Category Archives: การงาน 5 ง23101 ม. ปี 63

ภาระงานตัวชี้วัดที่ 3 ดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ ได้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงาน 5 ง23101 ม.3

(คาบที่ 3-4)ตัวชี้วัดที่ 3 ดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ ได้

คำสั่ง  ให้นักเรียนที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ  5 รหัสวิชา  ง23101 ทุกคน เลือกศึกษาใบความรู้เรื่อง
การซัก  ตาก  รีด และเก็บเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ มีวิธีการอย่างไรบ้างโดยทำเป็นคลิปวิดิโอ
วิธีการซัก  ตาก  รีด และเก็บรักษาเสื้อผ้าคนละ  1  ประเภท  ดังนี้
1  เสื้อผ้าไหม
2  เสื้อผ้าฝ้าย
3  เสื้อผ้าลินิน
4  ผ้าขนสัตว์
5  เสื้อผ้าใยสังเคราะห์
6  เสื้อผ้ากึ่งใยสังเคราะห์
7  เสื้อผ้าไหมพรม
8  เสื้อผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด
ในคลิปวิดิโอของนักเรียนประกอบไปด้วย  4  ขั้นตอนพร้อมบรรยายแต่ละขั้นตอน
1  ขั้นตอนการซัก
2  ขั้นตอนการตาก
3  ขั้นตอนการรีด
4  ขั้นตอนการเก็บรักษา
ยกตัวอย่างเช่น  เสื้อผ้าใยสังเคราะห์
1.  การซักเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ สามารถซักได้ด้วยมือและเครื่องซักผ้า แต่ซักมือจะถนอม
เนื้อผ้ามากกว่าโดยการซักเสื้อใยสังเคราะห์มีวิธิการดังนี้
1.1  ควรแยกสีผ้าและผ้าขาวออกจากกัน ไม่ควรซักรวมกันเพื่อป้องกันสีตก
1.2  ซักในน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ด้วยสารซักฟอกหรือสารซักฟอกชนิดอ่อนอย่างเบามือ
แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด  2 -3  ครั้ง แล้วบีบให้น้ำแห้ง
1.3  ถ้ามีความจำเป็นต้องฟอกขาว  ควรใช้สารฟอกขาวอย่างอ่อน
2.  การตากเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ ตากแดดได้แต่ต้องกลับเอาด้านในออก เพื่อป้องกัน
ไม่ให้สีซีดจางและไม่ควรตากนาน  พอหมาดเก็บเข้าที่ร่ม
3.  การรีดเสื้อผ้าใยสังเคราะห์  เสื้อผ้าใยสังเคราะห์เนื้อผ้าไม่ยับ จึงไม่จำเป็นต้องรีด
แต่หากจะรีด  ควรใช้อุณหภูมิต่ำ
4.  การเก็บเสื้อผ้าใยสังเคราะห์  ควรแขวนด้วยไม้แขวนแล้วเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า
(โดยให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องการซัก  ตาก  รีด และเก็บเสื้อผ้า  ในเว็บไซต์ Krupaga หรือGoogle)
10  คะแนน  กำหนดส่ง  วันที่นักเรียนมาโรงเรียน

ภาระงานที่ 2 เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ภาระงานที่  2 เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ตัวชี้วัดที่  2  บอกวิธีการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
คำสั่ง  ให้นักเรียนทุกคนทุกชั้นเรียน(ม.3/1-3/10)ที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ 5 ง23101
ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใบความรู้ที่ 1.5 เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
(จากเว็บไซต์การเรียนการสอนการงาน  Krupaga)
1.ให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า ลงในสมุดรายวิชาการงานอาชีพ 5
ให้ส่งงานในสัปดาห์ที่นักเรียนมาโรงเรียน (5  คะแนน)

