาชิกในกลุ่ม
ทำทุกคนเป็นการลดความสับสนในการทำงานจึงทำให้การดูแลเสื้อผ้า
เสร็จเร็วและสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน
เฉลยข้อ  7  ข้อ  3  เพราะการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อพบว่าเขาเดือดร้อนแสดงถึงการมีคุณธรรมอย่างหนึ่ง
เฉลยข้อ  8  ข้อ 2  เพราะการรีดผ้าหลายตัวในคราวเดียวกันเป็นการเปิดใช้งานเตารีด
อย่างต่อเนื่องไม่มีการเปิด ๆๆ ปิด ๆๆจึงประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้
เฉลยข้อ  9  ข้อ 3  เพราะสารซักฟอกในปัจจุบันมีความเข้มข้นและมีประสิทธิภาพสูง
เมื่อใช้เพียง  1ช้อนกับเสื้อผ้า  10 ตัวจึงเป็นการประหยัดสารซักฟอกและคุ้มค่ากับผลงาน
เฉลยข้อ  10  ข้อ  1  เพราะการเทสารซักฟอกลงในท่อน้ำทิ้งจะมีการตกตะกอน
หรือย่อยสลายไปก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองจึงไม่ทำลายคุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลอง
และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง

 

ภาระงานที่ 2 เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ภาระงานที่  2 เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ตัวชี้วัดที่  2  บอกวิธีการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
คำสั่ง  ให้นักเรียนทุกคนทุกชั้นเรียน(ม.3/1-3/10)ที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ 5 ง23101
ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใบความรู้ที่ 1.5 เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
(จากเว็บไซต์การเรียนการสอนการงาน  Krupaga)
1.ให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า ลงในสมุดรายวิชาการงานอาชีพ 5
ให้ส่งงานในสัปดาห์ที่นักเรียนมาโรงเรียน (5  คะแนน)

ใบความรู้ที่ 1.5 การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใบความรู้ที่  1.5 เรื่องการขจัดรอยเปื้อน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า  ม.3
ตัวชี้วัดที่  2  บอกวิธีขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
วิธีการดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ
การดูแลเสื้อผ้าแต่ละประเภทให้สะอาดคงสภาพดีใช้งานได้นานต้องรู้จักวิธีการ
ขจัดรอยเปื้อน  ซัก  ตากและเก็บรักษาที่ถูกต้อง
การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า  การทำกิจกรรมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำวัน เช่นเล่นกีฬา
รับประทานอาหาร  เกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้เสื้อผ้าที่สวมใส่เปรอะเปื้อนจากคราบสกปรก
ซึ่งไม่ขจัดทันทีที่พบจะทำให้คราบสกปรกผังแน่นในเส้นใยไม่สามารถซักออกได้
รอยเปื้อนบนเสื้อผ้าที่พบประจำมีวิธีการขจัดดังนี้
1.รอยเปื้อนชา  กาแฟ  ถ้ารอยเปื้อนยังไม่แห้งให้นำแป้งข้าวเจ้าแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งฝุ่น
โรยลงบนรอยเปื้อนทิ้งไว้ให้แห้งใช้แปรงขนอ่อนปัดแป้งออกแล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอกปกติ
2.รอยเปื้อนเลือด  ถ้าเป็นผ้าฝ้ายหรือลินินให้แช่น้ำและใช้แอมโมเนียเจือจางเช็ดแล้วนำไปซัก
หรือใช้แป้งมันผสมน้ำเข้มข้นเหมือนแป้งเปียกทาตรงส่วนรอยเปื้อน ทิ้งไว้ประมาณ  4  ชั่วโมง
แป้งมันจะดูดซับรอยเปื้อนแล้วจึงนำไปซักตามปกติ
3.รอยเปื้อนหมากฝรั่ง  ขูดหมากฝรั่งออกด้วยสันมีดแล้วใช้น้ำแข็งถูเพื่อให้หมากฝรั่งแข็งตัว
แล้วค่อย ๆ แกะหมากฝรั่งออกจากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดรอยหมากฝรั่ง
และนำไปซักในน้ำสบู่อ่อน
4.รอยเปื้อนครีม  เนย  น้ำมัน  นำแป้งฝุ่นโรยตัวบนรอยเปิ้อนใช้กระดาษชำระวางทับแล้ววางเตารีด
ที่ร้อนพอควรทับบนกระดาษจนแป้งดูดคราบมันออกหมดจึงนำไปซักตามปกติ
5.รอยเปื้อนน้ำหมึก  โรยเกลือป่นตรงรอยเปื้อนแล้วบีบน้ำมะนาวลงไปให้ชุ่มผึ่งแดดไว้ครึ่งวัน
แล้วนำไปซัก
6.รอยเปื้อนสนิม  นำผ้าชุบน้ำให้เปียกก่อน  บีบน้ำมะนาวลงไปรอยเปื้อนทิ้งไว้สักครู่แล้วนำไปซัก
7.รอยเปื้อนยางผลไม้  ใช้สารส้มถูบริเวณรอยเปื้อนแล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอก
8.รอยเปื้อนโคลน  ปล่อยให้โคลนแห้งแล้วใช้แปรงปัดออกจากนั้นซักด้วยน้ำเย็นหลายๆครั้ง
จนไม่มีน้ำโคลนออกมาจึงนำผ้าไปซักตามปกติ
9.รอยเปื้อนยาแดง  เช็ดรอยเปื้อนด้วยแอมโมเนียหรือซักด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำ
10.รอยเปื้อนรา(เล็กน้อย)นำผ้าไปซักในน้ำสบู่ร้อน ๆหรือบีบน้ำมะนาวลงไปตรงที่มีราขึ้น
แล้วแข่ผ้าในสารซักฟอกซักครู่แล้วซักผ้าตามปกติ
11.รอยเปื้อนดินสอ  ใช้ยาสีฟันป้ายลงบนรอยดินสอแล้วขยี้จากนั้นนำไปซักตามปกติ
12.รอยเปื้อนเหงื่อไคล  ซักด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อยแล้วนำไปซักตามปกติ

