Category Archives: ใบความรู้ที่ 1.2 เรื่องอาหาารประเภทสำรับ ง 23105 ม. 3

ใบความรู้ที่ 1.2เรื่องอาหารประเภทสำรับ ง 23105 ม.3

ใบความรู้ที่  1.2 เรื่องอาาหารประเภทสำรับ
ตัวชี้วัด
1.  อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง  1.1 ม.3/1)
2.  ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (ง 1.1  ม. 3/2)
3.  อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ง 1.1 ม. 3/3)
สาระการเรียนรู้
1.  ความหมายและความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ
2.  ประเภทของอาหารสำหรับ
3.  หลักการเตรียม  ประกอบ  จัด  ตกแต่งอาหารประเภทสำรับ
4.  อาหารสำรับภาคต่าง  ๆ ของไทย
ความหมายและความสำคัญของอาหหารประเภทสำรับ
อาหาารสำรับหมายถึง  อาหารที่จัดเป็นชุด  มีอาหารหลายอย่าง
หลายรสชาติ หลายลักษระซึ่งสามารถรับประทานร่วมกันได้และให้          ความอร่อยเมื่อรับประทานทั้งชุด
อาหารประเภทสำรับมักจัดในมื้อหลัก ได้แก้  เช้า  กลางวัน  เย็น
บางชุดจะเป็นอาหารคาวบางชุดจะเป็นทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน
อาหารสำรับมีความสำคัญดังนี้
1.  มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเพราะประกอบด้วยอาหารหลัก  5 หมุ่
2.  แสดงถึงเอกลักษณ์และวัฒนะรรมไทยจากการมีเครื่องเคียง   เครื่องแนม  แกะสลักผักและผลไม้เป็นภาชนะใส่อาหารหรือตกแต่งอาหารให้สวยงาม
3.  สะดวกต่อการรับประทานและบริการอาหารเพราะจัดใส่ภาชนะที่เหมาะสม
4.  เหมาะสำหรับจัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษเพราะมีความประณีต
ประเภทของอาหารสำหรับ
อาหารสำรับแบ่งตามลักกษษณะอาหารและการประกอบได้  3  ประเภท
1.  อาหารที่ต้องมีเครื่องเคียงและเครื่องแนมโดยเครื่องเคียงเป็นอาหาร
คนละอย่าง  แต่นำมารับประทานด้วยกันเพื่อเสริมรสชาติซึ่งกันและกัน
เช่นเนื้อเค็มเคียงกับแกงเผ็ด
สำหรับเครื่องแนม เป็นอาหารที่รับประทานคู่กันเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อยของอาหารมีลักษณะเป็นชุดเดียวกันเช่น   ข้าวคลุกกะปิ  มีหมุหวาน
เป็นเครื่องแนม
2.  อาหารที่ต้องจัดชุดเข้ากับข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักในแต่ละภาคของไทย
จะต้องมีอาหารหลายชนิดที่จัดชุดเข้ากันเพื่อรับประทานร่วมกันซึ่งอาหาร
ที่จัดมีทั้งคาวหวาน  แกง  ทอด  น้ำพริก  ผักสด  ผักต้ม
3.  อาหารที่ต้องคลุกเคล้าด้วยกันเป็นอาหารจานเดียว
หลักการเตรียม  ประกอบ  จัด  ตกแแต่งอาหารประเภทสำรับ
การเตรียมประกอบ  จัด  ตกแต่งอาหารประเภทสำรับมีหลักการดังงนี้
1.  เตรียมส่วนผสม  เครื่องปรุงอาหาร  วัสดุ  อุปกรณ์ในการประกอบและ
จัดตกแต่งอาหารก่อนประกอบอาหาร
2.  ประกอบอาหารอย่างมีสุขอนามัยและสงวนคุณค่าทางอาหาร
3.  จัดอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสม  สวยงาม
4.  ตกแต่งอาหารให้สวยงาม
อาหารสำรับภาคกลาง
อาหารสำรับภาคกลางไม่เน้นไปรสชาติใดรสชาติหนึ่งโดยเฉพาจะมีรสเค็ม  เผ็ด  เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร
นิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงแต่งกลิ่นรสใช้กะปิเป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทแพนงแกงต่าง ๆ มีเครื่องเคียงและเครื่องแนมรับประทานกับอาหารและเครื่องจิ้ม เพื่อเสริมรสชาติ ลดความเผ็ดและแก้เลี่ยน