ใบความรู้ที่ 1.5 การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใบความรู้ที่  1.5 เรื่องการขจัดรอยเปื้อน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า  ม.3
ตัวชี้วัดที่  2  บอกวิธีขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
วิธีการดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ
การดูแลเสื้อผ้าแต่ละประเภทให้สะอาดคงสภาพดีใช้งานได้นานต้องรู้จักวิธีการ
ขจัดรอยเปื้อน  ซัก  ตากและเก็บรักษาที่ถูกต้อง
การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า  การทำกิจกรรมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำวัน เช่นเล่นกีฬา
รับประทานอาหาร  เกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้เสื้อผ้าที่สวมใส่เปรอะเปื้อนจากคราบสกปรก
ซึ่งไม่ขจัดทันทีที่พบจะทำให้คราบสกปรกผังแน่นในเส้นใยไม่สามารถซักออกได้
รอยเปื้อนบนเสื้อผ้าที่พบประจำมีวิธีการขจัดดังนี้
1.รอยเปื้อนชา  กาแฟ  ถ้ารอยเปื้อนยังไม่แห้งให้นำแป้งข้าวเจ้าแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งฝุ่น
โรยลงบนรอยเปื้อนทิ้งไว้ให้แห้งใช้แปรงขนอ่อนปัดแป้งออกแล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอกปกติ
2.รอยเปื้อนเลือด  ถ้าเป็นผ้าฝ้ายหรือลินินให้แช่น้ำและใช้แอมโมเนียเจือจางเช็ดแล้วนำไปซัก
หรือใช้แป้งมันผสมน้ำเข้มข้นเหมือนแป้งเปียกทาตรงส่วนรอยเปื้อน ทิ้งไว้ประมาณ  4  ชั่วโมง
แป้งมันจะดูดซับรอยเปื้อนแล้วจึงนำไปซักตามปกติ
3.รอยเปื้อนหมากฝรั่ง  ขูดหมากฝรั่งออกด้วยสันมีดแล้วใช้น้ำแข็งถูเพื่อให้หมากฝรั่งแข็งตัว
แล้วค่อย ๆ แกะหมากฝรั่งออกจากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดรอยหมากฝรั่ง
และนำไปซักในน้ำสบู่อ่อน
4.รอยเปื้อนครีม  เนย  น้ำมัน  นำแป้งฝุ่นโรยตัวบนรอยเปิ้อนใช้กระดาษชำระวางทับแล้ววางเตารีด
ที่ร้อนพอควรทับบนกระดาษจนแป้งดูดคราบมันออกหมดจึงนำไปซักตามปกติ
5.รอยเปื้อนน้ำหมึก  โรยเกลือป่นตรงรอยเปื้อนแล้วบีบน้ำมะนาวลงไปให้ชุ่มผึ่งแดดไว้ครึ่งวัน
แล้วนำไปซัก
6.รอยเปื้อนสนิม  นำผ้าชุบน้ำให้เปียกก่อน  บีบน้ำมะนาวลงไปรอยเปื้อนทิ้งไว้สักครู่แล้วนำไปซัก
7.รอยเปื้อนยางผลไม้  ใช้สารส้มถูบริเวณรอยเปื้อนแล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอก
8.รอยเปื้อนโคลน  ปล่อยให้โคลนแห้งแล้วใช้แปรงปัดออกจากนั้นซักด้วยน้ำเย็นหลายๆครั้ง
จนไม่มีน้ำโคลนออกมาจึงนำผ้าไปซักตามปกติ
9.รอยเปื้อนยาแดง  เช็ดรอยเปื้อนด้วยแอมโมเนียหรือซักด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำ
10.รอยเปื้อนรา(เล็กน้อย)นำผ้าไปซักในน้ำสบู่ร้อน ๆหรือบีบน้ำมะนาวลงไปตรงที่มีราขึ้น
แล้วแข่ผ้าในสารซักฟอกซักครู่แล้วซักผ้าตามปกติ
11.รอยเปื้อนดินสอ  ใช้ยาสีฟันป้ายลงบนรอยดินสอแล้วขยี้จากนั้นนำไปซักตามปกติ
12.รอยเปื้อนเหงื่อไคล  ซักด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อยแล้วนำไปซักตามปกติ

