Category Archives: ใบความรู้ ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 7.4 เรื่องการหางานหรือตำแหน่งที่ว่าง หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 7.4 เรื่องการหางานหรือตำแหน่งที่ว่าง  วิชาการงาน 5 ง 23105 ม.3
เมื่อประเมินทางเลือกและตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องหางาน
หรือตำแหน่งที่ว่างของอาชีพที่ตัดสินใจเลือกจากช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตามความสะดวกของผู้หางาน
สิ่งพิมพ์  ในที่นี้หมายถึงกระดาษที่มีข้อความและภาพพิมพ์เกี่ยวกับการรับสมัครพนักงานหรือลูกจ้าง
ที่สถานประกอบการได้ลงประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ต้องการแรงงานในตำแหน่งต่าง ๆ  สื่อสิ่งพิมพ์
ที่มีประกาศรับสมัครมีดังต่อไปนี้
1.  หนังสือพิมพ์  เป็นสิ่งพิมพ์ที่มุ่งนำเสนอข่าวและเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไป  มีกำหนดพิมพ์ออกจำหน่าย
เป็นรายวัน  รายปักษ์  รายสัปดาห์  หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อทุกคนทุกระดับความรู้ ไม่จำกัดผู้อ่าน
สามารถอ่านให้จบได้ในเวลาอันสั้นจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายกว่าสิ่งพิมพ์อย่างอื่น
หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีส่วนที่เป็นประกาศรับสมัครสอดแทรกในหน้าต่างๆ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก
และขนาดใหญ่ ข้อความของประกาศสมัครงานในหนังสือพิมพ์จะเห็นได้จากตัวอย่างหน้า 183 ในหนังสือเรียน
2.  โปรสเตอร์  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีรูปภาพ ข้ความและสีสันที่ดึงดูดใจ  สามารถสื่อสารในระยะเวลา
อันสั้นใช้ในการโฆษณาสินค้าและบริการและอาจจะพบประกาศรับสมัครงานบ้างในบางสถานที่เช่น
หน้าบริษัทของนายจ้างซึ่งรายละเอียดของประกาศรับสมัครงานในโปสเตอร์จะเหมือนกับหนังสือพิมพ์
ดังตัวอย่างในหนังสือแบบเรียนหน้า 184
3.  ใบปลิว  เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีราคาถูกที่สุด  มีพื้นที่ให้ใส่ข้อมูลมากตามที่ต้องการและมักจะใช้เป็นข้อมูล
อ้างอิง  ใบปลิวส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารโดยตรงเกี่ยวกับสินค้าและบริการพบโดยทั่วไปตามป้ายนิเทศ
ตู้โทรศัพท์  เสาไฟฟ้า  ประกาศรับสมัครงานในใบปลิว จะมีรายละเอียดสั้น ๆและกะทัดรัดเข้าใจง่าย
ดังตัวอย่างหน้า 184
4.  ประกาศรับสมัครงานของทางราชการ  ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเดียวกับใบปลิว
พบมากบนป้ายนิเทศของหน่วยงานราชการที่รับสมัครงานซึ่งปิดประกาศไว้แต่จะมีใบประกาศมากกว่าและ
มีรูปแบบเป็นทางการมากกว่าใบปลิวหรือเป็นประกาศในหัวข้อรับสมัครงานในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ
ดังตัวอย่างในหนังสือแบบเรียนหน้า  185
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งสามารถให้ข้อมูลประกาศรับสมัครงานได้โดยอุปกรณ์
แต่ละชนิดจะให้ข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้
1.  วิทยุ  ใหัข้อมูลประกาศรับสมัครในรูปแบบเสียงโฆษณาสั้น ๆหรือประกาศสอดแทรกในรายการวิทยุ
มีรายละเอียดในประกาศรับสมัครงานคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประการ
2.  โทรทัศน์  ให้ข้อมูลประกาศรับสมัครงานในรูปแบบเสียงและตัวอักษรบางประกาศอาจมีภาพประกอบ
รายละเอียดประกอบรับสมัครงานทางโทรทัศน์สอดแทรกในรายการโทรทัศน์ปกติ
3.  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เนต  โดยสืบค้นเว็บไซต์ในอินเทอร์เนต  ซึ่งให้ข้อมูล
