Category Archives: การประกอบอาหารไทย ม.4 ปี 59

ใบความรู้ที่ 1 เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย ตัวชี้วัดที่ 1 ง 30230 ม.4

ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง  ประวัตความเป็นมาของอาหารไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 รหัสวิชา  ง  30230 เวลา    15  นาที
ประวัติความเป็นมาของอาหารไทย
อาหารไทยเป็นอาหารประจำของชนชาติไทยที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย
อาหารพื้นบ้านหมายถึงอาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่นซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่ายโดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา
เนื้อหา
1.จุดกำเนิดอาหารไทย
1.1  สมัยสุโฃทัย
1.2  สมัยอยุธยา
1.3  สมัยธนบุรี
1.4  สมัยรัตนโกสินทร์
1.  สมัยรัตนโกสินทร์ยุคที่  1 (พ.ศ.  2325 – 2394)
2.  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคที่  2 (พ.ศ.2394 – ปัจจุบัน
2.อาหารไทยภาคต่างๆ
2.1 อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
2.2  อาหารภาคกลาง
2.3  อาหารภาคอีสาน
2.4  อาหารภาคใต้
จุดกำเนิดอาหารไทย
อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทยและมีการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโชไทยจนถึงปัจจุบันจากการศึกษาของอาจารย์
กอบแก้ว  นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาชอง
อาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้
สมัยสุโขทัย
อาหารไทยสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกและวรรณคดี สำคัยคือ
ไตรภุมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่ามีข้าวเป็นอาหารหลักโดยกินร่วมกับกับช้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้างการปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า  แกง  ในไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่าข้าวหม้อแกงหม้อ  ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึกคือ  แฟง  แตง  น้ำเต้า  ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้านเช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน
สมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย  ได้มีการติดต่กับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกจากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศพบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่ายยังคงมีปลาเป็นหลัก  มีต้ม  แกงและคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้งหรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม  เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บกโดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อเป็นอาหารได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆที่ใช้เครื่องเทศเช่นแกงที่ใส่หัวหอม  กระเทียม สมุนไพรหวานและเครื่องเทศแรงๆที่คาดว่านำมาใช้ในการประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลาหลักฐานจาการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆเริ่มเข้ามามากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  เช่นญี่ปุ่นโปรตุเกส  เหล้าองุ่นจากสเปนเปอรฺเวียและฝรั่งเศส  สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธุ์กับชาติตะวันตกดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารในสมัยอยุธยาตอนปลายได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติโดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆและจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่าง ชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนักต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชนและกลมกลืน
กลายเป็นอาหารไทยไปในที่สุด
สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่ากก์ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2ชองไทยของม่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมไทยจากกรุงสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีและยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์โดยผ่านทางหน้าที่ราฃการและสังคมเครือญาติและอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาแต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือาหารประจำชาติจีน
สมัยรัตนโกสินทร์
การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตาม
ยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1  จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยกรุงธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอัก  1  ประเภทคือนอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้นในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศจีนมากขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทยในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทร์ทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ในงานสมโภชน์พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต)ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย  เช่น  ผัก  น้ำพริก  ปลาแห้ง  หน่อไม้ผัด  แล้วยังมีอาหารทีปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลามและมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยมแต่คนจีนนิยม
บทพระราชนิพนธ์กาพแห่เรือชมเครื่องคาวหวานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิดซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักอย่างชัดเจนที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะขอวอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่นและรสอย่างประณีตและให้ความสำคัญของรสชาติอาหารไทยมากเป็นพิเศษและถือว่าเป็นยุคสมัยมีศิลปในการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดทั้งรส  กลิ่น  สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทยจากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือกับข้าวและอาหารว่างคาวได้แก่  หมูแหนม  ล่าเตียง  หรุ่ม  รังนก  ส่วนอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่าง ๆ เครื่องจิ้ม ยำต่าง ๆ  ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่
มีขนมที่มีลักาณะอบกรอบ เช่น  ขนมผิง  ขนมลำเจียก  และมีขนมที่มีน้ำหวาน
และกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่  ซ่าหริ่ม  บัวลอย  เป็นต้น
นอกจากนี้วรรณคดีไทยเรื่อง  ขุนช้างขุนแผน  ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนถึงชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้งเรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินช้าวเป็นอาหารหลักร่วมกับกับข้าวประเภทต่าง ๆ ได้แก่  แกง  ต้ม  ยำและคั่ว อาหารมีความหลากหลายมากชึ้นทั้งชนิดของอาหารคาวและอาหารหวาน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ยุค 2 (พ.ศ. 2394 – ปัจจุบัน)
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมากและมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทยดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้นโดยเฉพาะในรัชกาลที่  5 เช่นในบทพระนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน  จดหมายเหตุ  เสด็จประพาสต้น  และยังมีบันทึกต่าง ๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติแลบันทึกที่เป็นทางการอื่นๆซึ่งข้อมูล เหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะขออาหารไทย

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนตัวชี้วัดที่ 1เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย ง 30230 ม.4

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนผลการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย  ง   30230  ม.4
คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือหลักฐานของอาหารไทยสมัยสุโขทัย.