ภาระงานตัวชี้วัดที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ภาระงานตัวชี้วัดประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1  (5  คะแนน)
ตัวชี้วัดที่  1  อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ภาระงานที่  1  ให้นักเรียนทุกห้องเรียนทุกคนที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ  5 ง23101 ม.3
ศึกษาใบความรู้ที่  1.1  เรื่องความหมายและความสำคัญของการดูแลเสื้อผ้า
ศึกษาใบความรู้ที่  1.2  เรื่องประเภทของเสื้อผ้า
ศึกษาใบความรู้ที่  1.3  เรื่องหลักการดูแลเสื้อผ้า
ศึกษาใบความรู้ที่  1.4  เรื่องวัสดุ  อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วให้นักเรียนทุกคนทุกห้องเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่อง
ความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ลงในสมุดรายวิชาการงานอาชีพ 5  (นำภาระงานที่  1  ส่งครูวันที่นักเรียนมาโรงเรียนค่ะ)
มีนักเรียนคนไหนห้องใดไม่เข้าใจภาระงานที่ 1 สอบถามคุณครูได้ค่ะเข้าไปที่แสดงความคิดเห็นค่ะ

ใบความรู้ที่ 1.4 เรื่องวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใบความรู้ที่  1.4  เรื่องวัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ตัวชี้วัดที่  1  อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการวัสดุอุปกรณ์
และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
การดูแลเสื้อผ้า  จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ  อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
เพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน  ดังนี้
1.สารซักฟอก  เช่น  น้ำยาซักผ้า  ผงซักฟอก  น้ำยาซักแห้ง  ใช้ซักผ้าให้ขาวสะอาด
2.สารฟอกขาว  ใช้ขจัดรอยเปื้อนให้ผ้าขาวสะอาด
3.สารปรับผ้านุ่ม  ใช้ลดความกระด้างของผ้าและช่วยลดการดูดซึมของน้ำ
4.สารตกแต่งผ้าขาว  เช่น  คราม  ใช้ตกแต่งผ้าสีขาวให้ขาวสดใส
5.สารตกแต่งผ้าให้คงรูป  เช่น  แป้งลงผ้า  เจลลี  ใช้ทำให้ผ้าคงรูปเมื่อรีดและใช้งาน
นิยมใช้กับผ้าเช็ดปากที่ต้องพับเป็นรูปทรงต่าง ๆและเสื้อเชิ้ต
6.สารที่ทำให้ผ้าเรียบ  ใช้ฉีดพรมลงบนผ้าเพื่อให้ผ้าเรียบอยู่ทรงนานและมีกลิ่นหอม
7.กะละมัง  ใช้ใส่น้ำเพื่อซักผ้า ถ้ากะละมังมีรอยแตกร้าวเล็กน้อยซึ่งใช้ซักผ้าไม่ได้แล้ว
สามารถนำมาใช้ปลูกผักสวนครัวได้
8.แปรงซักผ้า  ใช้ขัดถูเสื้อผ้าบริเวณที่มีคราบที่ซักออกได้ยาก
9.ตระกร้าใส่ผ้าใช้ใส่ผ้าที่จะซักหรือผ้าที่ซักแล้ว
10.เครื่องซักผ้าอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติใช้ซักผ้าเพื่อประหยัดเวลาและแรงงานในการซักผ้า
11.เตรรีดไฟฟ้าธรรมดา  เตารีดไอน้ำและเตารีดแบบทับใช้รีดผ้าให้เรียบ
12.ขวดใส่สารที่ทำให้ผ้าเรียบใช้ใส่น้ำยารีดผ้าเรียบ
13.ที่รองรีดเสื้อผ้าทุกชนิด
14.หมอนรองรีด  ใช้รองรีดเสื้อผ้าในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก  เช่น  ปกเสื้อ  แขนเสื้อ
15.ไม้แขวนผ้า  ใช้แขวนเสื้อที่ตากและแขวนเสื้อที่รีดแล้ว
16.ที่หนีบผ้า  ใช้หนีบผ้าที่ตากบนราวตากผ้า
(รูปภาพวัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้าให้นักเรียนดูในหนังสือเรียนการงาน ม.3
หน้า  11-12)หรือเอกสารที่ครูแจกให้