ประกาศรับสมัครงานในรูปแบบภาพและข้อความที่มีรายละเอียดในประกาศเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประการ
ตลอดจนค้นหางานในตำแหน่งหรือบริษัทที่สนใจได้มากมาย  สามารถพิมพ์ราบละเอียดออกมาดูได้
โดยใช้เครื่องพิมพ์และบางเว็บไซต์อาจอำนวยความสะดวกให้สมัครงานผ่านทางเว็บไซต์ได้ด้วยดังตัวอย่าง
ในหนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยีหน้า 187

ใบความรู้ที่ 7.3 เรื่องแนวทางเข้าสู่อาชีพ(ความมั่นคง การประเมินทางเลือกอาชีพ)หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 7.3 เรื่องแนวทางเข้าสู่อาชีพ(ความมั่นคง  การประเมินทางเลือกอาชีพ) ง 23105 ม.3
ความมั่นคงในที่นี้หมายถึง ความน่าเชื่อถือของสถานประกอบการ ลักษณะการว่าจ้างของสถานประกอบการ
และขนาดของสถานประกอบการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.  ความน่าเชื่อถือของสถานประกอบการ  การหางานหรือตำแหน่งว่างของสถานประกอบการที่
ต้องการเข้าทำงาน  ผู้สมัครงานควรทำการศึกษาสถานประกอบการที่จะเข้าทำงานโดยอ่านประวัติ
ความเป็นมาเพื่อมิให้ถูกหลอกลวง
2.  ลักษณะของการว่าจ้างหมายถึงช่วงเวลาในการทำงานที่นายจ้างกำหนดไว้เป็นกฏระเบียบของ
สถานประกอบการซึ่งผู้สมัครต้องเลือกให้สะดวกต่อการเดินทางมาทำงานดังนี้
2.1  งานประจำ  จะมีความมั่นคงมากกว่างานว่าจ้างเนื่องจากเป็นงานที่มีเป้าหมายในการพัฒนามีโครงการ
ให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องรายรับจะได้มาในรูปแบบของเงินเดือน มีสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลทำให้
ผู้สมัครงานสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือถ้ามีภาระดูแลสมาชิกในครอบครัว เด็ก
คนชรางานประจำจะมีกฏระเบียบในการลาไม่เสียผลประโยชน์
2.2  งานพิเศษ  มีอยู่  2  ลักษณะ ดังนี้
2.2.1  การปฏิบัติงานเป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่จะมีวิธีปฏิบัติงานคล้ายกับงานประจำเพียงแต่งานประจำ
จะทำ  8  ชั่วโมง/วันแต่งานพิเศษจะทำ  3-5  ชั่วโมง/วัน
2.2.2  การปฏิบัติงานเป็นชิ้นงาน เช่นร่วมโครงการต่าง ๆ งานออกแบบ มีลักษณะทำเป็นงาน ๆ ไป
งานประเภทนี้จะได้เงินมากกว่างานที่ปฏิบัติเป็นช่วงเวลา
3.  ขนาดสถานที่ประกอบการ  บ่งบอกถึงรูปแบบการบริหารงาน รายได้ที่ลูกจ้างจะได้รับ
ผลกำไรหรือความมั่นคงซึ่งสามารถแบ่งได้ตามจันวนคนที่ทำงานสามารถแบ่งตามจำนวนคนที่ทำงาน
และลูกจ้างในสถานประกอบการแบ่งได้เป็น  3  ขนาด
1.  ขนาดเล็ก หมายถึงสถานประกอบการมีพนักงานลูกจ้างในที่เดียวกัน  10  คนขึ้นไป
2.  ขนาดกลาง  หมายถึงสถานประกอบการที่มีลูกจ้างและพนักงานตั้งแต่  200คนขึ้นไป
3.  ขนาดใหญ่หมายถึงสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่  1000  คนขึ้นไป
การประเมินทางเลือก
แนวทางการประเมินทางเลือกอาชีพ

ใบความรู้ที่ 7.2 เรื่องแนวทางเข้าสู่อาชีพ(คุณสมบัติที่จำเป็น) หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  7.2 เรื่องแนวทางเข้าสู่อาชีพ(คุณสมบัติที่จำเป็น) ง 23105 ม.3
การประกอบอาชีพในสถานประกอบการต่าง ๆผู้สมัครต้องอ่านประกาศรับสมัครงานจากโปสเตอร์
เว็บไซต์ในอินเทอร์เนต  หนังสือพิมพ์  ฟังวิทยุ  ดูโทรทัศน์  ซึ่งจะพบว่ามีการระบุคุณสมบัติของผู้สมัคร
ในแต่ละตำแหน่งตามลักษณะงานที่แตกต่างกันไปแล้วสมัครงานตามที่ตนเองสนใจสามารถจำแนก
คุณสมบัติที่จำเป็นในการรับสมัครงานได้ดังนี้
1.  คุณวุฒิ หมายถึงระดับการศึกษา เช่นประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส)
ปริญญาตรี  ปริญญาโท  ปริญญาเอก ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรองว่าบุคคลที่สมัครงานนั้นมีความรู้ความสามารถ
พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช่นอาชีพครูต้องการปริญญาตรีสาขาคคุรุศาสตร์มีใบประกอบวิชาชีพครูจากองค์การคุรุสภา
2.  วัยวุฒิ  หมายถึงอายุที่เหมาะสมกับการทำงานในตำแหน่งต่างๆซึ่งอายุนี้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความแข็งแรง
คล่องแคล่วในการปฏิบัติงานและวุฒิภาวะในการตัดสินใจเช่นผู้เสิร์ฟต้องมีอายุไม่เกิน  25  ปีสุขภาพ
แข็งแรงมีความอดทนต่อการยืนเดินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้จัดการต้องการอายุ 25-35 เพราะควบคุม
ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากได้
3.  เพศ  หมายถึงเพศหญิงเพศชายซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านสรีระและลักษณะการทำงาน
จึงมีความเหมาะสมในอาชีพที่แตกต่างกัน เช่นอาชีพวิศวกรโยธาต้องการเพศชานคล่องตัวอดทนในการ
คุมงานก่อสร้าง  อาชีพเลขานุการต้องการเพศหญิงที่มีความละเอียดรอบคอบและความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยในงานเอกสาร อาชีพนักกีฬาต้องการทั้งชายและหญิงที่มีสุขภาพแข็งแรง
4.  บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยหมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกันเนื่องมาจาก
การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองและการเลียนแบบของบุคคลที่ชื่นชอบ  อุปนิสัยที่ทุกคนควรจะปลูกฝัง
4.1  มีมนุษยสัมพันธ์  ในการปฏิบัติงานทุกอาชีพ การมีมนุษยสัมพันธ์ดีเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนปฏิบัติงาน
ควรจะมีเพราะจะช่วยให้การปฏิบัติงานราบรื่นเนื่องจากการพูดคุยกันด้วยวาจาให้เกียรติยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของกันและกันยิ้มแย้มแจ่มใสช่วยเหลือกันและกันในการทำงาน
4.2  มีความเป็นผู้นำ  กล้าตัดสินใจ  มีความมั่นใจในตนเอง  มีไหวพริบดี   ผู้ปฏิบัติงานที่ดีควรมีความ
เป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ และมีไหวพริบในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ตำรวจ  ทหาร ต้องกล้าตัดสินใจ
ในการช่วยเหลือตัวประกันที่ตกอยู่ในอันตราย  แพทย์ เมื่อพบผู้ป่วยตกอยู่ในอันตรายป่วยรุนแรงต้อง
รีบตัดสินใจดำเนินการรักษาอย่างรอบคอบเพื่อช่วยเหลือชีวิตของผู้ป่วยไว้
4.3  มีความรับผิดชอบผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆแบ่งออกได้ 2  ประเภทดังต่อไปนี้
1.  ความรับผิดชอบในหน้าที่หลัก  ปฏิบัติงานของตนให้ดีที่สุด ตรงต่อเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
แก่เพื่อนร่วมงานและองค์กร
2.  ความรับผิดชอบในการตัดสินใจ  เมื่อผู้ปฏิบัติงานกล้าตัดสินใจที่จะทำสิ่งใดนอกเหนือจากภาระหลัก
ยอมรัผลที่เกิดขึ้นและร่วมหาทางแก้ไขร่วมกับผู้อื่นไม่ปัดภาระความรับผิดชอบหรือโยนความผิดให้ผู้อื่น
4.4  มีความขยัน  คือคุณธรรมหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จไม่ใช่การประกอบอาชีพยังรวมไปถึงความขยัน
ในการศึกษาเล่าเรียน  ใฝ่รู้  ขยันฝึกและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ขยันพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อผลการ
ปฏิบัติงานดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
4.5  มีความอดทน ในการทำงานอาจพบปัญหาต่างๆได้ตลอดเวลาแม้จะไม่ได้เกิดจากตนเอง
ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความอดทนในการแก้ปัญหาด่างๆออกไปได้โดยไม่ย่อท้อและไม่โวบวาย
4.6  มีความซื่อสัตย์  ดังคำกล่าวที่ว่าซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน  ในการปฏิบัติงานใด ๆก็ตามควร
ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและต่อลูกค้าการหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานอีกไม่ช้า
ลูกค้าย่อมรู้จุดประสงค์ของผู้กระทำและส่งผลเสียต่ออนาคตของตนเอง
4.7  มีสุขภาพจิตดี  โดยมองโลกในแง่ดีสามารถปฏิบัติงานภายใต้แรงกดดันจากผู้ร่วมงาน  ผู้บังคับบัญชา
ลูกค้าและสถานการณ์ตึงเครียดจากการทำงานแก้ปัญหาอย่างมีสติคิดว่าปัญหาคือประสบการณ์
ที่จะพัฒนาตนเองไม่โทษสิ่งอื่น ปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้อย่างเหมาะสม
5.  ความรู้ความสามารถ  ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความสามารถได้แก่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานที่ทำ
การที่จะมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนจากสถานศึกษาต่างๆ
และฝึกงานเพื่อให้เกิดความชำนาญ รู้ถึงอุปกรณ์สำนักงาน คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานได้สะดวกรวดเร็ว
6.  ประสบการณ์  งานบางตำแหน่งต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว เช่น ตำแหน่งผู้จัดการ
หรือผู้บริหารส่วนใหญ่ต้องการผู้ที่เคยผ่านการปฏิบัติงานจริงมาก่อนเป็นระยะเวลานานหรือผ่านการฝึกงาน
ในตำแหน่งที่สมัครงานเพราะจะสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้

ใบความรู้ที่ 7.1เรื่องความสำคัญของอาชีพ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 7.1 เรื่องความสำคัญของอาชีพ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ง 23105 ม.3
อาชีพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  สังคม  และเศรษฐกิจ ดังนี้
1.  สร้างรายได้  อาชีพช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้เพราะอาชีพก่อให้เกิดรายได้สำหรับนำมาใช้จ่าย
ในชีวิตประจำวัน เช่นจ่ายค่าอาหาร  ค่าเครื่องนุ่งห่ม  ค่ายารัษาโรค ค่าที่อยู่อาศัย
2.  สร้างความสัมพันธ์ในสังคม  อาชีพเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าและบริการในสังคมคนใน
สังคมจึงเกิดความสัมพันธ์ต่อกันในฐานะผู้ซื้อ-ผู้ขายซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกันในเรื่องอาชีพ
3.  สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ  อาชีพช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากมีการหมุนเวียน
ของเงินสินค้าและบริการต่าง ๆในระบบการซื้อ  ขาย  แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงภาษีเงินได้
ที่ผู้ประกอบอาชีพรายบุคคลและบริษัทต้องจ่ายให้กับรัฐบาลเพื่อที่รัฐบาลจะได้จัดสรรเงินนี้มาสร้าง
สาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อประชากร เช่น ถนน  สะพาน  ถนน  โรงพยาบาล  น้ำประปา  โทรศัพท์

ใบความรู้ที่ 6.5 เรื่องกระบวนการเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  6.5 เรื่องกระบวนการเทคโนโลยี  หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  รหัสวิชา ง 23105 ม.3
กระบวนการเทคโนโลยี  เป็นขั้นตอนที่จะช่วยให้การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ประสบผลสำเร็จได้ผลงาน
ที่มีคุณภาพ ประหยัดแรงงาน  ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย
กระบวนการเทคโนโลยีประกอบด้วยขั้นตอน  7  ขั้นตอน  ดังนี้
1.  กำหนดปัญหาหรือความต้องการ  เป็นการระบุสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องการสร้างและคุณสมบัติของสิ่งของ
เครื่องใช้ที่ต้องการ
2.  การรวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา  เป็นการรวบรวมข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของ
เครื่องใช้ที่ต้องการสร้างให้ได้มากที่สุดโดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกตด้วยตนเอง  การดูโทรทัศน์  ฟังวิทยุ
ชมนิทรรศการ  หนังสือพิมพ์  แผ่นพับ  ใบปลิว  เว็บไซต์ในอินเทอร์เนต
3.  การเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เป็นการตัดสินใจเลือกวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ
ที่ใช้ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตลอดจนเลือกวิธีสร้างสิ่งของเครื่องใช้ที่เหมาะสมที่สุดหรือเป็นไปได้
อาจเป็นวิธีการเคยทำมาแล้วแต่ปรับปรุงแก้ไขใหม่หรือเป็นวิธีการใหม่ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน
4.  การออกแบบและปฏิบัติการ เป็นการลำดับความคิดหรือจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่จะสร้าง
เพื่อนำไปสู่การวางแผนการทำงานโดยเขียนออกมาเป็นลำดับขั้นตอนออกแบบโดยร่างภาพ 2  มิติ
3  มิติ เขียนภาพฉายหรือสร้างแบบจำลองแล้วจึงลงมือสร้างสิ่งของเครื่องใช้
5.  การทดสอบ เป็นการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่สร้างเสร็จแล้วมาทดลองใช้ว่าสามารถใช้งานได้หรือ
ทำงานได้หรือไม่มีข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร
6.  การปรับปรุงแก้ไข  เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของสิ่งของเครื่องใช้ที่สร้าง
7.  การประเมินผล เป็นการพิจารณาผลของการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของสิ่งของเครื่องใช้
ในเรื่องคุณสมบัติที่ต้องการ  การใช้งาน  ความสวยงาม  ความแข็งแรงทนืาน  งบประมาณที่ใช้สร้าง
และความปลอดภัยในการใช้งานหากพบว่ามีข้อบกพร่องในเรื่องใดจึงพัฒนาเรื่องนั้นให้ดีขึ้น
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี
1. ชั้นวางของอเนกประสงค์ (ให้นักเรียนศึกษาในหนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.3 หน้า 147-152)
2.  ตู้ยามีไฟและมีเสียงเพลง(ศึกษาในหนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยีม.3 หน้า 153-162)

ใบความรู้ที่ 6.4 เรื่องกลไกลและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 6.4 เรื่องกลไกลและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์  รายวิชาการงาน 5  ง 23105 ม.3
การสร้างและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ที่มีกลไกลและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เป็นการพัฒนา
ต่อยอดมาจากการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ทั่วไปให้มีลักษณะรูปแบบที่น่าสนใจ มีคุณค่า  มีประโยชน์
และมีประสิทธิภาพในการใช้งาน โดยไม่ใช้แรงงานจากคนหรือใช้แรงงานจากคนเพียงส่วนหนึ่ง เช่น
การซักผ้าด้วยมือทำได้โดยใช้แปรงซักผ้าเป็นตัวช่วยในการขจัดรอยเปื้อนเป็นการใช้แรงงานคนต่อมา
พัฒนาเป็นเครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติมี  2  ถัง ใช้แรงงานคนในการยกผ้าเปลี่ยนจากถังซักมายังถัง
ปั่นแห้งจนพัฒนามาเป็นเครื่องซักผ้าอัตโนมัติถังเดี่ยวซึ่งควบคุมการทำงานโดยระบบสัมผัสที่สามารถ
ซักและปั่นแห้งได้เพียงตั้งโปรแกรมโดยมีกลไกลและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ
ภายในตัวเครื่อง ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสะบาย ประหยัดเวลาและแรงงาน
อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและควบคุมการทำงานต่าง ๆเพื่อให้สามารถเลือกใช้
ได้เหมาะสมกับลักษณะงานดังตัวอย่าง
1.  รอก  คือล้อสำหรับสวมสายพานหรือเสาเคเบิลซึ่งใช้ในระบบขนส่ง  ยกของ  และเคลื่อนที่ เช่น
การเคลื่อนที่ของมู่ลี่เพื่อเปิด-ปิด  การยกของหนักเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่วางของ
