Category Archives: โครงงานอาชีพและเทคโน ง 31261 ม.4

ความรู้เกี่ยวกับโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี ง 31261 ม.4

ความรู้เกี่ยวกับโครงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี
        การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นสาระการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีทักษะการทำงาน ทักษะการจัดการ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสม คุ้มค่าและมีคุณธรรม
สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ มีความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด
และอดทน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
        การทำโครงงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนจะได้รับประสบการณ์ตรงในการทำงาน
ได้ปฎิบัติเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง รู้วิธีการแก้ปัญหา วางแผนอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์ และฝึกฝนงานเพิ่อการดำรงชีวิตในครอบครัว  สังคม  และงานเพื่อประกอบอาชีพ
        โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นงานวิจัยเล็ก ๆ ของนักเรียนที่มีเนื้อหา
เกียวกับสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งนักเรียนแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด
         องค์ประกอบของโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีที่สำคัญนั้น ต้องเป็นกิจกรรม
ที่มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบปัญหาที่สงสัย
โดยนักเรียนเป็นผู้ริ่เริ่ม วางแผน ตลอดจนดำเนินการปฏิบัติด้วยตนเอง  จนกระทั่ง
สนองผลการศึกษาคันคว้าได้เป็นผลสำเร็จ
         คุณค่าของกิจกรรมโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี
การทำโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีคุณค่าที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การดำรงชีวิตและครอบครัว  การอาชีพ  การประกอบอาชีพ  การออกแบบและเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการทำงาน  การประกอบอาชีพ  สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์
หรือวิธีการใหม่นอกจากนั้นจะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์
สามารถนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา  ประดิษฐ์  คิดค้น ออกแบบ
สร้าง  ดัดแปลง  นำไปใช้ประโยชน์ได้
ประโยชน์คุณค่าของกิจกรรมโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี
        ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า  ส่งเสริมให้เกิดความรัก  ความเข้าใจ ความสนใจ
และเจตคติที่ดีต่อการงานอาชีพและเทคโนโลยี  รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
พัฒนาความสามารถของนักเรียน  พัฒนาความรับผิดชอบและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา  พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ประเภทของโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี
โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีแบ่งออกเป็น   4  ประเภทตามการได้มาซึ่งข้อมูลคือ
1.  โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล  เป็นโครงงานที่ไม่มีการกำหนดตัวแปรแต่เมื่อ
ได้ข้อมูลมาแล้ว  ต้องมีการจัดกระทำกับข้อมูล
2.  โครงงานประเภททดลอง  เป็นโครงงานที่มีการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตามและ
ตัวแปรควบคุม
3.  โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่มีการกำหนดตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม
และตัวแปรควบคุม เหมือนกับโครงงานประเภททดลอง แต่ผลที่ได้ออกมาเป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้ทดสอบประสิทธิ์ภาพการทำงานแล้ว
4.  โครงงานประเภททฤษฎี  เป็นโครงงานที่อธิบายปรากฎการณ์ หรือแนวคิดใหม่ ๆ
อย่างมีเหตุผลและมีหลักฐานสนับสนุนที่เชื่อถือได้
1.โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภทการสำรวจและการรวบรวมข้อมูล
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานเบื้องต้นที่นักเรียนควรจะเริ่มลงมือทำ  เพราะง่าย
เพียงแต่นักเรียนทำการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้ว  นำมาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่และ
ชัดเจนยิ่งขึ้นตัวอย่างโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภทการสำรวจและ
รวบรวมข้อมูลเช่น
-สำรวจชนิดของผ้าที่นักเรียนสวมใส่
-สำรวจชนิดของอาหารที่วัยรุ่นชอบรับประทาน
-สำรวจวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารในท้องถิ่น
-สำรวจสัตว์เลี้ยงในท้องถิ่น
-ศึกษาการเก็บและถนอมอาหาร
-ศึกษาเทคนิควิธีการ  ขั้นตอน  การบรรจุภัณฑ์
-ศึกษาการปลูกพืชที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น
-ศึกษาการปลูกพืชภายใต้ระบบเกษตรเคมี
-ศึกษาการปลูกพืชภายใต้ระบบเกาตรธรรมชาติ
โครงงานประเภทนี้  เมื่อนักเรียนสำรวจและรวบรวมข้อมูลมาแล้ว ก็ควรจะนำมาจัด
ลำดับหมวดหมู่ให้เหมาะสมแก่การค้นหาและอาจจะนำเสนอในรูปตาราง  กราฟ
แผนภูมิ หรืออื่น ๆ
2.  โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภททดลอง
โครงงานประเภทนี้อาจดูเหมือนว่าเป็นงานของนักวิทยาศาสตร์ คือ ต้องมีขั้นตอน
การทำงานคล้ายกับการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ คือต้องมีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้
2.1  กำหนดปัญหาที่จะศึกษา
2.2  ตั้งวัตถุประสงค์
2.3  ตั้งสมมุติฐานของการสึกษาค้นคว้า
2.4  ออกแบบการทดลอง    2.5  ทำการทดลอง
2.6  รวบรวมและแปรผลการทดลอง   2.7  สรุปผล    2.8  นำเสนอข้อมูล
โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภทการทดลอง เป็นโครงงานที่สนุก
และน่าสนใจมากในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตัวอย่างโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภททดลอง เช่น
-ทดลองปรุงอาหารสูตรใหม่
-ทดลองปรุงขนมสูตรใหม่
-ทดลองหุงข้าวใส้น้ำดอกอัญชัน
-ทดลองผลิตน้ำผลไม้จากผลไม้ในท้องถิ่น
-ทดลองการบ่มผลไม้   -ทดลองการใช้สาวธรรมชาติกำจัดศัครูพืช
-ทดลองแปรรูปผัก ผลไม้ที่มีในท้องถิ่น
3.โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์สำรับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนสามารถสร้างโครงงาน
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ได้มากมาย  เช่น  การประดิษฐ์อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้  โดยการปรับปรุง
จากสิ่งที่มีอยู่เติม  เปลี่ยนตัวแปรบางตัวเสียใหม่ให้ต่างจากของเดิม  เช่น
-ประดิษฐ์เครื่องมือรีดดิน
-ประดิษฐ์ผ้ากันเปื้อนโดยใช้เศษวัสดุ
-ประดิษฐ์หมวกแบบใหม่
-ศึกษาการตกแต่งร้านค้า
-ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
-ประดิษฐ์กระเป๋าด้วยเศษผ้า
-ประดิษฐ์เครื่องคัดน้ำผลไม้   -ประดิษฐ์เครื่องสอยผลไม้
-ประดิษฐ์เครื่องตัดหญ้าราคาถูก  -ประดิษฐ์คู่มือเครืองซ่อมงานไม้
4.โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภททฤษฎี
โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่นักเรียนเสนอ
หลักการหรือแนวความคิดใหม่ ๆ โดยใช้แนวความคิดหรือการจินตนาการของผู้ทำโครงงาน
เพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดคิดมาก่อนหรืออธิบายทฤษฎีที่ขัดแย้งกับ
ทฤษฎีเดิมที่มีอยู่ในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี อาจจะเป็นการเสนอทฤษฎีหรือหลักการ
ขึ้นมาสนับสนุน หรือขัดแย้งกับแนวความคิดเดิม ๆ
โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีประเภททฤษฎีเป็นการนำเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์
มาอ้าง  อาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่เป็นไปตามหลักการหรือทฤษฎีในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
มีเนื้อหามากมายที่นักเรียนสามารถคิดค้นขึ้นมาในแง่ทฤษฎี
ขั้นตอนการทำโครงงาน
การทำโครงงานอาชีพและเทคโนโลยีให้ประสบผลสำเร็จ  นักเรียนจะต้องทำงานอย่างมีระบบ
ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ให้เป้นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อกำหนดกิจกรรม
ซึ่งขั้นตอนในการทำโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือปัญหาที่
จะศึกษา การวางแผนในการทำโครงงาน การลงมือทำโครงงาน การเขียนรายงาน และขั้นตอนสุดท้าย
คือการนำเสนอจัดแสดงผลงาน
1.  การคิดหัวข้อหรือปัญหาที่จะศึกษา
เป็นขั้นตอนที่สำคัญและยากที่สุด  หัวข้อเรื่องของโตรงงานควรมีความเฉพาะเจาะจง
และชัดเจนและควรเป็นเรื่องแปลกใหม่ซึ่งแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ด้วย หัวเรื่องควร
ได้มาจากความสนใจ  ความสงสัย และความอยากรู้อยากเห้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการคัดเลือกหัวเรื่องที่จะทำโครงงาน
1.เหมาะสมกับระดับความรู้    2.  เหมาะสมกับระดับความสามารถ
3.วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้    4.  งบประมารเพียงพอ   5.  ระยะเวลาที่ใช้ทำโครงงาน
6.มีอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป้นที่ปรึกษา    7.  มีความปลอดภัย