ใบความรู้ที่ 1.3 เรื่องหลักการดูแลเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชา ง23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใบความรู้ที่  1.3  เรื่องหลักการดูแลเสื้อผ้า
ตัวชี้วัดประจำหน่วย  อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์
และเครื่องมือเครื่องใช้ในการดูแลเสื้อผ้า
หลักการดูแลเสื้อผ้าให้ทนทานใช้งานได้นานมีหลักการดังนี้
1.ขณะสวมใส่เสื้อผ้าต้องระมัดระวังไม่ให้เปรอะเปื้อนและถูกของแหลมคมเกี่ยวขาด
2.ไม่ควรใส่ของหนักหรือของมีคมในกระเป๋าเสื้อ  กระเป๋ากระโปรง กระเป๋ากางเกง
เพราะจะทำให้กระเป๋าขาดได้
3.เสื้อผ้าเมื่อถอดแล้วจะสวมใส่อีก  เช่น  เสื้อกันหนาว  สูท  ไม่ควรแขวนไว้ที่ตะปู
เพราะจะเสียรูปทรง  ควรแขวนด้วยไม้แขวน  เก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี
4.สำรวจป้ายสัญลักษณ์บนป้ายผ้าที่ติดมากับเสื้อผ้า และดูแลให้ถูกวิธี
(สัญลักษณ์บนป้ายผ้าให้นักเรียนศึกษาจากหนังสือแบบเรียนหน้า  13 หรือเอกสารที่ครูแจกให้)
5.สำรวจชนิดของผ้าเพื่อให้เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลรักษาได้เหมาะสม
6.หยิบสิ่งของออกจากกระเป๋าเสื้อ  กระเป๋ากางเกง กระเป๋ากระโปรงออกก่อนขจัดรอยเปื้อนและซัก
7.ขจัดรอยเปื้อนทันทีที่พบจะช่วยประหยัดแรงงานและเวลาในการซักเสื้อผ้า
8.ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุดก่อนซักทำความสะอาด
9.แยกผ้าสี  ผ้าขาวและผ้าสีตกไว้เพื่อความสะดวกในการซักป้องกันเสื้อผ้าสีหม่นหรือสีตกใส่กัน
10.ศึกษาวิธีใช้งานวัสดุ  อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้าให้เข้าใจจากการอ่านฉลาก
หรือข้อความบรรจุภัณฑ์และข้อมือแนะนำการใช้งานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
11.จัดเก็บเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีโดยไม่ให้ยับหรือเสียรูปทรง  หยิบใช้สะดวกปราศจากฝุ่นและแมลง