2.  สปริง คือขดลวดที่มีความยืดหยุ่นสามารถหดตัวและกลับสู่สภาพเดิมได้สปริงใช้เป็นส่วนประกอบของ
สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย  เช่นตาชั่ง  ดินสอกด  ปากากด  ที่สูบลมกล่องดนตรี  นาฬิกา
3.  คานงัด  คือวัสดุแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนักได้พอควร เช่น เหล็ก  พลาสติกชนิดแข็ง ไม้นำมาใช้
เพิ่มแรงและทำให้การเคลื่อนที่ของสิ่งของไปยังทิศทางต่าง ๆทำได้สะดวกง่ายดายเช่น  คานงัดในเครื่อง
ปิงขนมปังที่ช่วยดันขนมปังขึ้นมาเมื่อสุกกรอบ  คานงัดบนกล่งเครื่องมืองานช่างที่ช่วยในการเปิด-ปิด
4.  ล้อ  โซ่  และจานโซ่  คืออุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้สิ่งของเครื่องใช้เคลื่อนที่ได้ใกล้เคียงกับ
รอกและสายพาน แต่มึความแข็งแกร่งกว่าและไม่เลื่อนไปมาเหมือนใช้สายพาน
นอกจานี้โต๊ะบริการเครื่องดื่มก็มีล้อเป็นส่วนประกอบซึ่งช่วยเคลื่อนที่ได้สะดวกและผ่อนแรงได้
5.  บานพับคืออุปกรณ์ที่ช่วยให้สิ่งของเครื่องใช้สามารถพับเก็บ ย่อส่วนและเปิด-ปิดได้ตัวอย่าง
สิ่งของเครื่องใช้ ตัวอย่างสิ่งของเครื่องใช้ที่มีบานพับ  ประตู หน้าต่าง  ตู้ใส่กุญแจ  หน้าต่าง ตู้ไปรษณีย์
6.  อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คืออุปกรณ์ที่มักใช้ในการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน  เช่นนาฬิกาปลุกระบบดิจิตอล  วิทยุ  โคมไฟ เครื่องคิดเลข
กล่องดนตรี  หลอดไฟ  พัดลม

ใบความรู้ที่ 6.3 เรื่องความรู้เกี่ยวกับการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 6.3 เรื่องความรู้เกี่ยวกับการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี  ง 23105 ม.3
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยีนอกจากจะนำความรู้เรื่องวัสดุ อุปกรณ์และ
เครื่องมือมาใช้แล้วยังต้องประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับภาพฉาย กลไกและการควบคุมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
ตลอดจนกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การสร้างชิ้นงานมีประสิทธิภาพและได้ผลงานที่มีคุณภาพตรงตาม
ความต้องการ
ภาพฉาย(Orthographic  drawing) เป็นภาพแสดงรายละเอียดของแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือสนอง
ความต้องการในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้  ประกอบด้วยภาพด้านหลัง(Front  view) ภาพด้านข้าง
(Side  View) และภาพด้านบน (Top  view) แสดงขนาดและหน่วยในการวัดเพื่อให้สามารถนำไป
สร้างแบบจำลองหรือชิ้นงานได้
แบบจำลองความคิด
 แบบจำลองความคิดหรือโมเดล(Model) เป็นวัตถุสามมิติที่จำลองรูปแบบและรายละเอียด
ของสิ่งของเครื่องใช้ที่จะสร้าง ซึ่งได้ร่างภาพ  2  มิติ  ร่างภาพ  3  มิติ หรือร่างภาพฉายไว้ เพื่อนำมาใช้
ในการถ่ายทอดแนวคิดของผู้สร้างและใช้นำเสนอผลงาน
แบบจำลองความคิดส่วนใหญ่ทำจากกระดาษแข็ง  แผ่นไฟเบอร์ชนิดหนาปานกลาง  ไม้บัลชา
ผลิตจากต้นบัลชาในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกาใต้มีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรงมากนิยมนำมาทำ
เครื่องบินเล็ก  สไตโรโฟม เป็นโฟมพลาสติกมีลักษณะเนื้อพองเป็นเม็ดกลมเบียดอัดกันแน่นอยู่ในแผ่นโฟม
เบาราคาไม่แพงใช้มีดตัดได้นิยมนำมาหีบห่อกันกระเทือน  พอรียูรีเทน เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มี
ความทนทานต่อรอยขีดนิยมนำมาใช้เป็นโฟมกันกระแทกทำอุปกรณ์ทางการแพทย์  ทำเรือ ติดไฟง่าย
และปูนปลาสเตอร์ในปัจจุบันยังมีการนำซอฟแวร์คอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างแบบจำลองความคิด