ภาระงานตัวชี้วัดที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ภาระงานตัวชี้วัดประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1  (5  คะแนน)
ตัวชี้วัดที่  1  อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ภาระงานที่  1  ให้นักเรียนทุกห้องเรียนทุกคนที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ  5 ง23101 ม.3
ศึกษาใบความรู้ที่  1.1  เรื่องความหมายและความสำคัญของการดูแลเสื้อผ้า
ศึกษาใบความรู้ที่  1.2  เรื่องประเภทของเสื้อผ้า
ศึกษาใบความรู้ที่  1.3  เรื่องหลักการดูแลเสื้อผ้า
ศึกษาใบความรู้ที่  1.4  เรื่องวัสดุ  อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วให้นักเรียนทุกคนทุกห้องเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่อง
ความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ลงในสมุดรายวิชาการงานอาชีพ 5  (นำภาระงานที่  1  ส่งครูวันที่นักเรียนมาโรงเรียนค่ะ)
มีนักเรียนคนไหนห้องใดไม่เข้าใจภาระงานที่ 1 สอบถามคุณครูได้ค่ะเข้าไปที่แสดงความคิดเห็นค่ะ

ใบความรู้ที่ 1.4 เรื่องวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใบความรู้ที่  1.4  เรื่องวัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ตัวชี้วัดที่  1  อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการวัสดุอุปกรณ์
และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
การดูแลเสื้อผ้า  จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ  อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
เพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน  ดังนี้
1.สารซักฟอก  เช่น  น้ำยาซักผ้า  ผงซักฟอก  น้ำยาซักแห้ง  ใช้ซักผ้าให้ขาวสะอาด
2.สารฟอกขาว  ใช้ขจัดรอยเปื้อนให้ผ้าขาวสะอาด
3.สารปรับผ้านุ่ม  ใช้ลดความกระด้างของผ้าและช่วยลดการดูดซึมของน้ำ
4.สารตกแต่งผ้าขาว  เช่น  คราม  ใช้ตกแต่งผ้าสีขาวให้ขาวสดใส
5.สารตกแต่งผ้าให้คงรูป  เช่น  แป้งลงผ้า  เจลลี  ใช้ทำให้ผ้าคงรูปเมื่อรีดและใช้งาน
นิยมใช้กับผ้าเช็ดปากที่ต้องพับเป็นรูปทรงต่าง ๆและเสื้อเชิ้ต
6.สารที่ทำให้ผ้าเรียบ  ใช้ฉีดพรมลงบนผ้าเพื่อให้ผ้าเรียบอยู่ทรงนานและมีกลิ่นหอม
7.กะละมัง  ใช้ใส่น้ำเพื่อซักผ้า ถ้ากะละมังมีรอยแตกร้าวเล็กน้อยซึ่งใช้ซักผ้าไม่ได้แล้ว
สามารถนำมาใช้ปลูกผักสวนครัวได้
8.แปรงซักผ้า  ใช้ขัดถูเสื้อผ้าบริเวณที่มีคราบที่ซักออกได้ยาก
9.ตระกร้าใส่ผ้าใช้ใส่ผ้าที่จะซักหรือผ้าที่ซักแล้ว
10.เครื่องซักผ้าอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติใช้ซักผ้าเพื่อประหยัดเวลาและแรงงานในการซักผ้า
11.เตรรีดไฟฟ้าธรรมดา  เตารีดไอน้ำและเตารีดแบบทับใช้รีดผ้าให้เรียบ
12.ขวดใส่สารที่ทำให้ผ้าเรียบใช้ใส่น้ำยารีดผ้าเรียบ
13.ที่รองรีดเสื้อผ้าทุกชนิด
14.หมอนรองรีด  ใช้รองรีดเสื้อผ้าในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก  เช่น  ปกเสื้อ  แขนเสื้อ
15.ไม้แขวนผ้า  ใช้แขวนเสื้อที่ตากและแขวนเสื้อที่รีดแล้ว
16.ที่หนีบผ้า  ใช้หนีบผ้าที่ตากบนราวตากผ้า
(รูปภาพวัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้าให้นักเรียนดูในหนังสือเรียนการงาน ม.3
หน้า  11-12)หรือเอกสารที่ครูแจกให้