ใบความรู้ที่ 1.2 เรื่องประเภทของเสื้อผ้า รายวิชาการงานอาชีพ 5 รหัสวิชาง 23101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ใบความรู้ที่  1.2 เรีองประเภทของเสื้อผ้า  ง23101  ม. 3
เสื้อผ้าแบ่งตามชนิดของเส้นใยที่นำมาทอเป็นผืนผ้าได้เป็น  3  ประเภทดังนี้
1.เสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ  ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีอยู่ในธรรมชาติ  เช่น  ผ้าฝ้าย  ผ้าลินิน
ผ้าไหม  ผ้าขนสัตว์  สวมใส่สบาย  แต่การซักรีดต้องใช้ความประณีต  เพราะยับง่าย
ผ้าฝ้ายได้จากปุยฝ้ายซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ด  ผ้าลินินได้จากต้นแฟลกซ์
ผ้าไหมผลิตจากรังไหม  ผ้าขนสัตว์ผลิตจากขนแกะ  ขนอูฐ  กระต่าย
ประโยชน์  ผ้าฝ้ายตัดเย็บเสื้อผ้าสวมใส่ในฤดูร้อน  ผ้าเช็ดตัว เช็ดมือ ผ้าปูที่นอน ผ้าอ้อม
ประโยชน์  ผ้าลินิน ตัดเย็บเสื้อผ้าสวมใส่ฤดูร้อน  ทำผ้าลูกไม้ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าปูโต๊ะ เช็ดปาก
ประโยชน์  ผ้าไหมตัดเย็บเสื้อผ้าสำหรับไปงานหรือตัดเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ
ประโยชน์  ผ้าขนสัตว์  ตัดเย็บสูท  เสื้อกันหนาว  ผ้าห่ม
2.เสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์  ซึ่งเป็นใยที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมีแล้วผลิต
เป็นผืนผ้า  เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ดูแลรักษาง่ายเพราะไม่ยับ  ยืดหยุ่นและคืนตัวได้ดี
แต่ไม่ค่อยดูดซีมซับน้ำและไม่ระบายความร้อน  จึงเหมาะที่จะสวมใส่ในห้องปรับอากาศ
ประโยชน์ผ้าไนลอนใช้ทำถุงน่องสตรีและเสื้อผ้าต่าง ๆ
ประโยชน์ของผ้าพอลิเอสเทอร์ใช้ผสมกับเส้นใยอื่นและใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า
ประโยชน์ของผ้าอไครลิก  ใช้ทำเสื้อขนสัตว์เทียม  ผลิตผ้าที่มีขน ไหมพรม ผ้าห่มถุงเท้าพรมปูพื้น
ประโยชน์ของผ้าสแปนเด็กซ์  ใช้ทำเสื้อชั้นในสตรี  ยางยืดและผ้าที่ใช้ทางการแพทย์
3.เสื้อผ้าจากเส้นใยกึ่งสังเคราะห์  ซึ่งเป็นใยสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของใยธรรมชาติ ผ้าจะมีเนื้อนุ่ม
เป็นมันเงา  ดูดซึมน้ำได้ดี แต่ไม่ค่อยมีความเหนียวเสียรูปทรงเมื่อถูกน้ำไม่ทนกรดเข้ทข้น
ใยกึ่งสังเคราะห์นิยมนำมาตัดเย็บเสื้อผ้า  เช่น  เรยอน  อะซิเตต  ผ้าทีซี(ใยฝ้ายร้อยละ 65
ใยพอลิเอสเทอร์ร้อยละ 35
ประโยชน์ผ้าเรยอน  ใช้ทำเสื้อผ้าไหมเทียม
ประโยชน์ผ้าอะซิเตต  ใช้ทำผ้าแพรต่วน
ประโยชน์ผ้าทีซี  ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วไป  ผ้าซีทีซี(ผ้าฝ้าย 70 พอลิเอสเทอร์ 30(ตัดเย็บแทนนผ้าฝ้าย)

ใบความรู้ที่ 1.1 เรื่องความหมายและความสำคัญของการดูแลเสื้อผ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ตัวชี้วัดประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่องการดูแลเสื้อผ้า
1.อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
2.บอกวิธีขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
ความหมายและความสำคัญของการดูแลเสื้อผ้า
การดูแลเสื้อผ้าหมายถึงการทำความสะอาดและเก็บรักษาเสื้อผ้าโดยวิธีขจัดรอยเปื้อน
ซัก  ตาก  รีด  พับหรือแขวนในถุงเก็บเสื้อหรือในตู้
การดูแลเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีและประณึตมีความสำคัญดังนี้
1.เสื้อผ้าสะอาด  ไม่มีคราบสกปก หรือมีกลิ่นเหม็นจากเหงื่อไคล
2.ป้องกันไม่ให้เกิดโรคผิวหนังอันเนื่องมาจากเสื้อผ้าสกปรก  เช่น  หิด  กลาก  เกลื้อน ผดผื่นคัน
3.ถนอมเนื้อผ้าให้ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพและมีอายุการใช้งานยาวนาน
4.ส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้สวมใส่ให้ดูดี  สง่างาม  เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
5.ผู้สวมใส่เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจ
6.ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนรักความสะอาด  มีระเบียบวินัย  ประณีต  สวยงาม

กิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการดูแลเสื้อผ้า รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ตัวชี้วัด
1.อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง  1.1  ม.3/1)
2.ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม(ง  1.1  ม.3/2)
3.อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน  ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อม (ง  1.1  ม.3/3)
ตัวชี้วัดประจำหน่วยการเรียนรู้ที่  1
1.อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์
และเครื่งมือเครื่องใช้ในการดูแลเสื้อผ้า
2.บอกวิธีการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
กิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ  5  รหัสวิชา ง23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4  คาบ)
(คาบที่  1-2)
1.ให้นักเรียนศึกษาตัวชี้วัดที่  1  และบันทึกลงในสมุดรายวิชาการงานอาชีพ 5 ง23101
ตัวชี้วัดที่  1  อภิปรายความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ  วัสดุอุปกรณ์
และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
ตัวชี้วัดที่  2  บอกวิธีขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
2.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆละ  8-10  คนเลือกประธาน  รองประธาน  เลขานุการประจำกลุ่มโดย
กลุ่มที่  1  ศึกษาใบความรู้ที่  1 เรื่องความหมายและความสำคัญของการดูแลเสื้อผ้า
(จากหนังสือเรียนรายวิชาการงานอาชีพ  ม. 3 หน้า  8)
กลุ่มที่  2  ศึกษาใบความรู้ที่  2 เรื่องประเภทของเสื้อผ้า(จากหนังสือแบบเรียนวิชาการงานหน้า 8)
กลุ่มที่  3  ศึกษาใบความรู้ที่ 3  เรื่องหลักการดูแลเสื้อผ้า(จากหนังสือแบบเรียนวิชาการงานหน้า 9-10)
กลุ่มที่  4  ศึกษาใบความรู้ที่  4  เรื่องวัสดุ  อุปกรณ์  และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
กลุ่มที่  5  ศึกษาใบความรู้ที่  5  เรื่องการขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า(จากหนังสือแบบเรียนวิชาการงาน
หน้า  12-14)
(จากหนังสือแบบเรียนรายวิชาการงานอาชีพ  5 หน้า 11-12)
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน(นำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกคน)
4.ให้นักเรียนทุกคนสรุปองค์ความรู้เรื่องความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ
วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการดูแลเสื้อผ้า  การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า
5.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องความหมายความสำคัญ  ประเภท  หลักการ
วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า  การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า
ตัวชี้วัดที่  3  ดูแลเสื้อผ้าประเภทต่าง ๆ ได้  (คาบที่  3-4)
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติงาน  การซัก  ตาก  รีด  และเก็บเสื้อผ้าประเภทต่างๆ ดังนี้
กลุ่มที่  1 เสื้อผ้าไหม  กลุ่มที่ 2 เสื้อผ้าฝ้าย  กลุ่มที่ 3 เสื้อผ้าลินิน  กลุ่มที่ 4 เสื้อผ้าขนสัตว์
กลุ่มที่ 5 เสื้อผ้าใยสังเคราะห์  กลุ่มที่ 6เสื้อผ้ากึ่งใยสังเคราะห์  กลุ่มที่ 7เส้อผ้าไหมพรม
กลุ่มที่  8  เสื้อผ้าปักเลื่อม
โดยการนำเสนอผ่านคลิปวีดิโอพร้อมทั้งส่งแบบบันทึกประจำกลุ่ม
แบบบันทึกประจำกลุ่มที่……………(คำถาม  5  ข้อ)
1.กลุ่มของนักเรียนพบปัญหาในการซัก  ตาก  รีดและแขวนเสื้อผ้าที่กำหนดให้หรือไม่
ถ้าพบปัญหานักเรียนแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ  พบ คือผ้าฝ้าย
ไม่ค่อยเรียบเมื่อรีดเสร็จแล้วจึงแก้ไขโดยฉีดพ่นน้ำยารีดผ้าเรียบอีกครั้งให้ผ้าหมาด
แล้วปรับความร้อนเตารีดสูงรีดย้ำ ๆจนผ้าแห้งสนิท
2.กลุ่มของนักเรียนจะปรับปรุงการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นในเรื่องใดและปรับปรุงอย่างไร
3.นักเรียนมีแนวทางอย่างไรในการทำงานร่วมกับสมาชิกในกลุ่มให้สำเร็จลุล่วงโดยปราศจาก
ความขัดแย้ง(ตอบแบ่งงานกันทำอย่างทั่วถึงและช่วยเหลือเมื่องานของเพื่อนคนใดมีปัญหา)
4.การทำงานขั้นตอนใดบ้างที่ช่วยประหยัดพลังงาน ทรัพยากรหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(คำตอบใช้น้ำสารซักฟอกแต่น้อยเพราะซักเสื้อผ้าไม่มากฉีดพ่นเสื้อผ้าด้วยน้ำยา
รีดผ้าเรียบให้ผ้าหมาดปรับความร้อนให้พอเหมาะกับผ้าและเมื่อซักผ้าเสร็จแล้วเทน้ำสารซักฟอกในท่อน้ำทิ้ง
5.กลุ่มของนัเรียนจะนำความรู้ที่ได้จากการดูแลเสื้อผ้าชนิดต่าง ๆนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร
(นำไปใช้ดูแลเสื้อผ้าให้สมาชิกในครอบครัวตนเองและดูแลเสื้อผ้าของตนเอง)