ใบความรู้ที่ 6.2 เรื่องระดับของเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่ 6.2 เรื่องระดับของเทคโนโลยี  หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  ง 23105 ม.3
สำหรับปัจจุบันสามารถแบ่งระดับเทคโนโลยีได้  3  ประเภท
1.  เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน  เป็นเทคโนโลยียุคแรกของบรรพบุรุษซึ่งส่วนใหญ่เป็นสังคม
เกษตรกรรมพื้นบ้านมีการสร้างเครื่องใช้และอาวุธเพื่อการล่าสัตว์และนำมาทำอาหารรวมถึงการถนอมอาหาร
เช่นอาหารตากแห้ง เทคโนโลยีระดับนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจลึกซึ้งถึงระดับที่สามารถแก้ไขดัดแปลง
เพียงแต่รู้หลักและวิธีการใช้เท่านั้น  ตัวอย่างเทคโนโลยีระดับนี้  เช่น  ขวาน  มีดพร้า  เสียม  จอบ  ลอบดักปลา
อวน  แห  คันไถ  หม้อ  ไห  กระต่ายขูดมะพร้าว  ครกตำข้าว  ยาสมุนไพร  เรือแจว  เรือพาย  ครกกระเดี่ยง
เครื่องสีข้าว  ระหัสวิดน้ำ
2.  เทคโนโลยีระดับกลาง  เป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยต้องใช้ความรู้และประสบการณ์จากการแก้
ปัญหาเกษตรกรรมพื้นบ้าน มาพัฒนาระบบงาน กลไกลต่าง ๆและแก้ไข ซ่อมแซมอุปกรณ์  เครื่องมือให้กลับมา
มีสภาพดีดังเดิม ตลอดจนเผยแพร่ความรู้แก่คนในท้องถิ่นได้  เทคโนโลยีระดับนี้ได้แก่  การใช้เครื่องจักรกล
แทนแรงงานคน  การใช้เครื่องทุ่นแรง  เครื่องยนต์  มอเตอร์  การจับสัตว์น้ำด้วยเรือยนต์ลากจูง เครื่องใช้ไฟฟ้า
ชนิดต่าง ๆ กังหันลมช่วยผลิตพลังงานไฟฟ้า    กังหันลมช่วยสูบน้ำใต้ดิน  สว่านไฟฟ้า  การปลูกพืชหมุนเวียน
เพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพ  การสร้างอ่างเก็ยน้ำ  การผลิตอาหารจากผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร
เครื่องขูดมะพร้าว
3.  เทคโนโลยีระดับสูง  เป็นเทคโนโลยีที่ผู้พัฒนาต้องมีประสบการณ์มาอย่างยาวนานเพื่อให้สามารถปรับปรุง
แก้ไข  ดัดแปลงเทคโนโลยีสลับซับซ้อนได้ซึ่งต้องมีการศึกษา  ค้นคว้า  วิจัย  ทดลองอย่างสม่ำเสมอ
และมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเทคโนโลยี เช่น การผลิตอาหาร
กระป๋อง  การปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ  การโคลน  การผลิตกะทิสำเร็จรูปยูเอสที  กะทิผง
ยารักษาโรคแผนปัจจุบัน  นาโนเทคโนโลยี  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เฉพาะทางด้านงานบัญชี  งานวิศวกรรม
สถาปัตยกรรม  ศิลปกรรม

ใบความรู้ที่ 6.1 เรื่องความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ก้าวทันเทคโนโลยี รายวิชาการงาน 5 ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  6.1  เรื่องความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี  ง 23105 ม.3
มนุษย์มีความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และมีปัญหาให้แก้ไขอยู่ตลอดเวลา
จึงได้มีการประยุกต์นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการ  วัสดุ  อุปกรณ์
และเครื่องมือเพื่อสนองความต้องการและแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยสิ่งที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นมานี้เรียกว่า
เทคโนโลยี
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technogy) หมายถึงสิ่งที่มนุาย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นมา เช่น วิธีการ  วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ
โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการ
พื้นฐานในการดำรงชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและแก้ปัญหาต่าง ๆ
ความสำคัญของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีมีความสำคัญหลายด้าน  ดังนี้