8.  มีแหล่งความรู้หรือเอกสารเพียงพอที่จะค้นคว้า
2.    การวางแผนในการทำโครงงาน
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนในการทำโครงงานรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน
เพื่อให้การดำเนินการเป้นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ
เค้าโครงของโครงงานโดยทั่ว ๆ ไป เขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวคิดแผนงานและขั้นตอนของการ
ทำโครงงาน  ซึ่งประกอบด้วย
1.  ชื่อโครงงาน
2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน   3.  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน   4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
5.  จุดมุ่งหมายของการศึกษาโครงงาน   6.  สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า(ถ้ามี)
7.  วิธีดำเนินการ
7.1  วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้     7.2  แนวการศึกษาค้นคว้า
8.แผนปฏิบัติงาน   9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ     10.  เอกสารอ้างอิง
3.  การลงมือทำโครงงาน
เมื่อเค้าโครงของโครงงานผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานแล้วเริ่มลงมือ
ทำโครงงานโดยปฏิบัติตามแผนดำเนินงาน อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมจากแผนงาน
ที่วางไว้ในตอนแรกบ้างก็ได้ เมื่อดำเนินโครงงานครบถ้วนตามขั้นตอนได้ข้อมูลแล้ว  ควรมี
การตรวจสอบผลการทดลองซ้ำหลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูล  แปรผล และ สรุป
ผลการศึกษาค้นคว้า  พร้อมทั้งอภิปรายผลการศึกษา
4.  การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย  ชัดเจน  สั้น  ๆ และตรงไปตรงมา
โดยให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.  ชื่อโครงงาน    2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน    3.  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4.  บทคัดย่อ   5.  กิตติกรรมประกาศ     6.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
7.  จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า     8.  สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
9.  วิธีดำเนินการ แยกเป็น  2  หัวข้อย่อย
9.1  วัสดุอุปกรณ์
9.2  วิธีดำเนินการ
10.  ผลการศึกษาค้นคว้า    11.  สรุปและข้อเสนอแนะ     12.  เอกสารอ้างอิง
5.  การแสดงผลงาน
การแสดงผลงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายและสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงาน
การวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่าๆ กับการทำโครงงาน การแสดงผลงาน
นั้นอาจอาจทำได้ในรูปแบบปากเปล่า การแสดงผลงานควรจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังนี้
1.  ชื่อโครงงาน  ชื่อผู้ทำโครงงาน  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
2.  คำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน
3.  วิธีดำเนินการ   4.  การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
5.  ผลการสังเกตหรือข้อมูลเด่น ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน
การจัดนิทรรศการแสดงโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีนั้นให้คำนึงถึง
สิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.  ความปลอดภัยของการจัดแสดง   2.  ความเหมาะสมกับเนื้อที่ที่จัดแสดง
3.  คำอธิบายที่เขียนแสดงให้เน้นเฉพาะประเด็นสำคัญและน่าสนใจ
4.  จัดรูปที่ดึงดูดความสนใจ   5.  ใช้ตารางและรูปภาพประกอบ
6.  สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง   7.  ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงาน
ได้อย่างสมบูรณ์
การแสดงผลงาน  ผู้นำเสนอผลงานจะต้องอธิบายหรือรายงานปากเปล่าถึงข้อมูล
เกี่ยวกับโครงงานที่จัดทำขึ้น  โดยในการอธิบายนั้นให้คำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่ไปนี้
1.  ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี
2.  คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับของผู้ฟัง  ชัดเจน  เข้าใจง่าย
3.  ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมา  ไม่วกวน
4.  พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงานให้ผู้ชมฟัง
5.  อย่าท่องจำรายงานเพราะจะทำให้ไม่น่าสนใจและไม่เป็นธรรมชาติ
6.  ขณะที่รายงานนั้นควรมองผู้ฟัง   7.  เตรียมตัวตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
8.  เวลาตอบคำถามให้ตอบอย่างตรงไปตรงมาในสิ่งที่ถาม
9.  หากติดขัดในการอธิบายควรยอมรับโดยดี อย่ากลบเกลี่อยหรือหลีกเลี่ยง