กิจกรรมการเรียนการสอนปฐมนิเทศรายวิชาการงานอาชีพ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกห้องเรียน (3/1 -3/10)

คำสั่ง  ให้นักเรียนที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพ  5 รหัสวิชา  ง23101 (รายวิชาพื้นฐาน)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ทุกห้องเรียน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/1 – 3/10)
1.ให้นักเรียนทุกคนใช้สมุดโรงเรียนเล่มเล็กหรือใหญ่ถ้าเป็นสมุดเล่มใหญ่ใช้ได้ในภาคเรียนที่ 2
สมุดเล่มเล็กใช้  1  เล่ม/รายวิชา/ภาคเรียน
2.ข้อมูลทั่วไป  ชื่อรายวิชาการงานอาชีพ  5  (รายวิชาพื้นฐาน)รหัสวิช  ง23101  ภาคเรียนที่ 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  จำนวน  0.5  หน่วยการเรียน  1  คาบ/สัปดาห์  20  คาบ/ภาคเรียน
อัตราส่วนคะแนน  80/20  คะแนนระหว่างภาค  80  คะแนน  คะแนนปลายภาค  20  คะแนน
คะแนนระหว่างภาคประกอบด้วย  คะแนนก่อนสอบกลางภาค  30  คะแนน  คะแนนสอบกลางภาค 20
คะแนนหลังสอบกลางภาค  30  คะแนน(ดูรายละเอียดในเอกสารการวัดผลประเมินผล)
ครูผู้สอนนางผกาวดี  ศรีวะสุทธิ์  นายสายันต์   ชำนาญสิงห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
รายวิชาการงานอาชีพ  5 รหัสวิชา  ง  23101  ประกอบไปด้วย  2 สาระ  การดำรงชีวิตและครอบครัว
(งานบ้าน  งานประะดิษฐ์  งานธุรกิจ  งานเกษตร  และงานช่าง) และสาระการอาชีพ
3.เขียนหน้าปกสมุด  ใบรองปก  โดยใช้ข้อมูลทั่วไป ให้เรียบร้อย  เขียนข้อมูลตามลำดับดังนี้
(ตัวบรรจงเต็มบรรทัดหรือครึ่งบรรทัดเว้นบรรทัด)โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม  ชื่อ-สกุล  เลขที่-ชั้น
รายวิชา  รหัสวิชา  ชื่อครูผู้สอน  ชื่อครูที่ปรึกษา  ชื่อผู้อำนวยการ  เริ่มใช้วันที่  เดือน  พ.ศ.
เบอร์โทรศัพท์ผู้ปกครอง  เบอร์โทรศัพท์นักเรียน เบอร์โทรศัพท์ครูผู้สอน  เว็บไวต์  Krupaga
4.ให้นักเรียนศึกษาเอกสารใบความรู้  และจดบันทึกลงในสมุดรายวิชาการงาน 5 ตามลำดับดังนี้
4.1.คำอธิบายรายวิชาการงานอาชีพ  5  รหัสวิชา  ง23101
4.2.ตัวชี้วัดกลาง/ตัวชี้วัดประจำหน่วย /ชื้อหน่วยการเรียนรู้
4.3.สาระการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ  5  รหัสวิชา  ง23101
4.4.กำหนดการเรียนการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 5  ง23101
4.5.ภาระงานรายวิชาการงานอาชีพ  5  ง23101
4.6.การวัดและประเมินผลรายวิชาการงานอาชีพ  5