ก.  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ข.  วรรณคดีไตรภูมิพระร่วง
ค.  กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
ง.  ถูกทั้งข้อ  ก  และ ข
เฉลยข้อ  ง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  วรรณคดีไตรภูมิพระร่วง
2.  วรรณคดีไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไทกล่าวถึงเรื่องใด.
ก.  การทำมาค้าขายกับชาติตะวันตก
ข.  อาหารไทยในสมัยนี้มีทั้งงอาหารคาวและของว่าง
ค.  อาหารไทยในสมัยนี้มีข้าวเป็นอาหารหลักกินร่วมกับกับข้าว
ง.  อาหารไทยสมัยนี้มีกับข้าวประเภทเนื้อสัตว์ที่ได้จากธรรมชาติท้องทุ่งนา
ไม่นิยมรับประทานข้าว
เฉลยข้อ  ค  เพราะอาหารไทยสมัยสุโขทัยมีขข้าวเป็นอาหารหลักโดยกีนร่วมกับกับข้าวที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลาและเนื้อสัตว์อื่นบ้าง
3.  วรรณคดีเรื่องไตรภููมิพระร่วงในการปรุงอาหาารได้ปรากฏคำใด.
ก.  ปิิ้ง       ข.    ต้ม     ค.  แกง     ง.  อ่อม
เฉลยข้อ  ค  แกง
4.  ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงคือข้อใด.
ก.  ฟัก   แตง  น้ำเต้า    ข.  แฟง   แตง   น้ำเต้า
ค.  ฟัก  แฟง  น้ำเต้า     ง.  แฟง  บวบ  น้ำเต้า
เฉลยข้อ  ข  แฟง  แตง  น้ำเต้า
5.  ในสมัยสุโขทัยอาหารหวานนิยมใช้วัตถุดิบพื้นบ้านในข้อใด.
ก.  กล้วยไข่  น้ำผึ้ง      ข.  น้ำตาลมะพร้าว  น้ำผึ้ง
ค.  น้ำผึ้ง  ข้าวตอก      ง.  น้ำผึ้ง  เผือก  มัน
เฉลยข้อ  ค  น้ำผึ้ง  ข้าวตอก
6.  ประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกในสมัยใด.
ก.  สุโขทัย    ข.  สมัยอยุธยา      ค.  สมัยธนบุรี    ง.  สมัยรัตนโกสินทร์ยุคที่ 1
เฉลยข้อ  ข.  สมัยอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มี  ญี่ปุ่น  โปรตุเกส เริ่มเข้ามา  สเปนและฝรั่งเศส
7.  บันทึกเอกสารของชาวต่างชาติข้อใดกล่าวถููกต้องเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของคนไทยในสมัยอยุธยา.
ก.  มีข้าวเป็นอาหหารหลักรับประทานกัเนื้อสัตว์ซึ่งนำมาปิ้ง
ข.  คนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าายยังคงมีปลาเป็นหลักมีต้ม  แกงและคาดว่าใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร
ค.  คนไทยในสมัยอยุธยาจะกินอาหารประเภทสำรับซึ่งชนชาติจีนนำเข้ามาเผยแพร่และนิยมรับประทานผลไม้แทนขนมหวาน
ง.  คนไทยในสมัยนั้นนิยมรับประทานอาหารคาวอาหารหวานออาหารว่างและผผลไม้ต่าง ๆที่มีในท้องถิ่น
เฉลยข้อ  ข
8.  น้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารนิยมใช้น้ำมันในข้อใด.
ก.  น้ำมันหมู    ข.   น้ำมันงา      ค.  น้ำมันมะพร้าว     ง.  น้ำมันถั่วเหลือง
เฉลย  ค.  น้ำมันมะพร้าว
9.  คนไทยสมัยอยุะยจะมีการถนอมอาหารด้วยวิธีใด.
ก.  การตากแห้ง     ข.  การรมควัน     ค.  การดอง     ง.  การเชื่อม
เฉลยข้อ  ก  การตากแห้ง
10. อาหารประเภทเครื่องจิ้มสมัยอยุธยาคือข้อใด.
ก.  น้ำพริกอ่อง   ข.  น้ำพริกหนุ่ม    ค.  แจ่วพริกสด   ง.น้ำพริกกะปื
เฉลยข้อ  ง  น้ำพริกกะปิ
11. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับอาหารไทยสมัยอยุธยา.
ก.  คนในสมัยอยุธยนิยมบริโภคสัตว์บกมากกว่าสัตว์น้ำ
ข.  แกงปลาต่างๆ จะใช้เครื่องเทศแกงที่ใส่หัวหอมกระเทียมสมุนไพรเครื่องเทศเพื่นำมาใช้ในการดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา
ค.  อาหารของชาติต่าง ๆญี่ปุ่น  โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซียฝรั่งเศส เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ง.  อิทธิพลของอาหารจีนมีมากขึ้นในยุคกกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้รับเอาวัฒนธรรมอาหารต่างชาติดดยผ่านทางการทูตและการค้าแพร่หลายอยู่ในราชสำนัก
เฉลยข้อ  ก เพราะในสมัยอยุธยาจะนิยมบริโภภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บกโดยเฉเพาะสัตวืใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อเป็นอาหาร

ครูผกาสั่งานนักเรียนที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติม การประกอบอาหารไทย รหัสวิชา ง 30230 ม.4

คำสั่ง  ให้นักเรียนที่เรียนรายวิชาการประกอบไทย  ง 30230  ม. 4  ทุกห้องเรียนทุกคน
1.  ใหันักเรียนเขียนหน้าปก  ใบรองปก  โดยใช้สมุดโรงเรียนเล่มเล็ก(ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด)
1.1  ชื่อโรงเรียน
1.2  ชื่อนักเรียน-ชั้น   เลขที่
1.3  ชื่อรายวิชา
1.4  ชื่อครูผู้สอน
1.5  ชื่อรองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ
1.6  ชื่อผู้อำนวยการ
1.7  เริ่มใช้วันที่  18  พฤษภาคม- 30  กันยาคม
1.8  เบอร์โทรศัพท์ผู้ปกครองที่ติดต่อได้
1.9  เบอร์โทรนักเรียนและเพื่อนสนิท  5  คน
1.10 เว็บไซต์นักเรียน
2.  จดบันทึกผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด(แผ่นถัดจากใบรองปก) การวัดผลประเมินผล  และภาระงานรายวิชาการประกอบอาหารไทย
3.  ศึกษาใบความรู้ที่  1  เรื่องประวัติความเป็นมาของอาหารไทย(เว็บไซต์  krupaga)