1.  สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  เมื่อใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภานในบ้าน ใช้รถยนต์ส่วนตัว
ในการเดินทางแทนรถโดยสารประจำทาง ใช้เครื่องปรับอากาศแทนพัดลมเมื่ออากาศร้อน  มนุษย์จะมี
ความสะดวกสบายไม่เหน็ดเหนื่องจากการทำงานบ้านและการเดินทางมีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็น
ประโยชน์ต่อสุขภาพกาย  สุขภาพจิต  เช่น การออกกำลังกาย  การทำกิจกรรมนันทนาการ การทำงาน
อดิเรกที่ชอบมากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
2.  เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน    เมื่อใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น  โทรศัพท์  โทรสารหรือแฟกซ์
อินเทอร์เนต  ดาวเทียม(ดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นดาวเทียมของประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซีย)
มนุษย์ทั่วโลกจะสามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทุกที่ทุกเวลาจึงเกิดความเสมอภาคกัน
ในด้านการศึกษา และการรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ
3.  ป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน  เมื่อใช้เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย เช่น ภาพถ่าย
จากดาวเทียม  เครื่องมือวัดอุณหภูมิของอากาศ บอกข้อมูลช่วยเตือนภัยจากธรรมชาติทำให้มนุษย์
อพยพได้ทันท่วงที หรือกล้องโทรทัศน์วงจรปิดช่วยป้องกันภัยที่เกิดจากมิจฉาชีพ
4.  การทำงานคล่องต้ว  เมื่อใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร
โทรสารในการทำงาน  เครื่องย่อยเอกสาร โทรสารในการทำงาน จะช่วยให้งานเสร็จเร็วมีคุณภาพ
และประหยัดทรัพยากร(เช่นนำกระดาษถ่ายเอกสารแบถ่ายสองหน้าเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ
ตรวจแก้ไขเอกสารบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แทนการพิมพ์กระดาษมาตรวจแสดงถึงคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
5.  แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือนำงานวิจัย
และพัฒนาของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้จะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆให้ลุล่วงไปได้ เช่น
การใช้วิธีแกล้งดิน  ช่วยปรับสภาพดินเปรี้ยวให้ปลูกพืชได้ โดยการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่ง
เกิดปฏิกริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วนปูนขาว
จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอทีจะใช้ในการเพราะปลูก  การทำฝนเทียมแก้ปัญหาความแห้งแล้งโดยใช้สารทำฝน
ที่ดูดซับความร้อนได้ดีทั้งในบรรยากาศหรือเมฆที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเป็นตัวกระตุ้น
หรือเร่งเร้าให้เกิดกระบวนการเกิดฝนเร็วขึ้นมีปริมาณมากทำให้มีวันฝนตกถี่ขึ้นเพิ่มปริมาณน้ำฝนทำให้
ฝนตกกระจายอย่างทั่วถึงเสม่ำเสมอบังคับซักนำฝนให้ตกสู่พิ้นที่เป้าหมายแม่นยำและแผ่บริเวณกว้างกว่า
ฝนตกเองตามธรรมชาติ

ใบความรู้ที่ 5.5 เรื่องวิธีการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ ราวตากผ้า โต๊ะคอมพิวเตอร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชาการงาน 5 รหัสวิชา ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  5.5  เรื่องการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์  ราวตากผ้า  โต๊ะคอมพิวเตอร์  รหัสวิชา ง 23105
(ในหนังสือแบบเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า  122-127)