4.  ศึกษาค่านิยม  12  ประการ  สมรรถนะของผู้เรียน  เศรษฐกิจพอเพียง  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด รายวิชาการประกอบอาหารไทย รหัสวิชา ง 30230 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด  รายวิชาการประกอบอาหารไทย  รหัสวิชา  ง  30230  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน  60  ชั่วโมง  จำนวน  1.5  หน่วยการเรียน
1.  นักเรียนสามารถบอกประวัติความเป็นมาของอาหารไทยได้
2.  นักเรียนสามารถอธิบายอาหารในชีวิตประจำวันและกำหนดรายการอาหารได้
3.  นักเรียนสามารถบอกอาหารหลัก  5  หมู่และสารอาหารได้
4.  บอกหลักการหุงต้มอาหารและวิธีสงวนคุณค่าทางอาหารโภชนาการได้
5.  บอกหลักสุขอนามัยในการประกอบอาหารได้
6.  นักเรียนสามารถเลือกซื้ออาหารสดอาหารแห้งและเก็บรักษาได้
7.  บอกหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
8.  นักเรียนสามารถเตรียม  ประกอบอาหารจานเดียว  จัดตกแต่งและบริการอาหารได้
9.  ปกิบัติการประกอบอาหารไทยประเภทต่าง ๆได้
10. จดบันทึกการปฏิบัติงาน  ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  กำหนดราคาขาย  จัดจำหน่ายและประเมินผลการปฏิบัติงานได้
การวัดผล/ประเมินผล
อัตราส่วนคะแนน  80/20
คะแนน  80  คะแนนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.  คะแนนก่อนสอบกลางภาค  10  คะแนน  ทดสอบผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 1(3คะแนน)ผลการเรียนรุ้ที่ 2(4 คะแนน)ผลการเรียนรู้ที่ 3(3 คะแนน)รวมคะแนนก่อนสอบกลางภาค  10  คะแนนโดยการสอบเก็บคะแนนหลังจากจบกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
2.  คะแนนสอบกลางภาคจำนวน  15  คะแนน (ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 1-5)
3.  คะแนนหลังสอบกลางภาคจำนวน  55  คะแนน (ผลการเรียนรู้ที่  6-10)
4.  คะแนนสอบปลายภาค  20  คะแนน (ผลการเรียนรู้ที่ 1-10)
5.  รวมคะแนนระหว่างภาค  80  คะแนน  คะแนนสอบปลายภาค  20  คะแนน
6.  รวมคะแนน  100  คะแนน
ภาระงานรายวิชาการประกอบอาหาร
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 2  ให้นักเรียนจัดทำรายการอาหาร  1  สัปดาห์  โดยให้แต่ละวันมี  5  มื้อ  มื้อเช้า  อาหารว่างมื้อเช้า  มื้อกลางวัน  อาหารว่างมื้อบ่าย  อาหารมื้อเย็น
ผลการเรียนรู้ที่/ตัวชี้วัดที่ 8  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ  6-8  คน  จัดทำวีดิโอการปฏิบัติอาหารจานเดียวในเรื่อง  วัสดุ  อุปกรณ์  ขั้นตอนการปฏิบัติอาหารจานเดียว  ขั้นตอนการเก็บล้างทำความสะอาดบริเวณปฏิบัติงานและอุปกรณ์  การประเมินผล  โดยเลือกกลุ่มละ  1  อย่าง
ผลการเรียน/ตัวชี้วัดที่ 9  ให้แบ่งกลุ่มปฏิบัติงานอาหารไทยประเภทต่าง ๆ ตามที่แต่กลุ่มจับสลากได้ กลุ่มที่ 1  ประเภทต้ม  กลุ่มที่  2 ประเภทผัด
กลุ่มที่ 3  ประเภทยำ  กลุ่มที่ 4  ประเภทน้ำพริกผักสด  และอื่น ๆ  นำเสนอผลงาน  ประเมินผล  นำเสนอผลงานใส่ไวนิวขนาด  80×160  พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ 10 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจดบันทึกการปฏิบัติงาน  ทำบัญญชีรายรับรายจ่ายแต่ละงาน  กำหนดราคาขาย  รูปภาพการจัดจำหน่ายและประเมินผลการปฏิบัติงาน(ใช้สมุดโรงเรียนเล่มเล็ก)
กำหนดส่ง  15  กันยาย